WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Kจุรินทร์9

จุรินทร์ สั่งตรวจสอบคนใกล้ชิดรัฐมนตรีเอี่ยวขายหน้ากาก ลั่นผิดจริงฟันไม่เลี้ยง

     จุรินทร์ สั่งการกรมการค้าภายในจัดการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาด กรณีมีข่าวคนใกล้ชิดรัฐมนตรีเอี่ยวขายหน้ากากอนามัยราคาแพง ด้านอธิบดีกรมการค้าภายในเผยได้ส่งทีมงานไปตรวจสอบแล้ว ยันสินค้าไม่มีหลุดจากพาณิชย์ ระบุนับจาก 6 มี.ค. สินค้าจากโรงงานทุกชิ้นติดตามได้หมดไปที่ไหนบ้าง ปลัดพาณิชย์เผยผลจับกุมล่าสุด รวบแล้ว 102 ราย ย้ำอีกครั้ง ตั้งแต่ 9 มี.ค.นี้ ใครขายเกินราคาสูงสุด 2.50 บาทจับไม่ยั้ง

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวคนใกล้ชิดรัฐมนตรีเกี่ยวข้องกับการกักตุนหน้ากากอนามัย ว่า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเข้าไปตรวจสอบแล้ว เบื้องต้นยังไม่ทราบว่ามีการกักตุนที่ไหนอย่างไร แต่ถ้ามีเบาะแสที่ชัดเจนสามารถแจ้งมายังกรมการค้าภายในได้ เพราะที่ผ่านมา มีการร้องเรียนเข้ามามาก โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบและจับกุมเกือบทุกวัน และยืนยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมายไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

       นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้ส่งทีมงานเข้าไปตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้วตั้งแต่เช้า หลังจากที่มีกระแสข่าวเกิดขึ้น แต่ก็อยากให้สังคมพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ เพราะเท่าที่ตรวจสอบบุคคลที่ตกเป็นข่าว ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์ และยืนยันได้ว่าสินค้าที่ส่งออกจากโรงงาน ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.2563 เป็นต้นมา ไม่มีหลุดรอด มีรายชื่อหมดส่งไปไหน หลังจากที่ได้เข้าไปบริหารจัดการหน้ากากอนามัยที่ผลิตได้วันละ 1.2 ล้านชิ้น แต่ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์จะรู้ ในส่วนที่ปันส่วนออกมาประมาณ 5 แสนชิ้นต่อวันเท่านั้น

       ส่วนกรณีที่มีคลิประบุว่ามีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะโรงงานในไทย 11 โรงงาน มีกำลังการผลิตรวมกันวันละ 1.2 ล้านชิ้น หรือเดือนละ 36 ล้านชิ้น เท่ากับว่าการมีสต๊อกสินค้ามากขนาดนั้น บางทีอาจใช้เวลาเป็นปี

   นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงผลการจับกุมผู้ค้าหน้ากากอนามัยที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ว่า กระทรวงฯ ได้จัดส่งสายตรวจออกตรวจสอบทุกวันนับตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.2563 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันได้มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว 102 ราย แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 74 ราย ต่างจังหวัด 28 ราย ในความผิด 2 ข้อหา คือ มาตรา 28 ไม่ปิดป้ายแสดงราคา ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และความผิดตามมาตรา 29 และ 30 คือ การค้ากำไรเกินควรและกักตุนสินค้า มีโทษหนักจำคุก 7 ปี ปรับสูงสุด 1.4 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

         ส่วนการจับกุมผู้ค้าออนไลน์ ทั้ง facebook , Line และ Instagram กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันได้จับกุมไปทั้งหมด 14 ราย

       นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.2563 เป็นต้นไป กระทรวงฯ จะได้ดำเนินการตรวจสอบและจับกุมผู้จำหน่ายหน้ากากอนามัยที่จำหน่ายเกินราคาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ชิ้นละ 2.50 บาท ซึ่งหากพบผู้กระทำความผิด จะถูกดำเนินคดีในข้อหาจำหน่ายหน้ากากอนามัยเกินราคาที่กฎหมายกำหนด เป็นความผิดตามมาตรา 25 มีอัตราโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับ 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากพบว่าผู้กระทำผิดขายแพงเกินจริงและมีการกักตุนสินค้าด้วย จะเป็นความผิดทั้ง 2 กระทง โดยจะได้รับโทษหนักกว่า คือ จำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ทั้งนี้ ผู้พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าว โปรดแจ้งข้อมูลและหลักฐานมายังกรมการค้าภายใน โดยใช้สายด่วน 1569 หรือสื่อโซเชียลของกรมการค้าภายในเพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบและจับกุมต่อไป

 

จุรินทร์ ตอบทุกคำถาม-หน้ากากอนามัย โปร่งใสทุกขั้นตอน พร้อมกำชับตามจับคนกักตุน โก่งราคา ไม่เลือกปฏิบัติ

    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหน้ากากอนามัย ประการที่หนึ่ง วันนี้เป็นวันที่ประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ทั้ง 3 ฉบับที่ได้ลงนามไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้วันนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งหมดแล้ว รายละเอียดคือ ประกาศฉบับที่ 9 นั้นมีผลให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้แทนจำหน่ายหน้ากากอนามัยจะต้องแจ้งข้อมูลต้นทุนราคาซื้อ ราคาจำหน่าย ปริมาณการผลิต ปริมาณการส่งออก ปริมาณการคงเหลือ รวมทั้งราคาจำหน่ายที่ต้องสอดคล้องกับต้นทุนทั้งหมดทุกวันมาที่เลขานุการคือ อธิบดีกรมการค้าภายใน

