WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Aoramon 2

WTO ประเมินการค้าโลกปี 63 ส่อทรุด แต่ปี 64 ฟื้น ชี้ต้องเร็วคุมโควิด-19 เร่งเยียวยาเศรษฐกิจ

    กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผย WTO ประเมินการค้าโลกหลังวิกฤตไวรัสโควิด-19 คาดปี 63 เบาสุดการค้าจะลดลง 13% หนักสุดลด 32% หรือมากกว่า และปี 64 จะฟื้นตัวขึ้น 21% สูงสุด 24% ชี้ความรวดเร็วในการควบคุมการแพร่ระบาด และมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจที่ทุกชาติต้องร่วมมือกัน จะเป็นปัจจัยหลักส่งผลต่อการฟื้นตัว แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงจากความตึงเครียดของตลาดสินเชื่อ แนะผู้ประกอบการเร่งใช้เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม

      นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ได้จัดทำรายงานการศึกษาการค้าโลกหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่าปริมาณการค้าโลก ในปี 2563 จะลดลงจากปี 2562 และจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2564 โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ WTO ได้ตั้งสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้ 2 กรณี คือ กรณีแรก ปริมาณการค้าโลกจะลดลง 13% ในปี 2563 และจะฟื้นตัว 21% ในปี 2564 และกรณีที่ 2 ปริมาณการค้าโลกจะลดลง 32% หรือมากกว่า ในปี 2563 และจะกลับมาฟื้นตัว 24% ในปี 2564

     โดยปัจจัยที่มีผลกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือ ความรวดเร็วในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และนโยบายหรือมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ และหากทุกประเทศร่วมมือกันจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วกว่าการที่แต่ละประเทศดำเนินมาตรการเอง แต่การคาดการณ์ดังกล่าว อาจยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาวะตึงเครียดของตลาดสินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการให้บริการการเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

      นางอรมน กล่าวว่า WTO ยังวิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤตไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจต่างๆ โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรม พบว่า มาตรการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสในหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ทำให้มีการปิดโรงงานชั่วคราว ส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่มูลค่าซับซ้อนโดยตรง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์

     สำหรับ ภาคการค้าบริการ ส่งผลให้การใช้บริการคมนาคมขนส่ง ท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและบริการต่างๆ ลดลง หรือต้องปิดตัวในบางธุรกิจ เนื่องจากประเทศต่างๆ มีมาตรการจำกัดการขนส่งและการเดินทางเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส แต่ก็ยังมีสาขาบริการที่ได้ประโยชน์จากวิกฤต เช่น การให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากสามารถใช้บริการในที่พักอาศัยได้ และมีพฤติกรรมการใช้มากขึ้น

       “ผู้ประกอบการควรใช้ช่วงเวลานี้ เตรียมความพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเต็มกำลังภายหลังวิกฤต โดยต้องวางแผนอย่างรอบคอบ ประเมินความเสี่ยงและทางเลือกใหม่ๆ รวมถึงปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการ ขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษาพันธมิตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่จะมีผลต่อพฤติกรรมของตลาดและผู้บริโภคในอนาคต เช่น ความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น”นางอรมนกล่าว

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!