WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaBรับมือโควิด 19

จุรินทร์ ถกผู้ประกอบการ รับมือโควิด-19 ระบาด ผู้ผลิตให้คำมั่นสินค้ามีพอ คนไทยไม่ต้องกังวล

    จุรินทร์ นัดถกผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคช่วงวันหยุด เตรียมพร้อมรับมือความต้องการพุ่งช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด ยันกำลังการผลิตยังอยู่ที่ 70% เพิ่มได้อีก ด้านเอกชนผู้ผลิตสินค้าพร้อมใจให้คำมั่นประชาชน สินค้ามีเพียงพอ ไม่ต้องกังวล ไม่ว่าจะเป็นข้าวถุง สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสำเร็จรูป สินค้าฆ่าเชื้อ ทิชชู่ ย้ำไม่มีวิกฤตเหมือนตอนน้ำท่วมใหญ่แน่นอน เหตุยังขนส่งได้ กำลังการผลิตเหลือเฟือ ระบุสินค้าวางเต็มชั้นทุกที่  

    นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อทำงานเชิงรุกและรับมือในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า ได้เชิญผู้ประกอบการจำนวน 43 ราย มาหารือในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาโควิด-19 จึงต้องมาติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคว่าเป็นอย่างไร เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนที่มีเพิ่มขึ้น และรองรับมาตรการของรัฐบาลที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งให้กับประชาชนในกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับ ซึ่งอาจทำให้มีความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย 

      ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้ขอให้แต่ละกลุ่มผู้ผลิตช่วยรายงานสถานการณ์ ทำให้เห็นภาพรวมว่าอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น และได้รับแจ้งว่ากำลังการผลิต ณ ปัจจุบันยังอยู่ประมาณ 70% ยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 30% โดยประมาณ ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร และจากนี้ จะมีการติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด และจะประสานงานกับผู้ผลิต ผู้ค้า สมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา โดยกรมการค้าภายในจะเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานและคลี่คลายสถานการณ์

       สำหรับ ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ มีจำนวน 43 ราย ประกอบด้วยสมาคมจำนวน 9 สมาคม (สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย สมาคม ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุง สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิตไก่ เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน และสมาคมผู้วิจัยและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์) ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 22 ราย (หมวดของใช้ประจำวัน 5 ราย หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม 14 ราย ยาและเวชภัณฑ์ เจลล้างมือ 9 ราย) และห้างสรรพสินค้า จำนวน 6 ราย เป็นต้น

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ดร.ระพีพัชญ์ ธนถาวรกิตติ์ นายกผู้ประกอบการข้าวถุงไทย รายงานว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าข้าวสารถุงจะไม่ขาดตลาด เพราะผู้ผลิตสามารถผลิตป้อนความต้องการได้ ขณะที่นางณัฏฐินี เนตรอำไพ ผู้จัดการอาวุโสส่วนองค์กรและสื่อมวลชนสัมพันธ์บริษัท ยูนิลิเวอร์ ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ายูนิลิเวอร์อยู่คู่กับสังคมไทยมานานและฝ่าฟันวิกฤติมารวมกันและกำลังจะร่วมฝ่าฟันวิกฤติโควิด-19 ร่วมกับประเทศไทย พร้อมระบุว่าในส่วนของอาหารสำเร็จรูป รวมทั้งสบู่ น้ำยาซักผ้า หรือสินค้าที่จำเป็นสำหรับการฆ่าเชื้อ เช่น เจลล้างมือ ยูนิลิเวอร์ได้เตรียมพร้อมในการขยายการผลิตเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนแล้ว

     ทางด้านนางพิชชาภรณ์ อาชชวงศ์ทิพย์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูป แจ้งว่า ปัจจุบันยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่อีก 30% ประชาชนจึงไม่ต้องเป็นห่วงถึงปัญหาการขาดแคลนอาหาร ส่วน ดร.สัมฤทธิ์ ยิบยินธรรม บริษัท ริเวอร์ โปร พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด ผู้ผลิตกระดาษทิชชู ได้รายงานว่า ปริมาณความสามารถในการผลิตกระดาษทิชชูของไทย มีเพียงพอเหลือเฟือ ดังนั้น การขาดแคลนจึงยังไม่น่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่เราอาจจะยังเห็นว่าสินค้ามีการพร่องไปจากชั้นวางของ เนื่องจากทิชชู่ ใช้เนื้อที่ในการวางเยอะ หากทางห้างเติมสินค้าไม่ทัน อาจจะดูเหมือนของขาด แต่ในความเป็นจริงยังมีปริมาณเหลือเฟือ

