- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Monday, 09 March 2020 20:37
- Hits: 4458
กรมเจรจาฯ โชว์แผนรับมือเบร็กซิต เตรียมทวงผลประโยชน์ไทย ปูทางทำเอฟทีเอ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โชว์แผนทำงาน หลังสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป เตรียมการเจรจากับอียูและยูเค แก้ไขตารางข้อผูกพันโควตาภาษี ทำรายงานทบทวนนโยบายการค้า ศึกษาการทำเอฟทีเอ สร้างความตื่นตัวรับมือเบร็กซิต เผยยังจะเดินหน้าชี้เป้าการสร้างผลประโยชน์ให้กับไทย และเร่งตรวจสอบปัญหาอุปสรรคที่มีก่อนผลักดันแก้ไขต่อไป
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยในการเปิดการสัมมนาเรื่อง “เข้าใจ Brexit พลิกสัมพันธ์การค้ากับยุโรป” ว่า กรมฯ ได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต สหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย และสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (ยูเค) จัดงาน “เข้าใจ Brexit พลิกสัมพันธ์การค้ากับยุโรป” เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงสถานการณ์ล่าสุด และการเตรียมความพร้อมของไทย รวมถึงแผนการทำงานของกรมฯ ที่จะนำมาใช้รองรับกรณีที่ยูเคจะออกจากสหภาพยุโรป (อียู) อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2564
ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมฯ มีแผนการทำงานรับมือ 4 ด้าน คือ 1.เจรจากับอียูและยูเค ในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อแก้ไขตารางข้อผูกพันโควตาภาษีภายใต้ WTO เนื่องจากทั้งยูเคและอียูจะต้องมีการจัดสรรโควตาใหม่ให้กับสมาชิก WTO รวมทั้งไทย ในสินค้า เช่น มันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลัง ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวหัก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก ปลากระป๋อง เป็นต้น โดยยึดหลักการว่าโควตาใหม่ที่ไทยจะได้รับจัดสรรจากทั้งยูเคและอียู เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่น้อยกว่าที่ไทยเคยได้รับเมื่อสมัยยูเคยังรวมอยู่ในอียู
2.จัดทำรายงานการทบทวนนโยบายการค้าระหว่างไทยและยูเค หรือ Trade Policy Review (TPR) เพื่อศึกษาภาพรวมการค้าระหว่างสองฝ่าย โอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนในสาขาธุรกิจที่ไทยสนใจ หรือมีศักยภาพในตลาดยูเค รวมถึงมาตรการของยูเคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของไทย เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างกันในอนาคต โดยผลการจัดทำรายงานกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมี.ค.2563
3.ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำเอฟทีเอระหว่างไทยกับยูเค
4.ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักเรื่องเบร็กซิตและการเตรียมการของไทย
นอกจากนี้ จะเร่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดยูเค โดยเบื้องต้น พบว่า สาขาธุรกิจ อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยมีศักยภาพ เช่น เกษตรกรรมและการผลิตอาหาร (เนื้อไก่ ผลไม้ อาหารเสริม และอาหารสัตว์เลี้ยง) การประมง (อาหารทะเลแปรรูปและแช่แข็ง ปลาทูน่า กุ้ง) ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ภาคบริการและลงทุนที่ไทยมีศักยภาพ เช่น การท่องเที่ยว การขนส่ง การเงิน โทรคมนาคม และการก่อสร้าง
ขณะเดียวกัน ได้เตรียมพิจารณาเพื่อดูว่ายูเคมีมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษีที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนของไทยอะไรบ้าง เช่น การเก็บภาษีสูงในสินค้าเกษตรและประมง การกำหนดมาตรการสุขอนามัยที่มีมาตรฐานสูง โดยเฉพาะระดับสารปนเปื้อน และสารเคมีตกค้าง ตลอดจนมาตรฐานทางเทคนิคต่างๆ เช่น การติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ มาตรการ IUU ที่ต่อต้านสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการควบคุม เป็นต้น ซึ่งไทยจะนำรายงานทบทวนนโยบายการค้าที่จัดทำหารือกับฝ่ายยูเคที่มีการจัดทำรายงานนโยบายการค้าของไทยเช่นกัน เพื่อจัดทำเป็นรายงานร่วมกัน และจะนำไปสู่การหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรค ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ขอให้ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยูเค ติดตามสถานการณ์ตลาด กฎระเบียบทางการค้าของยูเค และศึกษาความต้องการของผู้บริโภคยูเคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย สวัส
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web