WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa พิมพ์ชนก วอนขอพร

ภัยแล้งทำสินค้าหมวดอาหารสดขยับขึ้น ดันเงินเฟ้อก.พ.63 เพิ่ม 0.74%

    พาณิชย์”เผยเงินเฟ้อเดือนก.พ.63 เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงเหลือ 0.74% เหตุราคาหมวดอาหารสดเพิ่มสูงขึ้นจากภัยแล้ง แต่ได้แรงฉุดจากน้ำมันลดมาช่วยดึง ยันไวรัสโควิด-19 ไม่มีผลกระทบต่อราคาสินค้า แต่ทำให้การจับจ่ายลดลง แนะประชาชนอย่ากักตุนอาหาร ไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นครัวโลก ไม่มีปัญหาขาดแคลนแน่นอน ส่วนเป้าทั้งปี ยังคงเดิม 0.4-1.2% แต่มีโอกาสต่ำกว่า 0.8% หลังได้รับผลกระทบจากไวรัสและท่องเที่ยวลด

       น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.พ.2563 เท่ากับ 102.70 ลดลง 0.08% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2563 ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับก.พ.2562 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง จากเดือนม.ค.ที่สูงขึ้น 1.05% โดยมีปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดอาหารสด เพราะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นหลัก ขณะที่กลุ่มพลังงานที่เคยเป็นตัวผลักดันเงินเฟ้อ ก็หดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ

     “เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในอัตราชะลอตัว และต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคชะลอตัวลง จากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนจับจ่ายลดลง และนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้มีการซื้อขายสินค้าลดลงตามไปด้วย ราคาส่วนใหญ่เลยทรงตัว และน้ำมันที่เดิมเคยมองว่าจะเป็นตัวผลักดันเงินเฟ้อ ก็ลดลงจากการท่องเที่ยวลด การผลิตลด ทำให้ไม่มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ดังนั้น เงินเฟ้อเดือนนี้ จึงมีแรงกดดันมาจากสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเป็นหลัก”

         ทั้งนี้ รายละเอียดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 0.74% มาจากการเพิ่มขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2.04% โดยข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่ม 7.77% เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ เพิ่ม 2.44% ไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่ม 0.95% ผักและผลไม้ เพิ่ม 3% เครื่องประกอบอาหาร เพิ่ม 2.56% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 2.31% อาหารบริโภคในบ้าน เพิ่ม 0.80% นอกบ้าน เพิ่ม 0.49% ส่วนหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.01% จากการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง 3.15% การสื่อสาร ลด 0.05% เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลด 0.01% แต่เคหสถาน เพิ่ม 0.22% การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่ม 0.38% การบันเทิง การอ่าน การศึกษา เพิ่ม 0.52%

        อย่างไรก็ตาม สำหรับสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย มีราคาสูงขึ้น ซึ่งต้องถือเป็นสินค้าพิเศษในตอนนี้ ส่วนแอลกอฮอล์ เจลล้างมือ ถุงมือยาง ราคาก็สูงขึ้น เพราะมีความต้องการเพิ่ม โดยเพิ่มขึ้น 2.74% , 5.42% และ1.81% ตามลำดับ แต่สินค้าไม่ขาดแคลน แค่ชะงักในช่วงที่ความต้องการสูง โดยขณะนี้ผู้ผลิตได้เร่งผลิตเข้ามาเต็มที่ ยกเว้นหน้ากากอนามัย เพราะใช้วัตถุดิบในประเทศ และยังได้รับแจ้งจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่ามีธุรกิจเหล่านี้มาจดตั้งบริษัทใหม่เพิ่มขึ้นด้วย

         ส่วนปัญหาการกักตุนอาหาร จนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นและกระทบต่อเงินเฟ้อ มองว่า ไม่มีความจำเป็นต้องกักตุน เพราะไทยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ไม่ใช่แค่เฉพาะของไทย แต่ยังเป็นครัวของโลก มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการแน่นอน และยิ่งช่วงนี้ นักท่องเที่ยวมาน้อย ก็ไม่มีการบริโภคเพิ่ม สินค้ายิ่งมีเพียงพอ

