WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1abAgi29

ส่งออกทุเรียน 4 เดือนไม่สนโควิด-19 ยอดขายไปจีนพุ่ง 78% ชี้เอฟทีเอปัจจัยหลักช่วยหนุน

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยวิกฤตโควิด-19 ไม่กระทบการส่งออกทุเรียนไทย ยอด 4 เดือนพุ่ง 30% เฉพาะตลาดจีนขยายตัวสูงถึง 78% มีสัดส่วน 72% ของการส่งออกทั้งหมด เผยเอฟทีเอเป็นปัจจัยหลักช่วยหนุนการเติบโต หลังจีนไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทยแล้ว แนะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมเพิ่มการแปรรูป เพิ่มโอกาสเจาะตลาดอาหารแห้งที่เก็บได้นาน

   นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามสถิติการส่งออกทุเรียนสดของไทยในช่วง 4 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) พบว่า มีการขยายตัวอย่างน่าพอใจ มีมูลค่า 788 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30% โดยเฉพาะตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ยังมีการบริโภคสูง แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกในช่วงดังกล่าว มีมูลค่า 567 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 78% หรือมีสัดส่วนการส่งออกถึง 72% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมา เป็นการส่งออกไปฮ่องกง อาเซียน ไต้หวัน และสหรัฐฯ โดยไทยยังเป็นแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนอันดับที่ 1 ของโลก นำหน้าฮ่องกงและมาเลเซียหลายเท่าตัว

    ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้การส่งออกทุเรียนของไทยเติบโต มาจากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่มีส่วนช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ทำให้ทุเรียนไทยมีโอกาสส่งออกและแข่งขันได้มากขึ้น โดยปัจจุบันทุเรียนไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าใน 16 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ บรูไน อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและเกาหลีใต้ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยอยู่

     ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการส่งออกทุเรียนของไทยไปยังตลาดจีน โดยดูตัวเลขปี 2562 ที่ผ่านมา ที่ส่งออกได้มูลค่า 850 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จีนจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่มีมูลค่าส่งออกเพียง 3 หมื่นเหรียญสหรัฐ การส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 2,832,366% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเอฟทีเอ ได้มีส่วนช่วยในการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจริง

    อย่างไรก็ตาม แม้ในภาพรวมการส่งออกทุเรียนสดไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรองรับผลกระทบในด้านอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การขนส่งสินค้า การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และต้องพิจารณาเพิ่มผลิตภัณฑ์เป็นทุเรียนแปรรูป เช่น ทุเรียนทอด และทุเรียนอบแห้ง เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์กระแสความนิยมอาหารแห้งที่เก็บรักษาได้นาน

 

กรมเจรจาฯ ชี้ทุเรียนไทยยังสดใสท่ามกลางวิกฤติโควิด ทำยอดส่งออกแดนมังกร 4 เดือนแรกพุ่ง 78%

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผย วิกฤตโควิด-19 ไม่กระทบส่งออกทุเรียนไทย เหตุจีนแห่บริโภคสูง สถิติชี้ยอดส่งออกตลาดแดนมังกร 4 เดือนแรกปี 2563 พุ่งร้อยละ 78 ดันยอดส่งออกรวมโตร้อยละ 30 ครองแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลก มั่นใจทุเรียนไทยยังไปได้สวย แนะใช้เอฟทีเอเพิ่มแต้มต่อช่วยส่งออกได้

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังติดตามสถิติการค้าระหว่างประเทศ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม – เมษายน) ว่า การส่งออกทุเรียนสดของไทยขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย (สัดส่วนการส่งออกร้อยละ 72) ที่มีการบริโภคสูงแม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกในช่วงดังกล่าว ขยายตัวถึงร้อยละ 78 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 567 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ยอดส่งออกทุเรียนสู่ตลาดโลกในภาพรวมขยายตัวร้อยละ 30 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 788 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยยังเป็นแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนอันดับที่ 1 ของโลก นำหน้าฮ่องกงและมาเลเซียหลายเท่าตัว     

     นางอรมน กล่าวว่า ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มีส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้การส่งออกทุเรียนของไทยเติบโต เพราะช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ทำให้ทุเรียนไทยมีโอกาสส่งออกและแข่งขันมากขึ้น ปัจจุบันทุเรียนไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าใน 16 ประเทศคู่เอฟทีเอ ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ บรูไน อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและเกาหลีใต้ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยอยู่ ทำให้ในปี 2562 ไทยมีมูลค่าส่งออกทุเรียนสดสู่ตลาดโลกรวม 1,465 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน อาเซียน และฮ่องกง โดยการส่งออกทุเรียนไปยังสามตลาดหลักนี้ มีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 98 ของการส่งออกทุเรียนของไทยทั้งหมด

    ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยในปี 2562 กับปีที่ความตกลงเอฟทีเอแต่ละฉบับมีผลใช้บังคับ พบว่า มูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักที่เป็นคู่เอฟทีเอเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะตลาดจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2,832,366 เมื่อเทียบกับปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จีนจะยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน สอดคล้องกับสถิติการใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอ ที่พบว่าทุเรียนมีการขอใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสูงมากเป็นอันดับต้น

   นางอรมน ทิ้งท้ายว่า ผู้ประกอบการอาจเพิ่มผลิตภัณฑ์เป็นทุเรียนแปรรูป เช่น ทุเรียนทอด และทุเรียนอบแห้ง เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์กระแสความนิยมอาหารแห้งที่เก็บรักษาได้นาน ทั้งนี้ แม้ว่าในภาพรวมการส่งออกทุเรียนสดไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรองรับผลกระทบต่อการผลิตในด้านอื่นๆ อาทิ การขนส่งสินค้า การขาดแคลนแรงงาน และความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!