    ส่วนดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมค้าปลีกไทย รายงานว่า ร้านค้าปลีกไทย ยืนยันว่า สินค้ายังไม่ขาดตอน และยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก ทำให้การขาดแคลนที่เหมือนกับการขาดแคลนตอนน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ยังไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากไม่ได้ประสบกับปัญหาการขนส่ง จึงเชื่อว่าสินค้าสามารถถูกขนส่งมายังมือพี่น้องประชาชนได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งขณะนี้สินค้าก็ยังมีพร้อม โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคตามบ้าน ขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง

      นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย ยืนยันว่า สินค้าไม่ขาดแคลน และมีสินค้าเต็มอยู่ทุกที่

 

จุรินทร์ รุก ประชุมรับมือดูแลสินค้าอุปโภคบริโภค ร่วมมือผู้ประกอบการทั้งระบบ รับมือ Covid-19

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อทำงานเชิงรุกและรับมือ ในสถานการณ์ Covid-19 โดยใช้เวลาประชุมตั้งแต่เวลา 14.00 น. – 17.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 43 ราย ประกอบด้วย สมาคม จำนวน 9 สมาคม (สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย สมาคม ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุง สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิตไก่ เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยา แผนปัจจุบัน และสมาคมผู้วิจัยและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์) ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 22 ราย (หมวดของใช้ประจำวัน 5 ราย หมวดอาหารและเครื่องดื่ม/ผลิตภัณฑ์นม 14 ราย ยาและเวชภัณฑ์/เจลล้างมือ 9 ราย) ห้างสรรพสินค้า จำนวน 6 ราย

       ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า วันนี้มี 2 เรื่องด้วยกันเรื่องแรกคือเรื่องที่ผมได้ขอให้ทางกรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการมาหารือเพื่อให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคในสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญกับปัญหา COVID-19 ในขณะนี้ เพื่อเตรียมการรองรับมาตรการอื่นๆ ของรัฐบาลที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งจากพี่น้องประชาชนในกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเติมเม็ดเงินเข้าไปซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่จะถึงนี้ ซึ่งอาจจะทำให้ความต้องการสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น

     การหารือในวันนี้มีการหารือ ข้าวถุง เจลล้างมือ อาหารสำเร็จรูปและสินค้าอื่นๆ เช่น สบู่เหลว กระดาษทิชชู เป็นต้น เพื่อให้แต่ละกลุ่มผู้ผลิตช่วยรายงานสถานการณ์ ซึ่งทำให้ได้เห็นภาพรวมว่า สำหรับอาหารสำเร็จรูปนั้นมีแนวโน้มยอดขายออนไลน์มีเพิ่มขึ้น และได้รับแจ้งว่ากำลังการผลิต ณ ปัจจุบันนี้ ยังอยู่ประมาณร้อยละ 70 ซึ่งยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกร้อยละ 30 โดยประมาณ

       ด้าน ดร.ระพีพัชญ์ ธนถาวรกิตติ์ นายกผู้ประกอบการข้าวถุงไทย รายงานว่า ขอยืนยันว่าในภาวะ COVID-19 ที่เข้ามาในบ้านเราเราสามารถผลิตสินค้าป้อนให้กับตลาดได้ ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจได้ว่าข้าวสารจะไม่ขาด

      นางณัฏฐินี เนตรอำไพ ผู้จัดการอาวุโสส่วนองค์กรและสื่อมวลชนสัมพันธ์บริษัทยูนิลิเวอร์ รายงานว่า อยากให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ายูนิลิเวอร์อยู่คู่กับสังคมไทยมานานและฝ่าฟันวิกฤติมารวมกันและกำลังจะร่วมฝ่าฟันวิกฤติตกาล COVID-19 ร่วมกับประเทศไทย ในส่วนอาหารสำเร็จรูป รวมทั้งของสบู่น้ำยาซักผ้าหรือสินค้าที่จำเป็นสำหรับการฆ่าเชื้อทางยูนิลิเวอร์ได้เตรียมพร้อมในการขยายการผลิตเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนเรียบร้อยแล้ว

     นางพิชชาภรณ์ อาชชวงศ์ทิพย์ สมาคมผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูป แจ้งว่า ปัจจุบันยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่อีกร้อยละ 30 ประชาชนจึงไม่ต้องเป็นห่วงถึงปัญหาการขาดแคลนอาหาร

     ดร.สัมฤทธิ์ ยิบยินธรรม บริษัท ริเวอร์ โปร พัลพ์แอนด์เปเปอร์ ผู้ผลิตกระดาษทิชชู รายงานว่าปริมาณความสามารถในการผลิตกระดาษทิชชูของประเทศไทยยังมีเพียงพอเหลือเฟือ ดังนั้นการขาดแคลนจึงยังไม่น่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่เราอาจจะยังเห็นว่าสินค้ามีการพร่องไปจากชั้นวางของ เนื่องจากสินค้าทิชชู่ใช้เนื้อที่ในการวางเยอะหากทางห้างเติมสินค้าไม่ทันอาจจะดูเหมือนของขาดแต่ในความเป็นจริงยังมีปริมาณเหลือเฟือ

