WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3093 สกสวสกสว. - ภาคี จับคู่ ผู้ประกอบการกับนักวิจัย
อัพเกรดสินค้านวัตกรรมไทยให้มีมูลค่าเพิ่ม เร่งส่งออกโต

          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จับมือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสถาบันคลังสมองของชาติ จับคู่ผู้ประกอบการ กับนักวิจัย ต่อยอดนวัตกรรมไทย เพิ่มมูลค่าสินค้าไทยส่งออก

          ม.ล. คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “Smart Value Creation” ที่สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการจับคู่ผู้ประกอบการกับหน่วยงานนวัตกรรม ในการต่อยอดและพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรม โดยกิจกรรมนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับนักวิจัยจากหน่วยงานนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรมมีคุณภาพ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยในการส่งออก

          รศ.ดร. พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า การที่ไทยจะก้าวพ้นการประเทศที่มีรายได้จากการใช้แรงงานราคาถูก ต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย สถาบันคลังสมองของชาติ เล็งเห็นว่า องค์ความรู้จากนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ ที่จะสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มรายได้ให้กับประเทศได้ แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่ากว่า 80 - 90% ของโครงการวิจัยเป็นผลงานที่มีคุณภาพแต่เกิดจากการคิดเอง ทำเอง ของนักวิจัย ที่ยังขาดการเติมเต็มในส่วนของออกแบบไปถึงผู้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จริง ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. มีดำริเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะให้การออกแบบกลไกการทำงาน กล่าวคือ ให้ผู้ประกอบการ สามารถเสนอโจทย์วิจัยที่น่าสนใจได้ พร้อมลงทุนในส่วนของการวิจัยส่วนหนึ่ง และรัฐจะหนุนเงินเข้าไปเพิ่มให้ 10 เท่า ซึ่งสถาบันคลังสมองมีแผนการทำงานที่จะดำเนินการตามดำริดังกล่าวเนื่องจากเล็งเห็นว่า เป็นกลไกสำคัญที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางภาคเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

          ในขณะที่ ผศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการภารกิจส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สกสว. ได้ให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการและนักวิจัยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ภายใต้การบรรยายหัวข้อ “แหล่งให้ทุนและงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ” ว่า ที่ผ่านมางานวิจัยและนวัตกรรมเหมือนอยู่คนละโลกกับภาคธุรกิจ นักวิจัยมุ่งเน้นผลงานตีพิมพ์ แต่ปัจจุบันนักวิจัยเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการผลักผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับที่ภาคธุรกิจเล็งเห็นว่า งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานสำคัญที่จะช่วยสร้างคุณภาพและความแตกต่างให้สินค้าของตน ดังตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้าที่ประสบความสำเร็จ

          เมื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาสินค้าเช่น ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นภายใต้แบรนด์ “บานาน่า โซไซตี้” ที่เพิ่มมูลค่าสินค้าจากกล้วยน้ำว้ากิโลกรัมละ 25 บาท ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์โดมพาราโบลา ที่จำหน่ายได้ในราคา 150 บาท/กิโลกรัม หรือกล้วยตากเคลือบช็อกโกแลต 560 บาท/กิโลกรัม น้ำส้มสายชูและไซรับจากกล้วย สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงถึง 820 บาท/กิโลกรัม หรือ สินค้าแบรนด์ “ปิ่นเพชร” ที่ผลิตและจำหน่ายมะขาม โดยในแต่ละปีบริษัทจะส่งออกเมล็ดมะขามขั้นต่ำเดือนละ 5 ตัน ไปยังประเทศญี่ปุ่นและจีนเพื่อสกัดเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี ที่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 2-3 บาท เมื่อผู้ประกอบการมีการทำงานร่วมกับนักวิจัย จึงทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เมล็ดมะขามออกมาเป็น เจลโลสจากแป้งเมล็ดมะขาม ซึ่งเป็นวัสดุคล้าย “เพคติน” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมอาหารที่ไทยต้องนำเข้า ปีละกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเจลโลสสามารถจำหน่ายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 5,000 - 12,000 บาท โดยทั้ง 2 เคส ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนา ที่เคยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกสว. เดิม)

          อนึ่งข้อสังเกตคือ ในส่วนของการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ใช้งบประมาณ ที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมักทำเสร็จแล้วไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้เกิดภาวะ “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ดังนั้นงานวิจัยในช่วงหลังจึงเป็นงานวิจัยที่ถูกดีไซน์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ต้องการมองหางานวิจัยเพื่อแมชชิ่งการพัฒนาสินค้าของตน ควรดูเกณฑ์ Technology Readiness Level (TRL) คือ การบ่งชี้ระดับความพร้อมและเสถียรภาพของเทคโนโลยีตามบริบทการใช้งานของงานวิจัยนั้นๆ ที่แบ่งออกเป็น 9 ระดับ โดยเลือกงานวิจัยที่มีการพัฒนาในระดับที่ 4 ขึ้นไป เนื่องจากผ่านกระบวนการวิจัยและทดลองเกินขั้นในห้องแล็บมาแล้ว

          ทั้งนี้ปัจจุบัน สกสว. พร้อมช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยผ่านกลไกต่อไปนี้คือ 1.งบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรม ผ่านการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานให้ทุน หรือหน่วยงานที่ทำวิจัย 2.เชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้ประกอบการทั้งในระบบออนไลน์และออฟไลน์ 3.กลไกสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ 4.ส่งเสริมการตลาด โดยทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานอื่นๆ และ 5.ปลดล็อกข้อจำกัดทางกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ

          ท้ายที่สุดจะเห็นได้ว่าการพัฒนานวัตกรรมจาก TRL 1 ไปยัง 9 เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณ รัฐสามารถหนุนได้ส่วนหนึ่งแต่เอกชนต้องลงทุนด้วย ก่อนพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมออกจำหน่าย ต้องคำนึงถึงการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมถึงการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรต่างๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีข้อจำกัดในการจำหน่ายในสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 


AO3093

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!