WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDจุรินทร์2

จุรินทร์ ประธานประชุม 'ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ -มันสำปะหลัง' หาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ชูนโยบาย”เกษตรผลิต พาณิชย์การตลาด”

    เห็นชอบประกันภัย 7 อย่างผู้ปลูกข้าวโพด ช่วยเหลือผู้ปลูกมันสำปะหลัง ที่ตกหล่นยังไม่ได้รับเงินส่วนต่างประกันรายได้ เตรียมนำเข้า ประชุม ครม. ขอเพิ่มงบช่วยเหลือเกษตรกร

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - มันสำปะหลัง ครั้งที่ 1/2563 ภายหลังการประชุม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานในที่ประชุม แถลงผลการประชุมว่า 

    วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด 2 เรื่อง คือ เรื่องที่หนึ่งการประกันภัยพืชผลหรือการประกันภัยข้าวโพดจะช่วยให้ชาวไร่ข้าวโพด หากประสบภัย7 ชนิด หรือประสบภัยจากโรคระบาดจะได้รับเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือพืชผลทางการเกษตรที่เสียหาย โดยรัฐบาลกับ ธกส.จะร่วมมือกันในการจ่ายเบี้ยประกันแทนชาวไร่ข้าวโพดไร่ละ 160 บาท โดยเบี้ยประกัน 160 บาทต่อไร่นั้น รัฐบาลจะจ่ายให้ 96 บาท และ ธกส. จะช่วยจ่ายให้ 64 บาท ถ้าชาวไร่ข้าวโพดผลผลิตเสียหายจากเหตุ 7 ชนิด เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ เป็นต้น จะได้รับเงินชดเชยไร่ละ 1,500 บาท แต่ถ้าเกิดจากโรคระบาดจะได้รับการชดเชยไร่ละ 750 บาท โดยจะใช้วงเงินทั้งหมด 313 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเรื่องนี้โดยให้ ธกส. สำรองจ่ายไปก่อนและรัฐบาลจะตั้งวงเงินชดเชยให้ในปีถัดไป

     เรื่องที่สองการขยายระยะเวลานโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดซึ่งแต่เดิมนั้นได้กำหนดระยะเวลาการประกันรายได้ไว้สำหรับผู้ปลูกข้าวโพดตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ทำให้เกษตรกรที่ปลูกในช่วงเดือนนี้ไม่สามารถได้รับเงินส่วนต่างจากนโยบายประกันรายได้ได้ วันนี้ที่ประชุมจึงมีมติให้ความเห็นชอบว่าเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 สามารถได้รับเงินจากโครงการประกันรายได้ได้ด้วยโดยมีเกษตรกรอยู่ประมาณ 150,000 ราย ใช้วงเงินงบประมาณ 670 ล้านบาทจะได้รับเงินส่วนต่างชดเชยกิโลกรัมละ 29 สตางค์โดยประมาณ ซึ่งจะให้ ธกส. สำรองจ่ายไปก่อนและรัฐบาลจัดตั้งงบประมาณชดเชยให้ในปีถัดไป พร้อมทั้งจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

     สำหรับ เรื่องมันสำปะหลัง ที่ประชุมมีความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ 2 เรื่องด้วยกัน

        เรื่องที่ 1 การปฎิบัติตามนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งได้มีการประกันรายได้ไว้ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาทและมีการกำหนดการจ่ายเงินส่วนต่างรวม 12 งวด คือเดือนละ 1 งวดทุกวันที่ 1 ของเดือน ที่ผ่านมาได้มีการจ่ายไปแล้ว 5 งวดด้วยกัน ยังเหลืออยู่อีก 7 งวดซึ่งงวดถัดไปวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมาราคาหัวมันสดตกต่ำลงไปมากส่วนหนึ่งเกิดจากภัยแล้งทำให้เชื้อแป้งไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็นทำให้เกษตรกรมีรายได้ในราคาที่ต่ำลงประกอบกับโควิดทำให้ความต้องการในตลาดต่างประเทศมีปัญหาในเรื่องของการส่งออกหลายส่วน เพราะฉะนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างเพิ่มมากขึ้น ทำให้งวดที่ 6 ถึงงวดที่ 12 ที่ยังค้างอยู่นั้นจำเป็นจะต้องใช้เงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 460 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยดูแลในงบประมาณส่วนนี้ต่อไป โดยจะขอให้ ธกส. ได้จ่ายสำรองไปก่อนและรัฐบาลก็จะตั้งจ่ายชดเชยในปีถัดไป

