WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaagE1อรมน ทรัพย์ทวีธรรม

พาณิชย์ เผยทุกภาคส่วนร่วมเวทีสัมมนาประชาพิจารณ์เวทีใหญ่ RCEP เพียบ ชี้ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมีเฮ

      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผย ความสำเร็จผลสัมมนาประชาพิจารณ์ ‘ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป’ ที่กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จด้วยดี หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ เกษตรกร ผู้ประกอบการ SME นักวิชาการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมกว่า 200 คน กูรูเชื่อสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมีเฮ แนะผู้ประกอบการและเกษตรกรเตรียมพร้อมใช้ประโยชน์ให้เต็มที่

        นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการสัมมนาประชาพิจารณ์ ‘ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป’ ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดขึ้น เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ เกษตรกร ผู้ประกอบการ SME นักวิชาการ และภาคประชาสังคมกว่า 200 คน ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซ็ป และการเตรียมปรับตัวรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และยังได้มีการถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจของกรมฯ ตลอดงาน

        นางอรมน กล่าวว่า เมื่อความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) มีผลใช้บังคับในปี 2564 ตามที่สมาชิกอาร์เซ็ป (อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ได้ตั้งเป้าไว้) จะถือเป็นความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประชากรกว่า 3,600 ล้านคน หรือ 48.1% ของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 28.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 29.5% ของมูลค่าการค้าโลก และในความตกลงฉบับนี้ ประเทศสมาชิก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เปิดตลาดลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรให้ไทยเพิ่มเติมมากกว่าที่ลดให้ในเอฟทีเอที่ไทยมีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืชและแป้ง แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู สินค้าประมง อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เป็นต้น ดังนั้น เกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อใช้ประโยชน์จากผลการเจรจาอย่างเต็มที่

      นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าเดียวกันในการส่งออกไป 16 ประเทศ จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันตามความตกลงเอฟทีเอแต่ละฉบับ อีกทั้งเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอาร์เซ็ปยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งจากประเทศในกลุ่มและนอกอาร์เซ็ปได้อีกด้วย นอกจากนั้น อาร์เซ็ปยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในไทย และช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปในสาขาที่ไทยมีศักยภาพอีกด้วย โดยผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบและรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

      “หลังการสัมมนาที่กรุงเทพฯ กรมฯ ยังมีแผนเดินสายจัดงานสัมมนาในภูมิภาค โดยจะประเดิมจัดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) และต่อด้วยภาคใต้ (สงขลา) ในเดือนกันยายน 2563 เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง และเตรียมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากอาร์เซ็ปอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหลังจากที่เผชิญกับวิกฤติโควิด-19 ความตกลงอาร์เซ็ปจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างกิจกรรมทางการค้าการลงทุน และช่วยเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและในภูมิภาคอาร์เซ็ปให้ดีขึ้น” นางอรมน เสริม

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!