     ทั้งนี้ ผู้แทนจาก ยูนิลีเวอร์ ยืนยันว่า พร้อมในการออกผลิตภัณฑ์เจลล้างมือขนาดเล็กเพื่อประชาชนสามารถพกพานำไปใช้ได้ และพร้อมในการหาบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบมาผลิตเพิ่มเติม จึงขอให้ประชาชนมั่นใจในส่วนของสบู่เหลวยูนิลิเวอร์ได้ขยายกำลังการผลิตเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีอยู่หลายแบนรวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสารต่อต้านแบคทีเรียโดยมีการขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว

      ดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมค้าปลีกไทย รายงานว่า ร้านค้าปีกไทยยืนยันว่าสินค้ายังไม่ขาดตอน และยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก ทำให้การขาดแคลนที่เหมือนกับการขาดแคลนตอนน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ยังไม่น่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากเราไม่ได้ประสบกับปัญหาการขนส่ง จึงเชื่อว่าสินค้าสามารถถูกขนส่งมายังมือพี่น้องประชาชนได้อย่างไม่มีปัญหาซึ่ง ขณะนี้สินค้าก็ยังมีพร้อมโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคตามบ้าน ขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง

      นายสมชาย พรรัตนเจริญ ผู้แทนจากสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย ยืนยันว่าสินค้าไม่ขาดแคลน และมีสินค้าเต็มอยู่ทุกที่ จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ขอเรียนให้ทราบว่ากระทรวงจะติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด และจะประสานงานกับผู้ผลิต ผู้ค้าสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา โดยกรมการค้าภายในจะเป็นหน่วยงานหลักในการคลี่คลายสถานการณ์และประสานงาน ส่วนเรื่องที่สองคือเรื่องหน้ากากอนามัย ขอเรียนให้ทราบว่า ขณะนี้สถานการณ์การผลิตหน้ากากอนามัยที่มีสีเขียวที่เราใช้กันอยู่ เราสามารถผลิตได้เดือนละ 36,000,000 ชิ้นต่อเดือน อย่างที่เคยเรียนให้ทราบ โดยมีผู้ผลิตรวมกัน 11 โรงงาน หากมาทอนเป็นวันจะเป็นวันละ 1.2 ล้านชิ้น ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม เป็นต้นมาศูนย์บริหารจัดการหน้ากากอนามัยโดยมีผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข

     คือ นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ ได้มาร่วมบริหารจัดการกับอธิบดีกรมการค้าภายใน นายวิชัย โภชนกิจ โดยมีมติให้จัดสรรหน้ากากอนามัยให้สถานพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ป่วยเป็นลำดับต้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ขอย้ำว่าสำหรับสถานพยาบาลทั่วประเทศทุกประเภทจะได้รับการจัดสรรวันละ 700,000 ชิ้นโดยให้รองเลขาธิการ อย. นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เป็นผู้บริหารจัดการหลักในการจัดสรรหน้ากากอนามัยไปสู่สถานพยาบาลทั่วประเทศและในส่วนอีก 500,000 ชิ้น อธิบดีกรมการค้าภายในจะเป็นผู้บริหารจัดการในการจัดสรรและกระจายผ่านช่องทางต่างๆ ไปสู่ประชาชนกลุ่มอื่นๆ

      โดยตัวเลขในการกระจาย 700,000 ชิ้นได้ถูกกระจายไปองค์การเภสัชกรรม 430,000 ชิ้นสถานพยาบาลเอกชน 140,000 ชิ้น โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น 60,000 ชิ้น และโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 70,000 ชิ้น รวมแล้วเป็น 700,000 ชิ้น ซึ่งเมื่อวานทราบว่าผู้ผลิตหน้ากากอนามัยขนาดใหญ่ได้ส่งโรงพยาบาลศิริราช 60,000 ชิ้น และโรงพยาบาลเอกชนหลายโรง เช่นโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น โรงพยาบาลวิภาราม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ โรงพยาบาลพระรามเก้า สำนักอนามัยกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นต้น

      สำหรับ ตัวเลขในวันที่ 7 มีนาคม 2563 ศูนย์กระจายหน้ากากได้ตกลงว่าจะได้กระจายตัวเลขหน้ากากที่ใกล้เคียงกับของเดิมคือสำหรับองค์การเภสัช 430,000 ชิ้น โรงพยาบาลเอกชนรวมทั้งคลินิกเอกชนด้วย 140,000 ชิ้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 60,000 ชิ้น โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 55000 ชิ้น เช่น โรงพยาบาลวิภาราม โรงพยาบาลมหาชัยแม่กลอง โรงพยาบาลเพชรรัตน์ เพชรบุรี โรงพยาบาลซานเปาโล หัวหิน และโรงพยาบาลศิริราชได้รับอีก 30,000 ชิ้น โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นต้น และจะทยอยจัดสรรอีกเป็นลำดับ โดยจะมีการประชุมศูนย์กระจายหน้ากากทุกวันซึ่งจากวันนี้

