WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDชุมชนพาณิชย์ จับมือ ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลักดันผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทาง ออนไลน์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชน รองรับการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ ปี 63 ตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการทั่วประเทศได้กว่า 10,000 ราย

      พาณิชย์ จับมือ ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลักดันผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทาง ออนไลน์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ชุมชน รองรับการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ ปี 63 ตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการทั่วประเทศได้กว่า 10,000 ราย

        กระทรวงพาณิชย์ จับมือ ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผลักดันผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทางการค้าออนไลน์มากขึ้น เปิด 3 แนวทาง ส่งเสริมร้านค้าใช้อี-คอมเมิร์ซ กระตุ้นยอดขาย/ขยายกิจการให้เติบโตอย่างยั่งยืน พัฒนาผู้ประกอบการให้มีองค์ความรู้ในการขยายตลาดด้วยอี-คอมเมิร์ซ เพิ่มความน่าเชื่อถือบนโลกออนไลน์ ผ่านการขอเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Registered, DBD Verified และจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าออนไลน์ มั่นใจช่วยสร้างบรรยากาศให้ผู้ซื้อลดความกังวลในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ และผู้ขายมีรายได้มากขึ้น ตั้งเป้าผลักดันยอดขายผ่านอี-คอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ภายใน 5 ปี โดยคาดว่าปี 2564 อี-คอมเมิร์ซไทย มีมูลค่าแตะ 5 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งค้าขายออนไลน์อาเซียน

       นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางสร้างความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของไทยอย่างต่อเนื่อง คาดว่าหลังจากโรคโควิด-19 บรรเทาเบาบางลง ผู้คนทั่วทุกมุมโลกจะมีการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบใหม่ (Digital Disruption) เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทำธุรกรรมผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้ง การซื้อสินค้าก็จะใช้ช่องทางอี-คอมเมิร์ซมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น การบูรณาการความร่วมมือกับตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) จะช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน

      เบื้องต้นได้ให้แนวทางการขับเคลื่อนผู้ประกอบการชุมชนในการใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อทำการตลาดและกระจายสินค้า 3 แนวทาง ประกอบด้วย

      (1) การพัฒนาผู้ประกอบการให้มีองค์ความรู้ผ่านการจัดอบรมและบ่มเพาะเชิงลึก โดยการนำจุดเด่นของสินค้าซึ่งผู้ประกอบการมีอยู่แล้วมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อดึงดูดความสนใจ (Content Marketing) ของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ รวมถึงร่วมมือกับ Platform ชั้นนำในการช่วยส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ โดยในปี 2563 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทางอี-คอมเมิร์ซ อย่างน้อย 10,000 ราย

        2) สร้างบรรยากาศการซื้อขายผ่านอี-คอมเมิร์ซ ด้วยการกระตุ้นให้ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าออนไลน์ตระหนักถึง การมีตัวตนและความน่าเชื่อถือของร้านค้า ผ่านการขอรับเครื่องหมายรับรองตัวตน DBD Registered และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Verified จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในการซื้อขายออนไลน์ก่อให้ธุรกิจเกิดความเติบโตอย่างยั่งยืน และ

            (3) การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าออนไลน์ อาทิ การจัดงาน Thailand Online Mega Sale, DBD Boost up Online, Thailand e-commerce Hackathon ฯลฯ เป็นต้น และยังเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคเกษตรให้สามารถขายสินค้าออนไลน์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการจัดกิจกรรม Thai fruits golden months ซึ่งงานฯ ดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในตลาดออนไลน์ โดยทั้ง 3 แนวทางที่กล่าวมาคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้มากถึง 1,100 ล้านบาท

           นอกจากนี้ หัวใจสำคัญของแนวทางการขับเคลื่อนฯ คือ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายและการพัฒนาให้ตรงจุดอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะร่วมมือกันกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานในการประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ อย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมผู้ประกอบการซึ่งจะเน้นเรื่องการเขียนเรื่องราวให้กับผู้ประกอบการ (Story Telling) รวมถึงการปรับรูปแบบการสอนให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ Smart Phone ในการเปิดร้านค้าและการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ (M-Commerce) ได้

           รมช.พณ.ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงพาณิชย์ คาดหวังว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาและเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้อย่างไร้กังวล รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์เห็นถึงความสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ โดยการขอรับเครื่องหมาย DBD Registered และ DBD Verified จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามากขึ้น ใช้อี-คอมเมิร์ซ เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการและชุมชน เป็นช่องทางการขยายตลาดไปสู่สากลและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าผลักดันยอดขายผ่าน e-Commerce ให้เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ภายใน 5 ปี โดยคาดว่าปี 2564 อี-คอมเมิร์ซไทย จะมีมูลค่าแตะ 5 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งค้าขายออนไลน์อาเซียน

วีรศักดิ์ สั่งลุยสอนผู้ประกอบการชุมชนขายออนไลน์ หลังโควิด-19 ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

       วีรศักดิ์ สั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดินหน้าช่วยผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทางการค้าออนไลน์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังโควิด-19 ระบาด ทำพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน หันมาใช้การซื้อขายออนไลน์กันมากขึ้น เผยจะส่งทีมงานร่วมกับแพลตฟอร์มชื่อดัง ไปสอนการทำการค้าออนไลน์ สอนเขียนเรื่องราวให้สินค้า การเปิดและบริหารจัดการร้านค้า พร้อมหนุนจดเครื่องหมายรับรอง การันตีเป็นตัวจริง

     นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมมือกับตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Shopee , Lazada และ JD Central เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทางการค้าออนไลน์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคาดว่าหลังจากโรคโควิด-19 บรรเทาเบาบางลง ผู้คนทั่วทุกมุมโลกจะมีการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโมเดลธุรกิจแบบใหม่ (Digital Disruption) ที่คนจะมีการทำธุรกรรมผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัลกันมากขึ้น รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับการใช้ช่องทางนี้กันมากขึ้น จึงต้องเร่งพัฒนาผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดการค้าออนไลน์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยในปี 2563 นี้ ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนเข้าสู่ช่องทางอี-คอมเมิร์ซให้ได้อย่างน้อย 10,000 ราย

     สำหรับ การเข้าไปช่วยพัฒนา จะมีทีมงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์เข้าไปช่วยพัฒนาองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการชุมชน ผ่านการจัดอบรมและบ่มเพาะเชิงลึกเกี่ยวกับการทำการค้าออนไลน์ การเข้าไปช่วยสอนการเขียนเรื่องราวให้กับสินค้า (Story Telling) ที่ผู้ประกอบการมีอยู่แล้วมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สอนเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือในการเปิดร้านค้า และการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น

         ทั้งนี้ ยังจะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขอรับเครื่องหมายรับรองตัวตน DBD Registered และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Verified จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนและความน่าเชื่อถือของร้านค้า และเป็นช่องทางการขยายตลาดไปสู่สากล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้อย่างไร้กังวล

      ส่วนการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการ จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าออนไลน์ เช่น การจัดงาน Thailand Online Mega Sale , DBD Boost up Online , Thailand e-commerce Hackathon เป็นต้น และที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคเกษตรให้สามารถขายสินค้าออนไลน์ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการจัดกิจกรรม Thai fruits golden months มาแล้ว

      อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดขายผ่านอี-คอมเมิร์ซของไทยจะเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ภายใน 5 ปี โดยปี 2564 อี-คอมเมิร์ซไทย จะมีมูลค่าแตะ 5 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งค้าขายออนไลน์อาเซียน

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!