WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa K9มาตรการ

จุรินทร์ ผนึกกำลัง 40 องค์กรรัฐและเอกชน ทำแผนเชิงรุกดูแลราคาผลไม้ปี 63

     จุรินทร์”ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนรวม 40 องค์กร ทำแผนรับมือผลผลิตผลไม้ทุกชนิดที่กำลังจะออกสู่ตลาดในปีนี้รวม 3 ล้านตัน เตรียมบริหารจัดการเชิงรุก ทั้งเร่งรับรองสวนตามมาตรฐาน GAP ตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ เร่งกระจายผลผลิตผ่านตลาดกลาง ห้าง สายการบิน ดันส่งออกไปจีนและ CLMMV เผยยังจะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง คุมเข้มล้ง ดูแลเรื่องโลจิสติกส์ และตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบจากโควิด-19 ในส่วนที่เกี่ยวกับผลไม้ 

    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม “การขับเคลื่อนมาตรการช่วยผลไม้ไทย สู้ภัย COVID-19” ที่กระทรวงพาณิชย์ ว่า เป็นการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2563 ที่คาดว่าผลไม้ทุกชนิดจะมีผลผลิตรวมกันประมาณ 3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้ว และจะเริ่มออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือนเม.ย.2563 เป็นต้นไป จึงต้องกำหนดแผนและมาตรการรับมือ เพื่อช่วยเหลือเรื่องราคาและเร่งระบายผลไม้ออกสู่ตลาด และเป็นที่มาของการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 40 องค์กรในครั้งนี้

      โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการผลไม้ปีนี้ จะเร่งให้มีการรับรองสวนผลไม้ตามมาตรฐาน GAP เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจุบันยังเหลืออีก 1.1 หมื่นรายที่ต้องตรวจรับรอง ซึ่งกรมวิชาการเกษตร จะเร่งไปตรวจสวนและให้การรับรองแล้ว และยังจะมีการสนับสนุนให้เยาวชนเข้าไปช่วยเสริมในเรื่องของแรงงานเก็บผลไม้ด้วย

      นอกจากนี้ จะจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ที่จ.จันทบุรี โดยรวบรวมผลไม้จากทุกฝ่ายแล้วมาบริหารจัดการ ส่วนภาคใต้จะตั้งที่จ.ชุมพร

      สำหรับ การกระจายผลไม้ จะกระจายผ่านตลาดกลาง 20 แห่งทั่วประเทศ โดยมีตลาดไทเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด จะช่วยดูดซับผลผลิตได้ 60-70% ของผลผลิตทั้งหมด , กระจายผ่านโมเดิร์นเทรด เพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภค , ดึงสายการบิน 6 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย ไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ส นกแอร์ ไลออนแอร์ และการบินไทย ให้โหลดผลไม้ขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม โดยกรมการค้าภายในให้บริการเรื่องกล่องบรรจุ , การกระจายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น ไปรษณีย์ไทย ลาซาด้า ช้อปปี้ จตุจักรมอลล์ และไทยเทรดดอทคอม , จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศในศูนย์การค้าและที่ต่างๆ เพื่อกระตุ้นการบริโภค

     ทางด้านการส่งออก จะร่วมมือกับจีนในการแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบคุณภาพ โดยหากผลไม้ผ่านการตรวจสอบจากเซ็นทรัลแลปของไทยแล้ว ก็ไม่ต้องตรวจสอบที่หน่วยงานตรวจสอบและรับรองคุณภาพของจีน (CCIC) อีก , จะเร่งกระจายผลไม้ไปยังตลาด CLMMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซียและเวียดนาม) , จัดเทศกาลส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้ไทย เช่น ที่หนานหนิงในเดือนเม.ย.2563 , จัดการเจรจาจับคู่ธุรกิจซื้อขายผลไม้ และจัดฟู้ดเฟสติวัล เพื่อกระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทย รวมทั้งจะเร่งแก้ไขปัญหากรณีที่อินโดนีเซียยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับผลไม้ไทย

      ขณะเดียวกัน จะช่วยเหลือสภาพคล่องให้กับผู้ส่งออก โดยชดเชยดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 6 เดือน ส่วนสหกรณ์การเกษตรที่รวบรวมผลไม้ ชดเชยดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 10 เดือน มีวงเงินทั้งหมด 1,000 ล้านบาท รวมถึงการช่วยเหลือตลาดกลางที่เข้ามาช่วยกระจายผลไม้