     น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า แนวโน้มราคาสินค้าในช่วงต่อไป สินค้าที่เกี่ยวกับภัยแล้งจะยังคงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะหมวดอาหารสด เช่น ข้าวถุง ราคายังมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวเหนียว ราคาเพิ่มสูงถึง 39% จากผลผลิตลดลง และหากไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย จะทำให้มีความต้องการซื้อข้าวจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้น หรือระบบขนส่งดีขึ้น ไทยก็จะยิ่งขายได้มากขึ้น ส่วนน้ำดื่ม ไม่มีปัญหาขาดแคลน แต่ราคาไม่ค่อยลง ขณะที่กลุ่มเนื้อสัตว์ อย่างสุกร ราคาขยับขึ้น เพราะตอนนี้มีการส่งออกมากขึ้น

       สำหรับ เงินเฟ้อทั้งปี กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์ไว้ที่ 0.4-1.2% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 0.8% และหากประเมินตอนนี้ คิดว่าทั้งปีน่าจะต่ำกว่า 0.8% เพราะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และการท่องเที่ยวที่ลดลง ขณะที่น้ำมันที่เดิมคาดว่าปีนี้จะเป็นขาขึ้น ก็ปรับตัวลดลง ทำให้เป็นตัวฉุดเงินเฟ้อ แต่ถ้าสถานการณ์ไวรัสดีขึ้น และรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา น่าจะทำให้เงินเฟ้อมีโอกาสกลับเข้าสู่กรอบที่คาดการณ์ไว้ได้...

 

พาณิชย์เผยเงินเฟ้อทั่วไป ก.พ.อยู่ที่ 0.74% ทั้งปีอยู่ในกรอบ 0.4-1.2%

  ก.พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไป ก.พ.อยู่ที่ 0.74% มองเศรษฐกิจโลก- การลงทุนชะลอ จากไวรัส COVID-19 ทำกระทบความเชื่อมั่นต่อการจับจ่ายใช้สอยประชาชน ด้านทั้งปีคาดเงินเฟ้อทั่วอยู่ในกรอบ 0.4-1.2%

  นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสูงขึ้น 0.74% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 1.05%

  ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.58% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 0.47% และเฉลี่ย 2 เดือน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.89% และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้น 0.53%

  ทั้งนี้ การชะลอตัวของเงินเฟ้อในเดือนนี้ นอกจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและการลงทุนที่ชะลอตัวแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบทางตรงต่อพฤติกรรมและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน

  ในขณะที่ผลกระทบทางอ้อมทำให้รายได้ของภาคธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว การขนส่ง การค้าปลีกและการค้าส่ง การผลิตและการบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

  สำหรับ แนวโน้มเงินเฟ้อในปีนี้ มองว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ได้รับอิทธิพลจากภัยแล้ง และราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัวในช่วงแรกก่อนจะเริ่มผันผวนในทิศทางที่ลดลงในระยะต่อมา

  ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการแพร่ระบาดของไวรัสเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อรายได้ กำลังซื้อ และความต้องการสินค้าและบริการ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว น่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรกอาจต่ำกว่าคาดการณ์

  อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ผนวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่เริ่มทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ภัยแล้งยังมีอิทธิพลต่อราคาสินค้าเกษตรค่อนข้างมากในปีนี้ น่าจะทำให้เงินเฟ้อครึ่งปีหลังของปีมีโอกาสเข้าสู่กรอบได้

  ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ 0.4-1.2% โดยมีค่ากลางที่ 0.8% ซึ่งกระทรวงพาณิชย์อาจทบทวนการคาดการณ์เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในระยะต่อไป

 

พาณิชย์ เผย CPI เดือน ก.พ.63 ขยายตัว 0.74% Core CPI ขยายตัว 0.58% YoY

     สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ.63 อยู่ที่ 102.70 เพิ่มขึ้น 0.74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง -0.08% จากเดือน ม.ค.63 โดยในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของปี 63 เพิ่มขึ้น 0.89%

      ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือน ก.พ.63 อยู่ที่ 102.91 เพิ่มขึ้น 0.58% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 0.09% จากเดือน ม.ค.63 และช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 0.53%

     ขณะที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 105.21 เพิ่มขึ้น 2.04% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.36% จากเดือน ม.ค.63 ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 101.30 ลดลง - 0.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 0.33% จากเดือน ม.ค.63