     เรื่องที่ 2 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าควรขอความร่วมมือจากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับมันสำปะหลังทั้งหมด 4 สมาคมด้วยกันประกอบด้วย สมาคมแป้งมัน สมาคมการค้ามันสำปะหลัง สมาคมมันสำปะหลังภาคอีสาน และสมาคมมันสำปะหลังภาคตะวันออก ได้หารือร่วมกันเพื่อที่จะหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในช่วงระยะเวลาวิกฤตในปัจจุบันนี้ โดยขอให้หารือกันว่าสามารถที่จะช่วยรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 2.30 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% ได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นในยามวิกฤตและขณะเดียวกันเพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายเงินส่วนต่างของรัฐบาลไปอีกจำนวนหนึ่งได้ด้วยในเวลาเดียวกันซึ่งขอให้ 4 สมาคมนี้ ได้ไปหารือร่วมกันกับผู้แทนของกระทรวงพาณิชย์และขอคำตอบว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่อย่างไรโดยเร็วที่สุด

    อย่างไรก็ตาม สำหรับ นโยบายประกันรายได้เกษตรกรที่ได้ดำเนินการมาของรัฐบาลทั้งในส่วนของข้าว มัน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดนั้นมีความคืบหน้าเป็นลำดับ เกษตรกรจำนวนมากได้รับเงินส่วนต่างไปโดยลำดับ อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่ยังประสบปัญหาติดขัดไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในเรื่องใดก็ตามที่มีสิทธิ์แต่ยังไม่ได้รับเงินส่วนต่างจากนโยบายประกันรายได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นที่มาที่วันนี้ได้มีการสั่งการให้กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องจากเกษตรกรที่ เชื่อว่าตนเองมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินส่วนต่างจากนโยบายประกันรายได้แต่ยังไม่ได้รับเงินเนื่องจากติดปัญหาอุปสรรค นอกจากจะไปร้องเรียนที่เกษตรตำบล กำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือที่ ธกส. โดยตรงแล้ว กระทรวงพาณิชย์ก็จะเปิดรับเรื่องจากเกษตรกรโดยตรงผ่านหมายเลข 1569 โดยจะจัดเจ้าหน้าที่ไว้รับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะและตรวจแยกข้อมูลเพื่อที่จะได้สั่งการไปยังผู้รับผิดชอบในแต่ละจังหวัดให้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินส่วนต่างให้ได้รับเงินส่วนต่างโดยเร็ว

      “เรื่องที่ผมได้เคยเรียนให้ทุกท่านได้รับทราบว่าภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิดที่เกิดขึ้นและรัฐบาลมีนโยบายที่จะออกพระราชกำหนดในการกู้เงินเพื่อมาใช้ในการเยียวยาและสนับสนุนให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถผ่านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยดีถือว่าเป็นนโยบายที่สังคมให้การตอบรับมาก” นายจุรินทร์กล่าว

ในส่วนของกระทรวงเกษตรกับกระทรวงพาณิชย์นั้น นายจุรินทร์กล่าวว่า เรื่องนี้คิดว่าจะต้องมีการดำเนินการบูรณาการร่วมกันในการทำงานเพราะทั้งหมดทั้ง 2 ส่วน ก็มีเป้าหมายเพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรจะดำเนินการบูรณาการร่วมกันภายใต้หลักการ “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เพื่อควบคู่กันไปและจะมีการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจรทั้งในภาคการผลิตและภาคการแปรรูปรวมทั้งการตลาด ต่อไปไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรครัวละ 5,000 บาท ซึ่งกระทรวงเกษตรได้เตรียมการในการตั้งเรื่องที่เกี่ยวกับในเรื่องนี้แล้วและจะช่วยเหลือทั้งในส่วนของเกษตรด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และเกษตรแปรรูปต่อไปในภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการเตรียมการที่จะลดต้นทุนการผลิตปุ๋ยหรือในเรื่องอื่นๆ เรื่องของแหล่งน้ำ ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐานขึ้น