      ท่านอธิบดีกรมการค้าภายในและรองเลขาธิการ อย. รวมทั้งสมาคมโรงพยาบาลเอกชนและอื่นๆ รวมทั้งองค์การเภสัชกรรมก็จะประชุมร่วมกัน นอกจากนี้ ยังขอเรียนให้ทราบอีกประเด็นหนึ่งว่า ขณะนี้ได้มีประกาศคณะกรรมาธิการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการสามฉบับ ซึ่งผมเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานสำนักกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการสามฉบับที่ว่านั้นประกอบด้วย ฉบับที่หนึ่ง ได้กำหนดเนื้อหาให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกหรือผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหน้ากากอนามัยจะต้องแจ้งข้อมูลมายังกรมการค้าภายในซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการทุกวัน สำหรับประกาศฉบับที่สอง มีเนื้อหาหลักในการให้จำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาท และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคมเป็นต้นไป ยกเว้นหน้ากากอนามัยที่ผลิตจาก 11 โรงงานที่ว่าที่อาจมีต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน เนื่องจากก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ได้นำมาบริหารจัดการแค่ครึ่งเดียวคือ 600,000 ชิ้น ที่เหลืออีก 600,000 ชิ้น โรงงานนำไปจัดจำหน่ายเอง ซึ่งจะให้เวลาถึงวันอาทิตย์นี้

      และตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม เป็นต้นไป จะต้องจำหน่ายในราคา 2.50 บาททั่วประเทศ สำหรับหน้ากากทางเลือกหนือหน้ากากอนามัยนำเข้า ได้กำหนดราคาขายสูงสุดจะต้องไม่เกินไปกว่าต้นทุนนำเข้าหรือต้นทุนการผลิตบวกกับราคาที่ผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตขายให้กับผู้ค้าส่งได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของต้นทุนการผลิตหรือนำเข้าและเมื่อถึงมือผู้ค้าส่งแล้วผู้ค้าส่งจะขายไปยังผู้ค้าปลีกก็จะบวกไปได้ไม่เกินอีกร้อยละ 10 เช่นเดียวกัน ซึ่งร้อยละ 10 ที่ว่ารวมถึงค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าตอบแทนและอื่นๆแล้ว สำหรับ ผู้ค้าปลีกจะสามารถบวกเพิ่มไปอีกไม่เกินร้อยละ 23 ซึ่งได้รวมค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าตอบแทนและต้นทุนอื่นๆแล้ว ซึ่งเมื่อรวมทุกขั้นตอนทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ยกตัวอย่างเช่นเมื่อต้นทุน 1 บาทก็จะนำไปขายถึงมือผู้บริโภคได้ไม่เกิน 1.60 บาท

       และประกาศฉบับที่สาม คือ ประกาศเรื่องเจลล้างมือ ซึ่งขณะนี้เป็นสินค้าควบคุมแล้วซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ก็คือการควบคุมราคาห้ามขายสูงกว่าราคาที่ได้แจ้งไว้ในปัจจุบันที่ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้แล้วและหากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องได้รับอนุญาตก่อน ซึ่งนโยบายปัจจุบันคือไม่อนุญาตเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ไม่รวมหน้ากากทางเลือกที่เรียกว่าหน้ากากผ้าซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปผลิตใช้ได้เองและรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ 225 ล้านบาทแก่กระทรวงมหาดไทยในการผลิตหน้ากากผ้า 50,000,000 ชิ้น ที่จะไม่รวมอยู่ในประกาศสามฉบับนี้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ถูกผลิตวันละ 1,200,000 ชิ้นได้นำไปใช้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงที่สุดก่อน สำหรับประชาชนทั่วไปขอให้ใช้เท่าที่จำเป็นและให้ใช้หน้ากากผ้าซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองแล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้

     หากมีผู้ใดขายเกินราคาที่กำหนดไว้จะถูกข้อหาขายเกินราคามีโทษจำคุกห้าปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากค้าในราคาสูงเกินควรจะถูกข้อหาจำคุกเจ็ดปีปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับแล้วแต่กรณี ซึ่งจะมีการดำเนินคดีโดยเคร่งครัดต่อไปโดยมีผลการดำเนินคดีจนกระทั่งถึงเมื่อวาน มีการดำเนินคดีไปแล้วจำนวน 89 ราย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!