      น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (อัตราเงินเฟ้อ) ในเดือน ก.พ.63 สูงขึ้น 0.74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.05% โดยมีปัจจัยสำคัญจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องประกอบอาหาร ที่เป็นผลจากสถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่กลุ่มพลังงานกลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน

        การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ นอกจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และการลงทุนที่ชะลอตัวแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางตรงต่อพฤติกรรมและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ขณะที่ผลกระทบทางอ้อม ทำให้รายได้ของภาคธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว การขนส่ง การค้าปลีกและการค้าส่ง การผลิตและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลดลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์

       ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.63) ที่เพิ่มขึ้น 0.89% นั้นมีปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ได้รับอิทธิพลจากภัยแล้ง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มทรงตัวในช่วงแรกก่อนที่จะเริ่มผันผวนในทิศทางที่ลดลงในระยะต่อมา ขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อรายได้ กำลังซื้อ และความต้องการสินค้าและบริการ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ 0.8% แต่ยังคงอยู่ในกรอบประมาณการเดิมที่ 0.4-1.2%

     "มีความเป็นไปได้ที่ทั้งปีนี้อัตราเงินเฟ้ออาจจะไม่ถึง 0.8% เพราะมีปัจจัยเรื่องไวรัสโควิด ทำให้การใช้จ่ายของประชาชนฟื้นตัวช้า ขณะที่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน" น.ส.พิมพ์ชนก ระบุ

      อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์อาจจะทบทวนกรอบประมาณการอัตราเงินเฟ้อปีนี้ใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในระยะต่อไป

 

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

ภาพรวม

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.74 (YoY) ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 1.05 โดยมีปัจจัยสำคัญจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องประกอบอาหาร ที่เป็นผลจาก สถานการณ์ภัยแล้ง ในขณะที่กลุ่มพลังงานกลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน สำหรับหมวดอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.58 (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 0.47) และเฉลี่ย 2 เดือน เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.89 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.53 (AoA)

          การชะลอตัวของเงินเฟ้อในเดือนนี้ นอกจากจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและการลงทุนที่ชะลอตัวแล้ว ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID -19 ส่งผลกระทบทางตรงต่อพฤติกรรมและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ในขณะที่ผลกระทบทางอ้อมทำให้รายได้ของภาคธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว การขนส่ง การค้าปลีกและการค้าส่ง การผลิตและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องลดลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์

          อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเครื่องชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ยังมีสัญญาณที่ดี ทั้งด้านรายได้และการใช้จ่าย อาทิ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 105.34 สอดคล้องกับรายได้เฉลี่ยของเกษตรกรที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากนี้ รายได้จากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เก็บจากการบริโภคในประเทศ และดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนก็ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกก็กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 5 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และมีโอกาสฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ปกติ

สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

          ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป)

          ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.74 (YoY) ตามการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.04 สูงขึ้นทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 7.77 (ข้าวสารเหนียว) เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 2.44 (เนื้อสุกรกระดูกซี่โครงหมู ปลานิล) จากความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากภาวะภัยแล้งเป็นสำคัญ โดยผักสด สูงขึ้นร้อยละ 3.46 (ผักคะน้า กระเทียม ผักบุ้ง ขิง หัวหอมแดง) และผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 1.32 (ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า สับปะรด ส้มเขียวหวาน) ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.95 (ไข่ไก่ ไข่เป็ด นมเปรี้ยว) เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 2.56 (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) น้ำปลา ซอสหอยนางรม) เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.31 (น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต) อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.80 และ 0.49 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารเช้า ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.01 จากการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 0.48 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท (ยกเว้นก๊าซยานพาหนะ (LPG)) และการสื่อสาร (เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ 0.01 (เสื้อยืดบุรุษ รองเท้าหุ้มส้นหนังสตรี เสื้อยกทรงสตรี) ส่วนสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.22 (ค่าเช่าบ้าน น้ำยารีดผ้า ผงซักฟอก) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.38 (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย โฟมล้างหน้า) และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.52 (ค่าเดินทางไปเยี่ยมญาติและทำบุญ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา) รวมทั้ง ค่าโดยสารสาธารณะปรับสูงขึ้น ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

        ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2563 ลดลงร้อยละ 0.08 (MoM) และเฉลี่ย 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2563 สูงขึ้นร้อยละ 0.89 (AoA)

ดัชนีราคาผู้ผลิต

         ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (YoY) ขยายตัวเป็นบวก ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่หดตัวมา 8 เดือน ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ร้อยละ 5.3 ได้แก่ กลุ่มผลผลิตการเกษตร (ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ผักสด (ข้าวโพดฝักอ่อน ผักคะน้า) ผลไม้ (องุ่น กล้วยหอม) ปริมาณผลผลิตลดลงเนื่องจากหลายพื้นที่เพาะปลูกประสบภัยแล้ง ปาล์มสด ราคาปรับสูงขึ้นตามมาตรการของรัฐเป็นสำคัญ) กลุ่มสัตว์  มีชีวิต และผลิตภัณฑ์ (สุกร ไก่มีชีวิตและไข่ไก่) ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังสด และกุ้งแวนนาไม ส่วนสินค้าสำคัญที่ปรับลดลงตามราคาตลาดโลกและวัตถุดิบ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 4.0 (ก๊าซธรรมชาติ และแร่ (ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก)) และหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 (กลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง กลุ่มเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และอิเล็กทรอนิกส์ (ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ สายไฟ) กลุ่มเคมีภัณฑ์ (เม็ดพลาสติก) กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแท่ง เหล็กแผ่น) และกลุ่มสิ่งทอ

          ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2563 ลดลงร้อยละ 0.4 (MoM) และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) ปี 2563 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (AoA)

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง

          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 2.0 (YoY) ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา (มิถุนายน 2562) โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ลดลงร้อยละ 9.4 ตามราคาตลาดโลก ประกอบกับความต้องการใช้ในประเทศลดลง โดยเฉพาะเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 1.2 (คอนกรีตบล็อกก่อผนังมวลเบา คอนกรีตผสมเสร็จ) เนื่องจากภาวะการค้าชะลอตัว และการแข่งขันสูง หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.1 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 1.7 (กระเบื้องแกรนิต) ตามต้นทุน หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.5 (วงกบประตู-หน้าต่าง บานประตู) ราคาสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2562 หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (สีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นปูนและสีรองพื้นโลหะ) หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (ท่อร้อยสายไฟ และสายโทรศัพท์พีวีซี) หมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 (อ่างล้างหน้าเซรามิก กระจกเงา ที่ใส่สบู่)

          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2563 ลดลงร้อยละ 0.2 (MoM) และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.)  ปี 2563 ลดลงร้อยละ 1.9 (AoA)

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

          ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 44.1 ในเดือนก่อนหน้า ลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 38.9 มาอยู่ที่ระดับ 38.2 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตปรับตัวลดลงจากระดับ 47.6 มาอยู่ที่ระดับ 46.4 เป็นที่น่าสังเกตว่า ความเชื่อมั่นโดยรวมของกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มอาชีพและภาคอื่น ๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 สาเหตุหลักน่าจะมาจากความกังวลต่อสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้ง ยังกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นวงกว้าง ทั้งในภาคการท่องเที่ยว ภาคการขนส่ง ภาคการค้าและการบริการ ภาคการผลิตและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้มปี 2563

          เงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 มีปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ได้รับอิทธิพลจากภัยแล้ง และราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัวในช่วงแรกก่อนจะเริ่มผันผวนในทิศทางที่ลดลงในระยะต่อมา ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อรายได้ กำลังซื้อ และความต้องการสินค้าและบริการ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีแรกอาจต่ำกว่าการคาดการณ์ (ต่ำกว่า 0.8) อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ดังกล่าวปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ผนวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่เริ่มทะยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ภัยแล้งยังคงมีอิทธิพลต่อราคาสินค้าเกษตรค่อนข้างมากในปีนี้ น่าจะทำให้เงินเฟ้อในครึ่งหลังของปี มีโอกาสกลับเข้าสู่กรอบคาดการณ์ได้ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2563 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.4 – 1.2 (ค่ากลางอยู่ที่ 0.8) ซึ่งอาจมีการทบทวนกรอบการคาดการณ์เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในระยะต่อไป

โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ 

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!