รวมทั้งในเรื่องของการประสานการตลาด ซึ่งจะมุ่งเน้น 3 ส่วนทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ หมายรวมถึงการส่งออกและตลาดอีคอมเมิร์ซหรือตลาดออนไลน์ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นตลาดออนไลน์เพื่อการค้าในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม โดยทั้งหมดนี้ภายใต้หลักการ 'เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด'ตนจะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อขอการสนับสนุนต่อไปเพื่อให้รัฐบาลสามารถที่จะเดินหน้าในการเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

 

พาณิชย์ งดจ่ายชดเชยข้าว หลังราคาพุ่งเกินเพดาน เฉพาะเปลือกเจ้าทำนิวไฮทะลุ 1 หมื่น

     พาณิชย์”มีมติไม่จ่ายชดเชยส่วนต่างในโครงการประกันรายได้ข้าวให้กับเกษตรกรสำหรับงวดที่ 23 หลังราคาตลาดพุ่งเกินราคาประกันรายได้ทุกชนิด และเป็นครั้งแรกตั้งแต่เริ่มโครงการ 15 ต.ค.62 เผยข้าวเปลือกเจ้าราคาทะลุตันละ 1 หมื่นบาทแล้ว หลังความต้องการพุ่งทั้งจากการบริโภคในประเทศและต้องการส่งออก ‘จุรินทร์’สั่งบริหารให้สมดุลท่ามกลางไวรัสโควิด-19 ระบาด

      ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2563 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้พิจารณาการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยมีมติไม่จ่ายเงินส่วนต่างงวดที่ 23 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่แจ้งเก็บเกี่ยวระหว่างวันที่ 5-11 เม.ย.2563 เพราะราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นเกินไปกว่าราคาประกันรายได้ทุกชนิด ทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายส่วนต่างในงวดนี้

      ทั้งนี้ ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่ได้มีการคำนวณราคาอ้างอิง เพราะสิ้นสุดฤดูกาลไปแล้ว แต่ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาอ้างอิงอยู่ที่ตันละ 14,935.33 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,181.71 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,392.65 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 17,097.69 บาท ซึ่งทุกชนิดราคาสูงกว่าราคาที่รัฐบาลประกันรายได้เอาไว้

     “ถือเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เริ่มคิกออฟโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.2562 เป็นต้นมา โดยข้าวที่มีการจ่ายชดเชยมาโดยตลอด ก็คือ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จ่ายมาจนถึงงวดที่ 22 แต่พองวดที่ 23 ไม่มีการจ่ายแล้ว เพราะราคาข้าวปรับตัวขึ้นเร็วมาก โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ที่เพิ่มขึ้นเกินตันละ 1 หมื่นบาท ถือเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้งที่ราคาข้าวขึ้นมาถึงขนาดนี้”

      สำหรับ ปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น มาจากความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ทั้งจากการบริโภคในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาจากความต้องการข้าวเพื่อส่งออก หลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญ เช่น เวียดนาม ได้ห้ามส่งออกข้าว อินเดียระงับคำสั่งซื้อใหม่ ทำให้คำสั่งซื้อข้าววิ่งมายังไทยมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ผู้ส่งออกเร่งซื้อข้าวเพิ่มขึ้น

      อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกได้ในราคาดี และให้ติดตามสถานการณ์ข้าวสารบรรจุถุงสำหรับการบริโภคให้มีเพียงพอต่อความต้องการ และดูด้านการส่งออกข้าวควบคู่ไปด้วย โดยให้บริหารจัดการให้เกิดความสมดุลที่สุด ทั้งการบริโภคและการส่งออกท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

     ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ประกันรายได้ข้าวเปลือกจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท ครัวเรือนละ 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละ 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละ 16 ตัน แต่ถ้าเกษตรกรปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของข้าวชนิดที่กำหนดไว้สูงสุด โดยผลการจ่ายเงินส่วนต่างที่ผ่านมา รวม 23 งวด ได้จ่ายเงินชดเชยรายได้ไปแล้วประมาณ 19,368 ล้านบาท คิดเป็น 92.4% ของวงเงินประกันรายได้ทั้งหมด 20,940.84 ล้านบาท

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!