      ส่วนล้งรับซื้อผลไม้ หากมีการกดราคารับซื้อ จะใช้กฎหมายเรื่องการแข่งขันทางการค้าเข้ามาดำเนินการ กำหนดให้มีการติดป้ายแสดงราคารับซื้อ และผลักดันให้มีการทำสัญญามาตรฐาน และต้องปฏิบัติตามทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเคร่งครัด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

      ทางด้านการจัดระบบโลจิสติกส์ ขอความร่วมมือให้การบินไทยเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของคาร์โก้ เพื่อให้การส่งออกผ่านเครื่องบินไปยังต่างประเทศสะดวกคล่องตัวและเพิ่มพื้นที่ในการส่งออกผลไม้มากขึ้น ส่วนระบบคมนาคมทางบกเรื่องรถบรรทุก 10 ล้อ สมาคมที่เกี่ยวข้องแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการที่จะดำเนินการกระจายสินค้า

       พร้อมกันนี้ ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบจากสินค้าการเกษตรที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือห้องเรียนได้ที่ www.nabc.go.th

 

จุรินทร์ นำขับเคลื่อน 9 มาตรการ ช่วยผลไม้ สู้ภัย Covid-19 จับมือทุกภาคส่วนเดินหน้าเชิงรุกเศรษฐกิจในสถานการณ์วิกฤติ

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุม ‘การขับเคลื่อนมาตรการช่วยผลไม้ไทย สู้ภัย COVID-19’ ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

      นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการร่วมมือร่วมใจกันทั้งในส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนในทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และภาคเอกชนจากระบบการค้าส่ง ค้าปลีก แพลตฟอร์ม สายการบิน สมาคมโลจิสติกส์ ธ.ก.ส. และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งล้งและเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ ตัวเลขในภาพรวมในฤดูการผลิตที่จะถึงนี้มีการคาดการณ์ว่าผักผลไม้จะมีผลผลิตรวมทุกชนิดประมาณ 3,000,000 ตันซึ่งคาดว่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากปีก่อน และจะเริ่มออกมากตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป เพราะฉะนั้น การช่วยกันกำหนดมาตรการ เพื่อช่วยเรื่องราคาและระบายผลไม้ออกสู่ตลาดจึงเกิดขึ้น โดยมีการลงนาม MOU ร่วมกันของหน่วยงานต่างๆกับ 40 องค์กร ที่มาร่วมกัน

      มาตรการที่หนึ่ง การเข้าไปรับรองสวนผลไม้ GAP เพื่อให้เกษตรกรนั้นสามารถที่จะขายผลไม้ เพื่อนำไปสู่การส่งออกขายในตลาดในประเทศได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงเกษตรโดยกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ไปตรวจสวนและให้การรับรอง ท่านเฉลิมชัยอนุมัติเงินเพิ่มอีกสามล้านบาทเพื่อเร่งการดำเนินการแล้ว และการเก็บเกี่ยวผลไม้ มีการให้เยาวชนเข้าไปช่วยเสริมในเรื่องของแรงงาน

 

มาตรการที่สอง ตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ที่จันทบุรี

       มาตรการที่สาม ระบบการกระจายผลไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับในประเทศโดยในระบบการกระจายประกอบด้วยระบบการค่าส่ง สมาคมตลาดกลางซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 20 ตลาดทั่วทั้งประเทศ โดยมีตลาดไทเป็นตลาดใหญ่ที่สุด โดยจะช่วยดูดซับผลผลิตรวมของผลไม้ประมาณร้อยละ 60 ถึง 70 และมีโมเดิร์นเทรดต่างๆ และตลาดหลักทั่วประเทศ จะรับให้ความร่วมมือไปกระจายสู่ผู้บริโภคโดยตรง สำหรับสายการบินมีสายการบินทั้งหมด 6 สายการบิน แอร์เอเชีย ไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ นกแอร์ ไลออนแอร์ และการบินไทย ที่จะให้บริการผู้โดยสารสามารถหิ้วผลไม้ขึ้นเครื่องน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม โดยไม่คิดเงินและจะมีกล่องของกรมการค้าภายในให้บริการอยู่ที่สายการบินทุกสนามบิน

       มาตรการที่สี่ การกระจายผลไม้ด้วยระบบออนไลน์ซึ่งมีแพลตฟอร์มต่างๆ ให้ความร่วมมือ เช่น ไทย Post Mart ของไปรษณีย์ไทย ให้บริการในการรับออเดอร์ซื้อผลไม้ และไปรษณีย์ไทยจะช่วยกระจายผลไม้ส่งไปยังผู้บริโภคโดยตรง ลาซาด้า ช็อปปี้ จตุจักรมอลล์ ไทยเทรดดอทคอม เป็นต้น

