- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 05 March 2020 19:22
- Hits: 1727
รัฐมนตรีอาเซียน นัดถกประเด็นเศรษฐกิจที่จะผลักดันในปี 63 พร้อมเร่ง RCEP ลงนาม MRA รถยนต์
พาณิชย์"เผยไทยเตรียมเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เวียดนาม เร่งพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 63 พร้อมติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint การเตรียมการประชุมรัฐมนตรี RCEP ระบุจะเร่งอาเซียนใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เร่งรัดลงนามข้อตกลงยอมรับร่วมด้านรถยนต์ด้วย
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เวียดนาม ระหว่างวันที่ 9-11 มี.ค.2563 โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 การติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน การเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี RCEP เพื่อเร่งรัดการลงนามความตกลง และการหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องการดำเนินงานของอาเซียน
สำหรับ ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามเสนอให้อาเซียนร่วมกันผลักดันในปี 2563 จะเน้นเรื่องการส่งเสริมการบูรณาการและความเชื่อมโยงภายในอาเซียน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาเซียนกับประชาคมโลก และการเสริมสร้างอาเซียนที่พร้อมปรับตัวและมีศักยภาพ โดยหลายประเด็นได้สานต่อจากที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนปีที่แล้วริเริ่มไว้ เช่น การจัดทำกลไกเพื่อติดตามและประเมินการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน การจัดทำแผนงานต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการลงนามความตกลง RCEP เป็นต้น รวมทั้งมีการเสนอประเด็นใหม่ๆ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะ การเชื่อมโยงการชำระเงิน การเชื่อมโยงศูนย์นวัตกรรม การทำแผนงานความมั่นคงทางอาหารระหว่างกัน เป็นต้น
ส่วนการติดตามการดำเนินการของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีการหารือในประเด็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่ภาคเอกชน การเร่งให้อาเซียนใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเองโดยเร็วเพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการทำการค้าระหว่างกัน เร่งรัดการลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านรถยนต์ของอาเซียน ซึ่งไทยได้ผลักดันจนหาข้อสรุปได้เมื่อปี 2562
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังมีกำหนดพบหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ในประเด็นที่ภาคเอกชนอาเซียนต้องการผลักดันให้อาเซียนดำเนินการ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนในอาเซียนด้วย
ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย ในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยได้ดุลการค้า 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
กรมเจรจาฯ รุกจัดสัมมนา 'อาร์เซ็ป' ต่อเนื่อง ปักหมุดชลบุรีเป็นสถานีถัดไป
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ต่อยอดความสำเร็จการประชุมสุดยอดอาเซ็ป ชวนทุกภาคส่วนร่วมงานสัมมนา 'ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป'จัดทัพกูรูทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และนักวิชาการ ร่วมเสวนาชี้ช่องใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซ็ป พร้อมแนะแนวทางเตรียมตัวรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมจัดงานสัมมนา 'ก้าวต่อไปของไทย หลังปิดดีลอาร์เซ็ป' ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) การเตรียมตัวใช้ประโยชน์จากความตกลงอาร์เซ็ป รวมถึงการปรับตัวรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเชิญผู้แทนจากหอการค้าไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าบิสคลับไทย ร่วมเสวนาหัวข้อ 'วางแผนเก็บเกี่ยวประโยชน์ RCEP” นอกจากนี้ จะมีการเสวนาหัวข้อ "RCEP กับมุมมองเชิงภูมิรัฐศาสตร์” โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวข้อ “เรื่องเล่าจากโต๊ะเจรจา RCEP' โดยผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อม ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดงาน
นางอรมน เพิ่มเติมว่า ในการประชุมสุดยอดอาร์เซ็ป ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ที่กรุงเทพฯ ผู้นำได้ออกแถลงการณ์ประกาศสรุปผลการเจรจาทั้ง 20 บทแล้ว และตั้งเป้าหมายลงนามความตกลงภายในปี 2563 โดยอาร์เซ็ปจะเป็นความตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ถึงแม้อินเดียยังไม่พร้อมเข้าร่วมอาร์เซ็ป แต่ในภาพรวมอาร์เซ็ป (15 ประเทศ) ยังถือเป็นเอฟทีเอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีประชากรรวมกันกว่า 2,200 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 25 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 29.3 ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ากว่า 10.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 27.22 ของมูลค่าการค้าโลก
“ความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยสร้างแต้มต่อ ลดความซ้ำซ้อนเรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ประสานกฎระเบียบและมาตรการทางการค้า ส่งผลให้มีการยอมรับกฎเกณฑ์ด้านมาตรฐานต่างๆ ระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับผู้ประกอบไทย ในการขยายการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคอาร์เซ็ป รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและในโลก” นางอรมน กล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กรมฯ ได้จัดสัมมนาฯ ที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และกรมฯ มีกำหนดเดินสายจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสาระสำคัญ และความสำเร็จของการเจรจาอาร์เซ็ปให้กับผู้สนใจ อย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2563 จะลงพื้นที่จัดสัมมนาที่จังหวัดขอนแก่น และสงขลา อีกด้วย โดยผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2507 7216 และ 0 2507 6285
พาณิชย์ เตรียมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่เวียดนาม ร่วมกำหนดประเด็นเศรษฐกิจที่จะดำเนินงานในปี 2563 ผลักดันการลงนามความตกลง RCEP
กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เร่งพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 ติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint พร้อมเตรียมการประชุมรัฐมนตรี RCEP
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มอบหมายให้ นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม 2563 โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 การติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน การเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี RCEP และการหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องการดำเนินงานของอาเซียน เป็นต้น
นางอรมน เสริมว่า เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ได้นำเสนอประเด็นด้านเศรษฐกิจที่อาเซียนจะร่วมกันผลักดันในปี 2563 ภายใต้แนวคิด “อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว” (Cohesive and Responsive ASEAN) โดยจะเน้นเรื่องการส่งเสริมการบูรณาการและความเชื่อมโยงภายในอาเซียน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาเซียนกับประชาคมโลก และการเสริมสร้างอาเซียนที่พร้อมปรับตัวและมีศักยภาพ โดยหลายประเด็นได้สานต่อจากที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนปีที่แล้วริเริ่มไว้ เช่น การจัดทำกลไกเพื่อติดตามและประเมินการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน การจัดทำแผนงานต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการลงนามความตกลง RCEP เป็นต้น รวมทั้งมีการเสนอประเด็นใหม่ๆ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะ การเชื่อมโยงการชำระเงิน การเชื่อมโยงศูนย์นวัตกรรม การทำแผนงานความมั่นคงทางอาหารระหว่างกัน เป็นต้น
สำหรับ การติดตามการดำเนินการของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีการหารือในประเด็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าแก่ภาคเอกชน การเร่งให้อาเซียนใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเองโดยเร็วเพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการทำการค้าระหว่างกัน เร่งรัดการลงนามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านรถยนต์ของอาเซียนซึ่งไทยได้ผลักดันจนหาข้อสรุปได้เมื่อปี 2562 เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังมีกำหนดพบหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ในประเด็นที่ภาคเอกชนอาเซียนต้องการผลักดันให้อาเซียนดำเนินการ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนในอาเซียนด้วย
ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย ในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไทยได้ดุลการค้า 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web