     ประการที่สอง เรื่องการควบคุมราคาหรือการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกในตลาดหน้ากากอนามัยชนิดที่ใช้เพื่อการแพทย์ที่เรียกว่า Surgical mask ที่เป็นหน้ากากอนามัยสีเขียว คือหน้ากากที่กำหนดราคาจำหน่ายปลีกไว้ชัดเจนซึ่งในประเทศไทยสามารถผลิตได้แค่ 11 โรงงานเท่านั้น และมีกำลังการผลิตเดือนละ 36,000,000 ชิ้นเฉลี่ยวันละ 1,200,000 ชิ้น และในบรรดาหน้ากากทั้งหมดที่เป็นหน้ากากทางการแพทย์สีเขียว เมื่อไปถึงร้านจำหน่ายปลีกจะขายปลีกได้ไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาท ใครขายเกิน 2.50 บาท ถือว่าขายเกินราคา ถ้าจะจับกุมดำเนินคดี จะมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งอาจโดนข้อหาร่วมอีกข้อหาหนึ่งถ้าขายเกินราคา

     คือ ค้ากำไรเกินควร จะโดนอีกข้อหาหนึ่งโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หน้ากากอีกประเภทหนึ่งคือหน้ากากทางเลือกซึ่งมีความหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ต้นทุนนำเข้าหรือต้นทุนการผลิตในประเทศไปจนถึงผู้บริโภคจะบวกอีกไม่เกินร้อยละ 60 รวม VAT แล้ว เช่น ถ้านำเข้า 1 บาท ขายได้ไม่เกิน 1.60 บาท ถ้าเกินจากนี้ถือว่าขายเกินราคากำหนดและอาจพ่วงข้อหาค้ากำไรเกินควรนี่คือประกาศฉบับที่ 10 และประกาศฉบับที่ 11 สำหรับเจลล้างมือต้องไม่ขายสูงกว่าราคาที่เคยแจ้งไว้กับกรมการค้าภายใน

    สำหรับ กรณีการจัดสรรหน้ากากอนามัย 1.2 ล้านชิ้นต่อวันไปยังภาคส่วนต่างๆ นั้น ได้มีศูนย์กระจายหน้ากากเกิดขึ้นโดยบริหารจัดการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีรองเลขาธิการ อย. เป็นผู้แทน และอธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เพื่อช่วยกันจัดสรรว่าจะไปที่ใดบ้างได้มีข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้นว่า 700,000 ชิ้น นั้นกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้รับผิดชอบ ระบายไปยังสถานพยาบาลทุกชนิดทุกประเภท ทุกหน่วย ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุดจำนวน 700,000 ชิ้น และกรมการค้าภายในจะบริหารจัดการ 500,000 ชิ้นที่เหลือ ไปบริหารจัดการกระจายไปยังภาคส่วนต่างๆ เช่น ร้านขายยา การบินไทย ร้านธงฟ้า และร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าส่งที่อยู่ในระบบตลาดทั้งหมดจะมีการบริหารจัดการรายวัน หากไม่เพียงพอต้องปรับตัวเลขทุกวันซึ่งประชุมร่วมกัน ถ้าเป็นหน้ากากสีเขียวหน้ากากที่ใช้เพื่อการแพทย์ 1,200,000 ชิ้นต่อวันนั้น ขายได้ไม่เกิน 2.50 บาท ถ้าเกินถือว่าขายเกินราคา

      ถ้าแพงมากกว่านั้นถือว่าค้ากำไรเกินควร โดนสองข้อหา และถ้าไม่จำหน่ายเอาไปเก็บไว้ในปริมาณที่เข้าค่ายการกักตุนเพราะดำเนินคดีข้อหากักตุนด้วย เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายในและพาณิชย์จังหวัดเข้าไปดู ถ้าเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ศูนย์กระจายหน้ากากได้บริหารจัดการแบ่งสัดส่วนให้ไปแล้วด้วยความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข โดยรองเลขาธิการ อย. ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะร่วมกับองค์การเภสัชกรรมรับไป 700,000 ชิ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ จัดอยู่ในเครือข่ายของปริมาณที่จัดสรรอยู่ใน 700,000 ชิ้น นั้นอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณสุขต้องไปทำความเข้าใจและบริหารจัดการกันเองภายใน ถ้ารวมทั้งระบบแล้ว 700,000 ชิ้นไม่พอให้มาประชุมร่วมกันในส่วนบริหารจัดการ ซึ่งมีตัวแทนกระทรวงอยู่แล้วประธานร่วมกับกรมการค้าภายใน อาจต้องเพิ่มเป็น 750,000 - 800,000 ชิ้น เป็นต้น โดยแบ่งจากสัดส่วนของประชาชนทั่วประเทศเพราะตัวเลขรวมคือ 1,200,000 ชิ้นต่อวัน

       โดยนโยบายเราให้ความสำคัญกับสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ก่อนที่จะใช้หน้ากาก Surgical mask หรือหน้ากากเขียวซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดและค่อยเป็นประชาชนทั่วไปสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุขให้คำแนะนำแล้วว่าสามารถใช้หน้ากากทางเลือกโดยเฉพาะหน้ากากผ้าได้ต้องเร่งรัดสนับสนุนให้บุคลากรฝ่ายต่างๆ ภาคเอกชนในการปกครองท้องถิ่น ซึ่งสนับสนุนและประกาศสามฉบับไม่ได้ควบคุมหน้ากากทางเลือก สามารถใช้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ได้ตามกระทรวงสาธารณสุขให้คำรับรองไว้ ถือเป็นหน้ากากทางเลือกนอกเหนือจาก 1,200,000 ชิ้นต่อวัน ที่เป็นหน้ากากทางการแพทย์ ซึ่งสามารถซักได้เก็บไว้ใช้หลายครั้งได้ และศูนย์กระจายหน้ากากให้ดูเผื่อผีน้อยด้วย เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!