     มาตรการที่ห้า ในเรื่องการส่งเสริมการขายในประเทศมีการทำโปรโมชั่น กรมการค้าภายในร่วมกับภาคเอกชน และศูนย์การค้าต่างๆ จะมีเทศกาลผลไม้ในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค และเรื่องใหญ่นอกจากระบบการกระจายผลไม้ คือเรื่องของการส่งออก หรือตลาดต่างประเทศ พบการตรวจสอบคุณภาพโดยเฉพาะไปยังตลาดจีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของเราในขณะนี้ต้องผ่านล้ง ซึ่งจะมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ จากนี้ไปเตรียมการเรื่องความร่วมมือระหว่างเซ็นทรัล แล็บของไทย และ CCIT ของจีน ที่จะจับมือการลงนามร่วมกันว่า ถ้าผ่านระดับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ต้องตรวจซ้ำอีก จะช่วยให้คล่องตัวยิ่งขึ้น

    และการกระจายไปยังตลาดต่างประเทศนั้นจะมีการจัดคาราวานผลไม้ไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMMV ที่รวมมาเลเซียด้วยและการจัดโรดโชว์ เพื่อส่งเสริมการขายเช่น เทศกาลผลไม้ในต่างประเทศ และการจับคู่ธุรกิจให้ผู้ส่งออกของเราพบผู้นำเข้าจากต่างประเทศ มีการจัด food festival และกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคเพื่อส่งเสริมการขายไปยังต่างประเทศ และตลาดอินโดนีเซียที่ประสบปัญหาการส่งออกในขณะนี้ วันพรุ่งนี้อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบกับทูตของประเทศอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อให้ไทยสามารถส่งออกไปอินโดนีเซียได้ ขณะนี้ยังไม่อำนวยความสะดวกให้เราสามารถส่งไปขายที่อินโดนีเซียได้

     มาตรการที่หก เรื่องสภาพคล่องมี 3 มาตรการใหญ่ 1.ในการช่วยผู้ส่งออกชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นเวลาหกเดือน เพื่อช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมให้มีการส่งออกมากยิ่งขึ้น 2.สหกรณ์การเกษตร ที่รวบรวมผลไม้ในประเทศ จะช่วยดอกเบี้ยร้อยละ 3 เป็นเวลา 10 เดือน มีวงเงินทั้งหมด 1,000 ล้านบาท มีงบของกองทุนรวมเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สหกรณ์ช่วยรวบรวมผลไม้ไปกระจายได้ดียิ่งขึ้น 3.สมาคมตลาดกลาง สมาคมผู้ค้าส่งมีการบริการให้กรมการค้าภายใน ช่วยสนับสนุนในการส่งออกต่อไปให้คล่องตัวยิ่งขึ้นในเรื่องของการช่วยกระจายผลไม้ไปยังตลาดในประเทศ

    มาตรการที่เจ็ด เรื่องของล้งที่รับซื้อผลไม้ ประเด็นปัญหาใหญ่คือการกดราคารับซื้อ หากมีกรณี เช่นนี้เกิดขึ้น จะใช้กฎหมายเรื่องการแข่งขันทางการค้าเข้ามาดำเนินการและการรับซื้อผลไม้ ล้งจะต้องติดป้ายแสดงราคาว่าชัดเจนเป็นธรรม การทำเกษตรพันธสัญญาต้องเป็นไปตามมาตรฐานและเคร่งครัดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายระหว่างเกษตรกรและล้ง เพื่อให้กลไกตลาดของระบบผลไม้เดินทางไปได้ด้วยความเป็นธรรม

      มาตรการที่แปด ในเรื่องของระบบโลจิสติกส์ ขอความร่วมมือให้การบินไทยเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของคาร์โก้ เพื่อให้การส่งออกผ่านระบบเครื่องบินไปยังต่างประเทศสะดวกคล่องตัวและเพิ่มพื้นที่ในการส่งออกผลไม้มากขึ้น และระบบคมนาคมทางบกเรื่องรถบรรทุก 10 ล้อ สมาคมแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการที่จะดำเนินการกระจายสินค้าและเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบค้าส่งที่เผื่อมาจากศูนย์ไปยังตลาดใหญ่ 20 แห่ง

     และมาตรการสุดท้าย มาตรการที่เก้า กระทรวงเกษตรจะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบจากสินค้าการเกษตรที่เกิดจาก COVID-19 โดยผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือห้องเรียนได้ที่ www.nabc.go.th ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!