WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Kจุรินทร์

พาณิชย์ เคาะไม่จ่ายชดเชยประกันรายได้ 4 งวดติดต่อกัน หลังราคาข้าวพุ่งต่อเนื่อง

      พาณิชย์ เคาะไม่จ่ายชดเชยส่วนต่าง งวดที่ 26 ให้กับเกษตรกรในโครงการประกันรายได้ข้าว รวมแล้ว 4 งวดติดต่อกัน หลังราคาข้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทุกชนิดเกินเพดานประกันรายได้ หลังความต้องการพุ่ง ทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออก เผยข้าวเปลือกเจ้าราคายืนราคาเกินตันละ 1 หมื่นบาทต่อเนื่อง ‘จุรินทร์’สั่งติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด บริหารให้สมดุลทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออก

         ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2563 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้พิจารณาการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยมีมติไม่จ่ายเงินส่วนต่างงวดที่ 26 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่แจ้งเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 26 เม.ย.- 2 พ.ค.2563 เพราะราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นเกินไปกว่าราคาประกันรายได้ทุกชนิด ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายส่วนต่างในงวดนี้ ซึ่งถือเป็นงวดที่ 4 ติดต่อกันที่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายชดเชย นับจากงวดที่ 23 ที่ไม่จ่ายเป็นงวดแรก

        โดยการคำนวณราคาส่วนต่างดังกล่าว ไม่ได้มีการคำนวณราคาอ้างอิงข้าวเปลือกหอมมะลิ เพราะสิ้นสุดฤดูกาลไปแล้ว แต่ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาอ้างอิงอยู่ที่ตันละ 15,180.05 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,289.19 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,815.46 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 17,277.29 บาท ซึ่งทุกชนิดราคาสูงกว่าราคาที่รัฐบาลประกันรายได้เอาไว้

       ทั้งนี้ นับตั้งแต่กระทรวงพาณิชย์ได้คิกออฟโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.2562 เป็นต้นมา ได้มีการจ่ายชดเชยมาโดยตลอด จนถึงงวดที่ 22 แต่พองวดที่ 23 ไม่มีการจ่ายเป็นครั้งแรก ต่อมางวดที่ 24 ก็ไม่ต้องจ่าย จนมาถึงงวดที่ 25 ก็ไม่จ่ายอีกครั้ง และล่าสุดงวดที่ 26 รวมแล้ว 4 งวดติดต่อกัน

        สำหรับ ปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น มาจากผลผลิตข้าวเปลือกนาปรัง ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง และมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้นจากการบริโภคในประเทศ จากการที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาจากความต้องการข้าวเพื่อส่งออก เพราะประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญ เช่น เวียดนาม ได้ห้ามส่งออกข้าว อินเดียระงับคำสั่งซื้อใหม่ ทำให้ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า หันมาสั่งซื้อข้าวไทยเพิ่มมากขึ้น 

          อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ ติดตามสถานการณ์การค้าข้าวในประเทศและการส่งออกอย่างใกล้ชิด เพื่อบริหารจัดการให้อยู่ในภาวะสมดุล ทั้งการบริโภคในประเทศที่ต้องเพียงพอ และส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

        ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ประกันรายได้ข้าวเปลือกจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท ครัวเรือนละ 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละ 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน แต่ถ้าเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของข้าวชนิดที่กำหนดไว้สูงสุด โดยผลการจ่ายเงินส่วนต่างที่ผ่านมา รวม 25 งวด ได้จ่ายเงินชดเชยรายได้ไปแล้วประมาณ 19,368 ล้านบาท คิดเป็น 92.4% ของวงเงินประกันรายได้ทั้งหมด 20,940.84 ล้านบาท

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!