WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaBวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์

พิษโควิด-19 ฉุดยอดจดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่ 'อีอีซี'ลด 13.35% 'เอสอีซี' ลด 16%

     กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยยอดจัดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่อีอีซี 5 เดือนปี 63 มียอด 2,731 ราย ลดลง 13.35% และในพื้นที่เอสอีซีก็ลดลงเช่นเดียวกัน มียอด 923 ราย ลด 16% เหตุได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่รอดูสถานการณ์ และมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

      นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจัดตั้งธุรกิจใหม่ช่วง 5 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-พ.ค.) ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วยเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง พบว่า มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ รวม 2,731 ราย ลดลง 13.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 3,152 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนจัดตั้ง 6,790 ล้านบาท ลดลง 18.32% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่มีทุนจัดตั้ง 8,313 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจที่มีการจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ 443 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 1,413 ล้านบาท รองลงมา คือ ก่อสร้างอาคารทั่วไป 203 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 321 ล้านบาท และตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ 124 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 369 ล้านบาท

      ปัจจุบันพื้นที่ 3 จังหวัด ในอีอีซีมีนิติบุคคลคงอยู่จำนวน 74,073 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1,959,310 ล้านบาท แบ่งเป็น จ.ชลบุรี 54,357 ราย คิดเป็น 73.38% จ.ระยอง 13,909 ราย คิดเป็น 18.18% และ จ.ฉะเชิงเทรา 5,807 ราย คิดเป็น 7.84% โดยขนาดธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่อีอีซีมีการประกอบธุรกิจบริการ คิดเป็น 60.90% และเป็นธุรกิจ SMEs คิดเป็น 98.09%

     ด้านการลงทุนของต่างชาติในนามนิติบุคคลไทย (ถือหุ้นไม่เกิน 49.99%) ที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี มีมูลค่าทั้งสิ้น 788,156 ล้านบาท คิดเป็น 40.22% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุด คิดเป็น 48.10% มูลค่าทุน 379,135 ล้านบาท รองลงมา คือ จีน มีสัดส่วนการลงทุน 10.63% มูลค่าทุน 83,767 ล้านบาท และสิงคโปร์มีสัดส่วนการลงทุน 5.49% มูลค่าทุน 43,235 ล้านบาท โดยมีการลงทุนในจังหวัดระยองสูงสุด 418,340 ล้านบาท ชลบุรี 288,052 ล้านบาท และฉะเชิงเทรา 81,763 ล้านบาท

      นายวุฒิไกร กล่าวว่า ขณะที่ยอดการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ 4 จังหวัด (เอสอีซี) ประกอบด้วย ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ในช่วง 5 เดือนปี 2563 มีจำนวน 923 ราย ลดลง 16% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่มียอดจัดตั้งธุรกิจ 1,101 ราย โดยมีทุนจดทะเบียนจัดตั้ง 1,790 ล้านบาท ลดลง 26.26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่มีทุนจัดตั้ง 2,429 ล้านบาท

      โดยประเภทธุรกิจที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป 124 ราย มีทุนจดทะเบียน 207 ล้านบาท อสังหาริมทรัพย์ 81 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้ง 223 ล้านบาท และภัตตาคารร้านอาหาร 54 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 142 ล้านบาท ส่งผลให้มีนิติบุคคลคงอยู่ในพื้นที่เอสอีซี จำนวน 24,752 ราย ทุนจดทะเบียน 136,668 ล้านบาท โดยขนาดธุรกิจส่วนในพื้นที่เอสอีซีมีการประกอบธุรกิจบริการ คิดเป็น 67.86% และเป็นธุรกิจ SMEs คิดเป็น 99.23%

        ด้านการลงทุนของคนต่างชาติในนามนิติบุคคลไทย มีมูลค่าทั้งสิ้น 13,227 ล้านบาท คิดเป็น 9.68% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการถือหุ้นของชาวต่างชาติในนิติบุคคลที่จัดตั้งในไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 15.02% มูลค่าทุน 1,986 ล้านบาท ฝรั่งเศส 14.48% มูลค่าทุน 1,914 ล้านบาท อังกฤษ 13.29% มูลค่า 1,758 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนการลงทุนจากต่างชาติในนามนิติบุคคลที่จัดตั้งในไทย แบ่งตามจังหวัด โดยมีการลงทุนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีสูงสุด 11,968 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชุมพร 792 ล้านบาท นครศรีธรรมราช 362 ล้านบาท และระนอง 104 ล้านบาท

      รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การจดตั้งธุรกิจใหม่ลดลงพื้นที่อีอีซีและเอสอีซีลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่รอดูสถานการณ์ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะฟื้นตัวขึ้น หลังจากรัฐบาลเริ่มคลายล็อกดาวน์ ส่วนแนวโน้มการจดทะเบียนทั้งปีจะใกล้เคียง หรือปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ยังต้องรอดูสถานการณ์ และมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!