WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1abABจุรินทร์ลงใต้

จุรินทร์ ลงใต้ นำแพลตฟอร์มออนไลน์ ห้าง ผู้ส่งออก ลงนาม MOU ซื้อผลไม้ชาวสวน

     จุรินทร์ ลงใต้ นำแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อดัง ห้าง และผู้ส่งออก เซ็น MOU กับชาวสวนผลไม้ รับซื้อผลไม้ไปขาย เพื่อช่วยดูแลราคาในช่วงผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด พร้อมสั่งพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศทำหน้าที่เซลส์แมนช่วยเกษตรกรขายของอย่างต่อเนื่อง และใช้มาตรการเสริม ทั้งการทำคอนแทรกฟาร์มมิ่ง และแลกเปลี่ยนสินค้า

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU การเชื่อมโยงตลาดออนไลน์และออฟไลน์ ระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้อำเภอร่อนพิบูลย์ กับแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee , Lazada , JJMall , ไปรษณีย์ไทย ห้างโมเดิร์นเทรด (เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โลตัส แม็คโคร บิ๊กซี) และผู้ประกอบการรวบรวมและส่งออกผลไม้ ว่า เป็นความตั้งใจจะมาช่วยชาวสวนผลไม้ แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผลไม้หลายตัวที่พึ่งพาตลาดส่งออกลำบาก ไม่มีช่องทางการส่งออก ส่งทางเรือมีปัญหา ด่านก็ปิด สนามบินก็ปิด แต่ได้หาทางออกและได้เข้าไปแก้ปัญหามาโดยตลอด ทั้งการเจรจาเปิดด่าน ผลักดันขนส่งผลไม้ทางอากาศ จนสามารถส่งออกผลไม้ไทยไปขายได้ และยังได้ปรับตัวเข้าสู่ยุค New Normal เปลี่ยนระบบการขายปกติเป็นการขายออนไลน์ ซึ่งทำสำเร็จในการจัดเทศกาลกินผลไม้ไทย 2 เดือน หรือเดือนทองของผลไม้ไทย โดยร่วมมือกับแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารถจำหน่ายผลไม้ทางออนไลน์ได้เป็นจำนวนมาก

        ทั้งนี้ ยังได้จัดทำมาตรการเสริมเข้ามาช่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำสัญญาเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรกฟาร์มมิ่ง โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะช่วยเป็นตัวกลางหาเกษตรกรมาพบกับผู้ซื้อ ซึ่งต้องซื่อตรงต่อกัน จะช่วยให้มีหลักประกันรายได้ที่แน่นอน และรูปแบบแลกเปลี่ยนสินค้า (บาเตอร์เทรด) โดยวันนี้ มีมันแกว อีกฝ่ายมีปลาแห้ง เอาปลาแห้งกับมันแกวแลกกัน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราอยู่รอดได้

        “ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดให้ทำหน้าที่เซลล์แมนจังหวัดด้วยการช่วยเกษตรกรขายของ ช่วยพ่อค้าขายของ หาตลาด เอาของบ้านเราไปแลกเปลี่ยนกับจังหวัดอื่น และระบายไปยังห้างโมเดิร์นเทรด ที่สำคัญเอาของไปขายโดยไม่คิดค่าพื้นที่หรืออาจคิดในราคาพิเศษ มีหลายห้างที่มาให้ความร่วมมือ แพลตฟอร์มออนไลน์ ก็ให้พื้นที่พิเศษ ไม่คิดค่าเปอร์เซ็นต์ รวมถึง Thailand Postmart ของไปรษณีย์ไทย ที่ให้ขนส่งฟรีถึง 200 ตัน”นายจุรินทร์กล่าว

       รายงานข่าวจากกรมการค้าภายใน แจ้งว่า ปี 2563 ผลผลิตผลไม้ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 20% แต่ภาพรวมการผลิตผลไม้ภาคใต้ 14 จังหวัด ปี 2563 มีรวม 844,003 ตัน เพิ่มขึ้น 9.6% ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง โดยตั้งแต่เดือนส.ค. ภาคใต้จะมีผลไม้ออกมากที่สุด และจังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุด คือ ชุมพร รองลงมา คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา นราธิวาส ระนอง เป็นต้น โดยในปี 2563 ราคาผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น คือ ทุเรียนหมอนทอง ขายได้กิโลกรัมละ 96 บาท จากราคาเฉลี่ยเมื่อเดือนส.ค.2562 คือ 73 บาท ราคาเพิ่มขึ้น 32% มังคุดกิโลกรัมละ 46.6 บาท เพิ่มขึ้น 28%

