WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Aoramon

กรมเจรจาฯ แนะใช้เอฟทีเอดันส่งออก 'อาหารทะเลกระป๋อง' ป้อนความต้องการพุ่งจากโควิด-19

     รมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แนะใช้วิกฤตเป็นโอกาส หลังความต้องการสินค้าอาหารแห้ง อาหารทะเลกระป๋องพุ่งจากไวรัสโควิด-19 ระบาด ผลักดันส่งออกป้อนความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น และใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอที่มีการลดภาษีนำเข้าสร้างความได้เปรียบ พร้อมย้ำต้องให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน  

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องการซื้อสินค้าอาหารที่เก็บไว้ได้นานมากขึ้น เช่น อาหารแห้งและอาหารกระป๋อง จึงเป็นโอกาสที่ไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่มีศักยภาพในการผลิตสูง และปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน สามารถที่จะเพิ่มการผลิตและใช้แต้มต่อจากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ขยายการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปตามความต้องการของตลาดโลกได้

       โดยปัจจุบันไทยมีเอฟทีเอ 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ มีประเทศคู่เอฟทีเอ 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู และฮ่องกง ได้ยกเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปทุกรายการจากไทยแล้ว ส่วนอีก 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ยังคงเก็บภาษีนำเข้าบางรายการ

      นางอรมน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ความตกลงเอฟทีเอช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปของไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ไทยส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปไปทั่วโลกเป็นมูลค่าสูงถึง 3,775 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 227% และในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกไปยังประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอมูลค่ารวม 1,407 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 37% ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีประเทศคู่ค้าสำคัญ 5 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อาเซียน เปรู และเกาหลีใต้ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง สัดส่วน 57% รองลงมา คือ กุ้งกระป๋องและแปรรูป 19% ปลาแปรรูป 9% และปลาซาร์ดีนกระป๋อง 4%

         ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่ความตกลงเอฟทีเอมีผลใช้บังคับ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยจีนขยายตัวสูงสุด 4,457% รองลงมา คือ เปรู เพิ่ม 2,088% อาเซียน เพิ่ม 613% เกาหลีใต้ เพิ่ม 246% และออสเตรเลีย เพิ่ม 114% ซึ่งสอดคล้องกับสถิติที่พบว่าสินค้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการไทยขอใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกด้วยเอฟทีเอเป็นอันดับต้น

         อย่างไรก็ตาม แม้ความต้องการบริโภคอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่เพิ่มขึ้น จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจเป็นความต้องการระยะสั้น แต่ตลาดสินค้าดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรโลกมีความต้องการบริโภคสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประมงของไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า และวิธีการทำประมงให้สอดรับกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สู่การเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของโลก

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!