WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa อรมน ทรัพย์ทวีธรรม

เอฟทีเอ มีส่วนช่วย! ส่งออก 'มังคุด' 5 เดือนพุ่ง 16% จีนนำโด่ง ตามด้วยอาเซียน ฮ่องกง

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยส่งออก 'มังคุด' ราชินีผลไม้ไทย ไปตลาดที่ไทยมีเอฟทีเอ 5 เดือนปี 63 เพิ่มขึ้น 16% จีนนำโด่งอันดับหนึ่ง ตามด้วยอาเซียน และฮ่องกง แนะเกษตรกร ผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพ และผลิตผลไม้ปลอดสารพิษ ตามเทรนด์ที่ตลาดต้องการ และอย่าลืมใช้เอฟทีเอในการส่งออก เพื่อสร้างความได้เปรียบ

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” หรือราชินีแห่งผลไม้ไทย ในช่วง 5 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) มีมูลค่า 290 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยตลาดจีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 99% ของการส่งออกทั้งหมด แบ่งเป็นการส่งออกไปจีนมูลค่า 213 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 19% อาเซียน มูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 4% โดยมีเวียดนามเป็นตลาดส่งออกหลักในอาเซียน ส่วนแบ่งตลาด 94% ของการส่งออกไปอาเซียนทั้งหมด และฮ่องกง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 171% ซึ่งทั้ง 3 ตลาด เป็นตลาดที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ด้วยทั้งหมด

     “เอฟทีเอ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกมังคุดเพิ่มขึ้น โดยจากการตรวจสอบประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอของไทย มี 14 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา อินเดีย ชิลี เปรู และฮ่องกง ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ เก็บ 24% กัมพูชา มาเลเซีย และสปป.ลาว เก็บ 5%”นางอรมนกล่าว

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และพัฒนาคุณภาพการผลิตตามความต้องการของตลาดที่นิยมผลไม้ปลอดสารพิษ หรือเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งต้องพัฒนาตราสินค้าเป็นของตนเอง สร้างความแตกต่างจากผลไม้ของประเทศอื่น เพื่อให้สามารถครองใจผู้บริโภคได้ และหากจะส่งออก ควรจะใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอในการสร้างความได้เปรียบในการส่งออกด้วย

        ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกมังคุดไทยสู่ตลาดโลกในปี 2562 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ความตกลงเอฟทีเอฉบับแรกของไทยกับอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นถึง 53,468% โดยเฉพาะจีน เพิ่ม 125,504% เมื่อเทียบกับปี 2545 อาเซียน เพิ่ม 100% เมื่อเทียบกับปี 2535 เป็นต้น สอดคล้องกับสถิติในปี 2562 ที่มังคุดเป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอในการส่งออกเป็นอันดับต้น โดยเฉพาะภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และส่งผลให้ไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกมังคุดของโลกในปีเดียวกัน

กรมเจรจาฯ’ เผย FTA ดันส่งออกมังคุดไทยขยายตัวต่อเนื่อง

      กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผย ตลาด จีน อาเซียน และฮ่องกง ที่ไทยมี FTA ด้วย ดันส่งออก “มังคุด” ราชินีผลไม้ไทย 5 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 16 มูลค่ากว่า 290 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดระยะยาวส่งออกยังไปได้สวย แนะใช้โอกาสขยายตลาดกับประเทศที่ไทยมีเอฟทีเอควบคู่กับการรักษามาตรฐาน

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” หรือราชินีแห่งผลไม้ไทย ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) พบว่าขยายตัวร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และมีมูลค่าส่งออกถึง 290 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ก็ตาม โดยมีจีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึงร้อยละ 99 ของการส่งออกทั้งหมด แบ่งเป็นการส่งออกไปจีนมูลค่า 213 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19 ส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4 (มีเวียดนามเป็นตลาดส่งออกหลักในอาเซียน ส่วนแบ่งตลาด 94% ของการส่งออกไปอาเซียน) ส่งออกไปฮ่องกง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 171 ซึ่งไทยมีความตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ กับทั้ง 3 ประเทศ

     นางอรมน เพิ่มเติมว่า ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกมังคุดไปตลาดโลกเพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทย 14 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา อินเดีย ชิลี เปรู และฮ่องกง ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ (อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 24) กัมพูชา มาเลเซีย และลาว (อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5)

      และเมื่อเปรียบเทียบสถิติมูลค่าการส่งออกมังคุดไทยสู่ตลาดโลกในปี 2562 กับปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่ความตกลงเอฟทีเอฉบับแรกของไทยกับอาเซียนจะมีผลบังคับใช้ พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 53,468 โดยเฉพาะจีนขยายตัวร้อยละ 125,504 เมื่อเทียบกับปี 2545 อาเซียน ขยายตัวร้อยละ 100 เมื่อเทียบกับปี 2535 เป็นต้น สอดคล้องกับสถิติในปี 2562 ที่มังคุดเป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอในการส่งออกเป็นอันดับต้น โดยเฉพาะภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และส่งผลให้ไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกมังคุดของโลกในปีเดียวกัน

     “ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อโรค ประกอบกับข้อได้เปรียบของผลไม้ไทยที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ จึงถือเป็นโอกาสทองที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายการส่งออกผลไม้ต่างๆ ของไทยไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล พัฒนาคุณภาพการผลิตตามความต้องการของตลาดที่ปัจจุบันนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งสร้างเอกลักษณ์ด้วยการพัฒนาสร้างตราสินค้า หรือแบรนด์ของผลไม้เป็นของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่างจากผลไม้ของประเทศอื่นเพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภค” นางอรมน เสริม

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!