WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaGIลงทุนไทย

ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทยมิ.ย.63 จำนวน 22 ราย นำเงินเข้า 1,587 ล้าน จ้างงาน 3,575 คน

      คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ไฟเขียวคนต่างชาติลงทุนในไทยเดือนมิ.ย.63 จำนวน 22 ราย นำเงินเข้ามาลงทุน 1,587 ล้านบาท เกิดการจ้างแรงงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาที่ไทยยังไม่เชี่ยวชาญอีกเพียบ

        นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน

        โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น

สำหรับ ธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่

      1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท เช่น บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม บริการออกแบบทางวิศวกรรม จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ก่อสร้าง และติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษา สำหรับโครงการก่อสร้างคลังน้ำมันเชื้อเพลิง

       2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท เช่น บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการด้านการเงินและการลงทุนของบริษัทในเครือที่ประเทศสิงคโปร์ บริการสนับสนุนบุคลากรไปดำเนินการตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัท

        3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท เช่น นายหน้าประกันชีวิต ประเภทการจัดการให้มีการประกันภัยโดยตรง ค้าปลีกเครื่องบดย่อยและคัดแยกขนาด (Crusher and Screening Equipment) อุปกรณ์ลำเลียงและขนถ่าย (Conveyor) อุปกรณ์แต่งแร่ (Minerals Processing Equipment) ค้าส่งกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

     4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท เช่น บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาหอกลั่น (Tower) และเตาปฏิกรณ์ (Reactor) รวมทั้งท่อแยกแก๊ส บริการรับจ้างผลิต วิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ บริการออกแบบพร้อมติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ รวมทั้งซ่อมแซมบำรุงรักษาสินค้าประเภทแผงโซล่าเซลล์

     ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) คนต่างด้าวได้รับใบอนุญาต จำนวน 134 ราย เพิ่มขึ้น 35% มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 5,357 ล้านบาท โดยมีต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจ เช่น บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการด้านการเงินและการลงทุนของบริษัทในเครือ ค้าปลีกเครื่องบดย่อยและคัดแยกขนาด (Crusher and Screening Equipment) อุปกรณ์ลำเลียงและขนถ่าย (Conveyor) อุปกรณ์แต่งแร่ (Minerals Processing Equipment) และบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาหอกลั่น (Tower) และเตาปฏิกรณ์ (Reactor) รวมทั้งท่อแยกแก๊ส เป็นต้น

มิ.ย.63 มีการอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนในไทยภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ 22 ราย มีเงินลงทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 3,575 คน

      นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการฯ เมื่อวันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน ซึ่งมีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจกว่า 1,587 ล้านบาท และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน

         การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในครั้งนี้จะมีผลให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นวิทยาการซึ่งเป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์

          สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่

  1. ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท อาทิ
  • · บริการขุดเจาะปิโตรเลียม
  • · บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
  • · บริการออกแบบทางวิศวกรรม จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ก่อสร้าง และติดตั้ง ทดสอบและบำรุงรักษา สำหรับโครงการก่อสร้างคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
  1. ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท อาทิ
  • · บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการด้านการเงินและการลงทุนของบริษัทในเครือที่ประเทศสิงคโปร์
  • · บริการสนับสนุนบุคลากรไปดำเนินการตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัท
  1. ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์ มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท อาทิ
  • · นายหน้าประกันชีวิต ประเภทการจัดการให้มีการประกันภัยโดยตรง ค้าปลีกเครื่องบดย่อยและคัดแยกขนาด (Crusher and Screening Equipment) อุปกรณ์ลำเลียงและขนถ่าย (Conveyor) อุปกรณ์แต่งแร่ (Minerals Processing Equipment)
  • · ค้าส่งกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น
  1. ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท อาทิ
  • · บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาหอกลั่น (Tower) และเตาปฏิกรณ์ (Reactor) รวมทั้งท่อแยกแก๊ส
  • · บริการรับจ้างผลิต วิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์
  • · บริการออกแบบพร้อมติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ รวมทั้งซ่อมแซมบำรุงรักษาสินค้าประเภทแผงโซล่าเซลล์

          สำหรับ เดือนมิถุนายน 2563 ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเป็นธุรกิจที่มีลักษณะเป็นคู่สัญญาเอกชน โดยเป็นบริการที่สนับสนุนธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

          อนึ่งในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2563 คนต่างด้าวได้รับใบอนุญาต จำนวน 134 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 5,357 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 35 โดยมีต่างชาติลงทุนประกอบธุรกิจ อาทิ บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการด้านการเงินและการลงทุนของบริษัทในเครือ ค้าปลีกเครื่องบดย่อยและคัดแยกขนาด (Crusher and Screening Equipment) อุปกรณ์ลำเลียงและขนถ่าย (Conveyor) อุปกรณ์แต่งแร่ (Minerals Processing Equipment) และบริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาหอกลั่น (Tower) และเตาปฏิกรณ์ (Reactor) รวมทั้งท่อแยกแก๊ส เป็นต้น

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!