       ก่อนหน้านี้ นายจุรินทร์ ได้ประชุมหารือร่วมกับชาวสวนผลไม้ ล้ง อุตสาหกรรมแปรรูป และผู้ส่งออก มีมติให้จัดทำ 9 มาตรการดูแลชาวสวนผลไม้ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการด้านแรงงาน มาตรการดูแลความเป็นธรรมทางการค้า มาตรการส่งเสริมซื้อขายผ่านสัญญาข้อตกลง มาตรการเชื่อมโยงกระจายผลผลิต มาตรการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย มาตรการรณรงค์การบริโภคในประเทศ มาตรการการผลักดันการส่งออก มาตรการเสริมสภาพคล่อง และมาตรการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการผลไม้ 

 

จุรินทร์ นำชาวสวนนครศรีธรรมราช ลง MOU ขายผลไม้ ลุยเชื่อมโยงตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ ดึงแพลตฟอร์มใหญ่เข้าช่วย ล่าสุดราคาผลไม้พุ่งขึ้นทุกตัว

       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพผลไม้ร่อนพิบูลย์ โดยมี นายสุชาติ สินรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายมนตรา พรหมสินธุ นายอำเภอร่อนพิบูลย์ นายตรี วิสุทธิคุณ พบปะและร่วมหารือกับชาวสวนผลไม้ (เงาะ มังคุด ทุเรียน) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพผลไม้ อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมเป็นสักขีพยานกิจกรรมลงนาม MOU การเชื่อมโยงตลาดออนไลน์ และออฟไลน์ กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้อำเภอร่อนพิบูลย์ กับแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee, Lazada, JJMall, ไปรษณีย์ไทย และห้างสรรพสินค้าโมเดิร์นเทรด (เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, เทสโก้ โลตัส, แม็คโคร และบิ๊กซี) กับผู้ประกอบการรวบรวมและส่งออกผลไม้กิจกรรมแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) มันแกวกับอาหารทะเล

        นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตั้งใจว่ามาครั้งนี้จะมาช่วยพวกเรา โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ ซึ่งในอดีตบางปีมีปัญหามาก แต่ปีที่แล้วและปีนี้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะผมมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่มารับผิดชอบเราไม่ปล่อยให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยเข้ามาแก้แต่เรามาแก้ตั้งแต่ต้นเรียกว่ามาตรการเชิงรุก ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้วผลไม้ทุกชนิดหลายคนกลัวว่าจะไม่รอดเพราะเศรษฐกิจโลกไม่ดี วิกฤติโควิดก็ทำให้ผลไม้หลายตัวที่เราพึ่งตลาดส่งออกลำบากเพราะไม่มีช่องทางการส่งทางเรือมีปัญหา ด่านก็ปิด สนามบินก็ปิด เลยหาทางออกและเตรียมการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้น ตนร่วมกับอธิบดีกรมการค้าภายใน (นายวิชัย โภชนกิจ) และคณะไปเตรียมการแก้ปัญหาตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งแต่ผลไม้ยังไม่ออกไปประชุมร่วมกับชาวสวนผลไม้ทั่วประเทศ ล้ง อุตสาหกรรมแปรรูป และผู้ส่งออกที่จังหวัดจันทบุรี และกลับมาประชุมที่กระทรวงต่อ หาวิธีจูงใจให้ชาวสวนผลไม้สามารถขายผลไม้ได้ราคาดีขึ้นโดยออกมาตรการ เช่น ผู้รวบรวมผลไม้ได้ชดเชยกิโลกรัมละ 3 บาท เพราะการรวมคือการซื้อผลไม้จากชาวสวน หากใครส่งออกก็จะได้เพิ่มเป็น 5 บาทต่อกิโลกรัม ผลไม้จะได้หมุนเวียนไม่เช่นนั้นจะต้องพึ่งพาตลาดคนไทยอย่างเดียว สิ่งที่เราพยายามคือทำให้ผลไม้ไทยข้ามชายแดนไปได้ แต่ด่านปิด เราต้องเจรจากับทุกด่าน ตอนนี้เปิดได้เกือบทุกด่านแล้ว

       “ผลไม้ปีนี้ถึงสามารถระบายไปได้ ไม่ทำให้ราคาทรุดลงมา ทั้งทางเรือและทางอากาศ เมื่อสนามบินเริ่มเปิดสายการบินหลายสายการบินก็ขนผลไม้ไปเมืองนอกได้ เช่น เจแปนแอร์ไลน์ ส่งไปญี่ปุ่น และเกาหลี ที่สำคัญเราช่วยกันปรับตัวสู่ยุค New Normal ยุคที่ทั้งโลกเปลี่ยนจากการขายระบบปกติเป็นการขายออนไลน์ เลยมีแพลตฟอร์มชื่อดังของประเทศหลายแห่ง เปิดโอกาสให้ผลไม้ไทยขึ้นไปขาย ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์จัดเทศกาลกินผลไม้ไทยสองเดือนเต็ม เดือนทองของผลไม้ไทย ช่วยระบายผลไม้ได้มากผ่านการค้าออนไลน์ และเรายังมีรูปแบบอื่นๆ มาพัฒนาใช้ เช่นการทำสัญญาเกษตรพันธสัญญา หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming)

     โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรช่วยเป็นตัวกลางหาเกษตรกรมาพบกับผู้ซื้อ ซึ่งต้องซื่อตรงต่อกันให้เรามีหลักประกันและจะกำหนดรายได้ของเราได้ชัดเจนของแต่ละครอบครัวเกษตรกร อยากให้ทุกคนที่เซ็นรักษาสัญญาจะทำให้เรามีอนาคตที่ยังยืน และรูปแบบแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีแต่มีของ เช่น วันนี้เรามีมันแกวอีกฝ่ายมีปลาแห้ง เอาปลาแห้งกับมันแกวแลกกันเลย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราอยู่รอดได้ และได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดให้ทำหน้าที่เซลล์แมนจังหวัดด้วยช่วยเกษตรกรขายของช่วยพ่อค้าขายของหาตลาดเอาของบ้านเราไปแลกเปลี่ยนกับพาณิชย์จังหวัดอื่น และระบายไปยังห้างโมเดิร์นเทรดที่สำคัญเอาของไปขายโดยไม่คิดค่าพื้นที่หรืออาจคิดในราคาพิเศษ มีหลายห้างที่มาให้ความร่วมมือแพลตฟอร์มก็ให้พื้นที่พิเศษไม่คิดค่าเปอร์เซ็นต์ รวมถึง Thailandpostmart.com ของไปรษณีย์ไทย ที่ให้ขนส่งฟรีถึง 200 ตัน”

      รายงานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ผลผลิตผลไม้ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น 20% แต่ภาพรวมการผลิตผลไม้ภาคใต้ 14 จังหวัดปี 2563 รวม 844,003 ตันเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.6% ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง เดือนสิงหาคม ภาคใต้จะมีผลไม้ออกมากที่สุด สำหรับภาคใต้นั้น จังหวัดที่มีผลผลิตมากที่สุด คือ ชุมพร รองลงมาคือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา นราธิวาส ระนอง เป็นต้น โดยในปี 2563 ราคาผลไม้สูงขึ้น คือ ทุเรียนหมอนทอง เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 96 บาท จากราคาเฉลี่ยเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2562 คือ 73 บาท ราคาเพิ่มขึ้น 32%  มังคุดกิโลกรัมละ 46.6 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 28% เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มี 9 มาตรการ ให้ดูแลชาวสวนผลไม้มาตลอด คือ มาตรการบริหารจัดการด้านแรงงาน มาตรการดูแลความเป็นธรรมทางการค้า มาตรการส่งเสริมซื้อขายผ่านสัญญาข้อตกลง มาตรการเชื่อมโยงกระจายผลผลิต มาตรการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย มาตรการรณรงค์การบริโภคในประเทศ มาตรการการผลักดันการส่งออก มาตรการเสริมสภาพคล่อง และมาตรการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการผลไม้ โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ชาวสวนพรหมคีรี ปลื้ม! 'จุรินทร์ทำมังคุดราคาดี' พร้อมนำ'เกษตรพันธสัญญา' มาใช้เพื่อให้เกิดการซื้อ-ขายจริง แบบ ‘คอนแทรคฟาร์มมิ่ง’

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุชาติ สินรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน นายเกรียงศักดิ์ รักษ์ศรีทอง นายอำเภอพรหมคีรี พบปะและร่วมหารือกับชาวสวนผลไม้ (เงาะ,มังคุด,ทุเรียน) ณ ที่ว่าการอําเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสักขีพยานกิจกรรมลงนาม MOU การเชื่อมโยงตลาดออนไลน์และออฟไลน์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้อำเภอพรหมคีรี กับแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada, JJMall, ไปรษณีย์ไทย และห้างสรรพสินค้าโมเดิร์นเทรด (เซ็นทรัล, เดอะมอลล์, เทสโก้ โลตัส, แม็คโคร และบิ๊กซี) กับผู้ประกอบการรวบรวมและส่งออกผลไม้

