WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaBวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์

ตั้งบริษัทใหม่มิ.ย. 5,731 ราย เพิ่ม 3% จับตาธุรกิจขนส่งสินค้ามาแรง รับค้าออนไลน์โต

      กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยยอดบริษัทตั้งใหม่เดือนมิ.ย.63 มีจำนวน 5,731 ราย เพิ่มขึ้น 3% หลังคลายล็อกดาวน์ คนมั่นใจลงทุนทำธุรกิจเพิ่มขึ้น จับตาธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ามาแรง ตั้งใหม่พุ่งติดอันดับ 3 รับการเติบโตของการค้าออนไลน์ ส่วนยอดรวมตั้งใหม่ครึ่งปี 63 มีจำนวน 33,337 ราย ลด 13% เลิก 6,227 ราย ลด 7% 

       นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจดทะเบียนธุรกิจเดือนมิ.ย.2563 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 5,731 ราย เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 37% และเทียบเดือนมิ.ย.2562 เพิ่มขึ้น 3% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 14,757 ล้านบาท เมื่อเทียบกับพ.ค.2563 เพิ่มขึ้น 53% แต่เทียบกับมิ.ย.2562 ลดลง 3% โดยธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 612 ราย คิดเป็น 11% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 271 ราย คิดเป็น 5% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 188 ราย คิดเป็น 3%

       “ยอดการตั้งธุรกิจใหม่ในเดือนมิ.ย.2563 ที่เพิ่มขึ้น มาจากการที่ผู้ประกอบการที่ชะลอการตัดสินใจทำธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ตอบสนองมาตรการคลายล็อกดาวน์ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จึงได้ตัดสินใจตั้งธุรกิจใหม่ตามแผนที่ได้วางไว้ โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็กมากถึง 99%”นายวุฒิไกรกล่าว

        ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,336 ราย เทียบกับพ.ค.2563 เพิ่มขึ้น 48% และเทียบกับมิ.ย.2562 เพิ่มขึ้น 6% มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 5,132 ล้านบาท เทียบกับพ.ค.2563 เพิ่ม 73% และเทียบกับมิ.ย.2562 เพิ่ม 3% โดยธุรกิจที่เลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 111 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 69 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 36 ราย คิดเป็น 3%

        สำหรับ ยอดรวมการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วง 6 เดือนปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 33,337 ราย ลดลง 13% ทุนจดทะเบียนรวม 104,571 ล้านบาท ลดลง 13% และธุรกิจเลิกกิจการ มีจำนวน 6,227 ราย ลดลง 7% ทุนจดทะเบียน 26,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18%

       ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มการจดตั้งธุรกิจใหม่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จะดีขึ้นตามลำดับ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และมาตรการการเงิน ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ผ่าน Soft Loan ขณะที่ภาคเศรษฐกิจจะเริ่มตอบสนองต่อมาตรการของรัฐบาล เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ การเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

        รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการจดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือนมิ.ย.2563 เพิ่มขึ้น เนื่องจากการคลายล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน ทำให้มีความมั่นใจในการลงทุนทำธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยมีธุรกิจที่น่าจับตา คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร ที่มีการตั้งใหม่เข้ามาเป็นอันดับที่ 3 จากปกติจะเป็นธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าออนไลน์และบริการขนส่งสินค้าจากการซื้อขายออนไลน์

        ล่าสุด มีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 มิ.ย.2563) มีจำนวน 765,775 ราย มูลค่าทุน 18.44 ล้านล้านบาท แยกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 186,682 ราย คิดเป็น 24.38% บริษัทจำกัด จำนวน 577,822 ราย คิดเป็น 75.46% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,271 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

1aaaBมิถุนายน

 

การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนมิถุนายน 2563 และครึ่งปีแรก 2563 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

การจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนมิถุนายน 2563 และครึ่งปีแรก 2563

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

          นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2563 และครึ่งปีแรก 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผลการจดทะเบียนธุรกิจ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนมิถุนายน 2563

         - จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 5,731 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 14,757 ล้านบาท

          - ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 612 ราย คิดเป็น 11% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 271 ราย คิดเป็น 5% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 188 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

          - ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,323 ราย คิดเป็น 75.43% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,326 ราย คิดเป็น 23.14% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 69 ราย คิดเป็น 1.20% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 13 ราย คิดเป็น 0.23% ตามลำดับ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่ครึ่งปีแรก 2563

          - จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ ครึ่งปีแรก 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 33,337 ราย เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2562 (ก.ค.-ธ.ค.) จำนวน 33,263 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 74 ราย คิดเป็น 0.2% และเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 38,222 ราย ลดลงจำนวน 4,885 ราย คิดเป็น 13%

           - ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 3,394 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,665 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 932 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ • มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในครึ่งปีแรก 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 104,571 ล้านบาท เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2562 (ก.ค.-ธ.ค.62) จำนวน 209,708 ล้านบาท ลดลงจำนวน 105,137 ล้านบาท คิดเป็น 50% และเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 117,756 ล้านบาท ลดลงจำนวน 13,185 ล้านบาท คิดเป็น 11%

          - ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 24,471 ราย คิดเป็น 73.40% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 8,336 ราย คิดเป็น 25.01% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 468 ราย คิดเป็น 1.40% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 62 ราย คิดเป็น 0.19%

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนมิถุนายน 2563

           - จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนมิถุนายน 2563 มีจำนวน 1,336 ราย โดยมีมูลค่า ทุนจดทะเบียนจำนวน 5,132 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

          - ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 111 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 69 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 36 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

           - ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 923 ราย คิดเป็น 69.09% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 350 ราย คิดเป็น 26.20% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 59 ราย คิดเป็น 4.41% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.30% ตามลำดับ

ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนมิถุนายน 2563

           - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 มิ.ย. 63) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน765,775 ราย มูลค่าทุน 18.44 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 186,682 ราย คิดเป็น 24.38% บริษัทจำกัด จำนวน 577,822 ราย คิดเป็น 75.46% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,271 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ

           - ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 452,511 ราย คิดเป็น 59.09% รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.17% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 225,544 ราย คิดเป็น 29.45% รวมมูลค่าทุน 0.75 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.07% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 71,858 ราย คิดเป็น 9.39% รวมมูลค่าทุน 1.95 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.57% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,862 ราย คิดเป็น 2.07% รวมมูลค่าทุน 15.34 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.19% ตามลำดับ

การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว

เดือนมิถุนายน 2563

          - เดือนมิถุนายน 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 22 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 34 ราย โดยมีนักลงทุนต่างชาติลงทุนเพิ่มขึ้น 11 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (พ.ค.63) 24% และมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 11,401 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 87 ล้านบาท คิดเป็น 0.77%

           - นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 386 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 623 ล้านบาท และจีน จำนวน 2 ราย เงินลงทุน 330 ล้านบาท

          - ครึ่งปีแรก 2563 คนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 355 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 58,407 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีจำนวนนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 22 ราย (7%) เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3,653 ล้านบาท (7%) ซึ่งธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาดำเนินการเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ และนโยบายในการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เงินลงทุนสูง อาทิ บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม และบริการให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบการทำงานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการออกแบบพร้อมติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ รวมทั้งซ่อมแซมบำรุงรักษาสินค้าประเภทแผงโซล่าเซลล์ เป็นต้น

การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนมิถุนายน 2563

           กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนางานบริการทุกกระบวนการของกรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และประกาศกรมเรื่องการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

           กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอรับข้อมูลได้ผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) มีจำนวนการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 227,584 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของการให้บริการผ่านระบบ e-Service และรองรับการให้บริการสู่การบริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทาง www.dbd.go.th แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS

           การให้บริการขอหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลาง) และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 ให้ขอรับบริการได้เฉพาะทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Service) ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563

           กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน ปรับลดอัตราค่าบริการหนังสือรับรอง รับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคาร (e-Certificate) จากอัตราเดิม หนังสือรับรองนิติบุคคล ฉบับละ 150 บาท เป็น ฉบับละ 100 บาท รับรองสำเนาเอกสารทะเบียน งบการเงิน/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จาก 1-5 หน้าแรก 100 บาท หน้าถัดไปหน้าละ 20 บาท เป็น หน้าละ 20 บาท โดยไม่กำหนดอัตราเริ่มต้น โดยธนาคารกรุงไทย ปรับลดเป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 สิงหาคม 2563 มีสาขาที่พร้อมให้บริการทั้งสิ้น 1,132 สาขาทั่วประเทศ

DBD e - Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์

           การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดปี 2562 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินแล้ว จำนวน 362,607 ราย คิดเป็น 50% ของนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงิน โดยนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) จำนวน 355,424 ราย คิดเป็น 98% และนำส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 7,183 ราย คิดเป็น 2% ทั้งนี้การนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามารถนำส่งได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถตรวจสอบข้อมูลงบการเงินผ่าน DBD Data Warehouse และ DBD e - Service ผ่าน Application ได้อย่างรวดเร็ว

           จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิค 19 เพื่อให้การนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมฯ ได้มีมาตรการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังนี้