       นายจุรินทร์ กล่าวว่า ปีนี้รัฐบาลช่วยเกษตรกรได้มาก โดยเฉพาะนโยบายสำคัญในส่วนของประกันรายได้และการช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ ที่จังหวัดนี้มีผลผลิตมังคุด 8,000 ตันต่อปี กระทรวงพาณิชย์พามาช่วยซื้อ 1,015 ตันคิดเป็น 15% ของผลผลิตทั้งหมดต่อปี ตามหลักการค้าถ้าช่วยนำตลาดซัก 5% จะมีผลต่อราคาตลาดซึ่งครั้งนี้มีถึง 15% มีความเป็นไปได้ที่ทำให้ราคาสูงขึ้น แต่เดิมปีนี้ไม่แน่ใจเพราะผลผลิตผลไม้เพิ่มขึ้นถึง 20% ทั้งประเทศ

      จึงเตรียมแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นนัดประชุมชาวสวนผลไม้ทั้งประเทศ ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่จังหวัดจันทบุรี และมาทบทวนมาตรการที่กระทรวง 3 รอบ และเรามีมาตรการเรื่องช่วยให้ราคาผลไม้ดีขึ้นทั้งที่หลายฝ่ายคิดว่าเสร็จแน่ครั้งนี้ เพราะวิกฤติโควิดถ้าบริโภคแต่ในประเทศจะเหลือ แต่หลังจากแก้ปัญหาเสร็จผลเป็นตรงกันข้ามทำให้ราคาผลไม้ดีขึ้นมาตรการที่หนึ่งให้ช่วยรวบรวมผลไม้ เราจะช่วยกิโลกรัมละ 3 บาท ทั้งกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน ล้งช่วยดึงผลไม้มาจากชาวสวนออกมา และถ้าใครส่งออกจะได้กิโลกรัมละ 5 บาท แต่ว่าการส่งออกมีปัญหาเมื่อเกิดวิกฤติโควิดการส่งออกไปต่างประเทศติดขัดหมด คนเข้ามาซื้อผลไม้ที่ประเทศไม่ได้เพราะถูกกักตัว 14 วัน

        “แต่เราคลี่คลายปัญหาได้ด้วยการใช้ระบบการค้าแบบใหม่โดยใช้ระบบออนไลน์ประสานงานกับแพลตฟอร์มดัง เช่น Shopee, Lazada, JJmall และ Thailandpostmart ของไปรษณีย์ไทย มาช่วยเปิดให้สามารถเอาผลไม้ไปโพสต์และขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เป็นช่องทางระบายในยุค New Normal และกรมการค้าภายในช่วยผลิตกล่องแจกให้กับพี่น้องเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร เอาไปใช้บรรจุผลไม้เวลาส่งใส่กล่อง ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายทำให้การระบายผลไม้ดีขึ้นในปีนี้และจะดำเนินการต่อไป การลงนาม MOU วันนี้ช่วยให้พวกเรา 5 กลุ่มที่จะไปขายในแพลตฟอร์มคือ

        วิสาหกิจชุมชนชมรมไม้ผลบ้านท่าข้าม 2.กลุ่มแปลงใหญ่ตำบลนาเรียง 3.สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านวังลุง 4.กลุ่มแปลงใหญ่ตำบลทอนหงส์ 5.สหกรณ์การเกษตรพรมคีรี จะเซ็นสัญญาเพื่อไปโพสต์ขายได้ และที่สำคัญคือการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา ที่เรียกว่าคอนแทรคฟาร์มมิ่งต่อไปนี้ผู้ผลิตกับผู้ซื้อจะมาเซ็นสัญญา รับประกันกันว่าถ้าผู้ผลิตผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดฝ่ายผู้ซื้อจะรับซื้อกิโลกรัมละเท่าไร เป็นเวลาเท่าไรตามสัญญา เวลาเกษตรกรผลิตได้เสร็จก็จะต้องขายให้กับผู้ซื้อที่เซ็นสัญญาไว้ มีกฎหมายบังคับไว้ซึ่งกระทรวงพาณิชย์นำมาใช้ร่วมกับกระทรวงเกษตรต้องการให้เกษตรกรใช้มากขึ้น”

         นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้มี 4 บริษัทมาช่วยซื้อ คือ 1.บจก.มาตาโปรดักส์ 2.หจก.สุชาติยอดมณี 3.ร้านสมใจ 4.เดอะมอลล์ มาเซ็นสัญญารับซื้อกับผู้แทนสหกรณ์พรหมคีรีจำนวน 1,015 ตัน หรือประมาณ 1,000,000 กิโลกรัม ช่วยให้อย่างน้อยจำนวนนี้มีอนาคตชัดเจนและช่วยชี้นำตลาดต่อไป ขอแสดงความยินดีกับพวกเราทุกคนเพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเราจะขยายผลต่อไปโดยให้พาณิชย์จังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเป็นผู้ประสานงานต่อไป

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

Forex Exness1

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!