              - ให้บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคมการค้า และหอการค้า รายใดที่ได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 จนทำให้เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถจัดประชุมหรือจัดประชุมล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และเมื่อได้ดำเนินการจัดประชุมแล้ว ให้มีหนังสือชี้แจงเหตุผลยื่นต่อนายทะเบียนเป็นรายกรณีไป

    -ให้ขยายระยะเวลาการยื่นงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนิติบุคคลที่ตั้งตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ให้ยื่นงบการเงินได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563

           - ให้การยื่นงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร การยื่นสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด การยื่นสำเนารายงานประจำปี และสำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) เพียงช่องทางเดียว

           ทั้งนี้ กรมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้นิติบุคคลเตรียมความพร้อมการดาว์นโหลดไฟล์ Excel บอจ.5เพื่อกรอกบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและดาวน์โหลดไฟล์งบการเงิน Excel เวอร์ชั่น 2 เพื่อกรอกงบการเงินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่ www.dbd.go.th เลือก บริการออนไลน์ ระบบนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)" โดยดาวน์โหลดวีดิทัศน์ไฟล์งบการเงิน Excel เวอร์ชั่น 2 และวิธีกรอกไฟล์ Excel บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เพื่อนำส่งได้อย่างถูกต้องครบถ้วน e-Certificate บริการระบบหนังสือ

e-Certificate บริการระบบหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร

           กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร (e-Certificate) ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2555 และผ่านการรับรองระบบพิมพ์ออกฯ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบริการ ณ สาขาธนาคารใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้ รวมทั้งสิ้น 10 ธนาคาร จำนวน 3,837 สาขา

e-Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์

          กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หรือผ่านระบบ mobile application (iosและ android) บนสมาร์ทโฟน โดยตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 529,603 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 8,308,483 ล้านบาท โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน

         สำหรับเดือนมิถุนายน 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 6,581 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 82,311 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ มากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็น 65.37% (มูลค่า 53,805 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง คิดเป็น 34.62% (มูลค่า 28,494 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็น 0.01% (มูลค่า 12 ล้านบาท) และไม้ยืนต้น คิดเป็น 0.001% (มูลค่า 597,837 บาท) และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 257 ราย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ได้ดำเนินกิจกรรมแผนปฏิบัติงานขับเคลื่อนการใช้ไม้ยืนต้นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ณ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างการรับรู้ในการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันได้ โดยมีผู้นำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จำนวน 2 ราย จำนวนต้นไม้ 30 ต้น เป็นไม้ประเภทยาง ไม้แดง ไม้ประดู่ ฯลฯ วงเงินค้ำประกัน 520,437.09 บาท

e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์

           การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2563 มีการยืนยันการใช้งาน (Activate) จำนวน 62,749 ราย รับจดทะเบียน 27,850 ราย ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน รวมถึงการเชื่อมโยงเพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์ รวมทั้งการให้บริการสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration

DBD Connect เชื่อมระบบบัญชีสู่การยื่นงบการเงินออนไลน์ (DBD e-Filing)

           กรมฯ ร่วมกับผู้ผลิตซอฟแวร์บัญชีชั้นนำของประเทศ จำนวน 16 ราย (20 โปรแกรม) พัฒนาการเชื่อมโยงซอฟต์แวร์บัญชีกับระบบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) แบบอัตโนมัติ ผ่านระบบ DBD Connect อำนวยความสะดวกการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับนักบัญชีให้สามารถนำส่งงบการเงิน ในรูปแบบ XBRL ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีพร้อมนำส่งงบการเงินผ่าน DBD e-Filing ได้โดยตรง และไม่ต้องคีย์ข้อมูลงบการเงินซ้ำ

การบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร (Total Solution for SMEs) และ e-Accounting for SMEs

               Total Solution for SMEs เป็นการขับเคลื่อน SMEs ด้วยนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการธุรกิจที่ครบวงจรได้โดยง่าย เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมด้านการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วนไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน (Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online (Cloud Accounting) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 โปรแกรม

      นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้แจกฟรี "โปรแกรม e-Accounting for SMEs" ซึ่งเป็นโปรแกรมหน้าร้าน (POS) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าขาย เช่น มี Scanner เพื่อซื้อขายสินค้าในตัว , มีฐานข้อมูลของสินค้ามากกว่า 10,000 รายการ เป็นต้น โดยร้านค้าสามารถสมัครขอใช้งานโปรแกรม e-Accounting for SMEs ได้ผ่านทางโครงการ Total Solution for SMEs หรือดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store ในระบบ Android

DBD Data Warehouse

         กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุน การตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 4,204,941 ครั้ง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!