WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa โสรดา เลิศอาภาจิตร์

กรมพัฒน์ฯ เผยเทรนด์ธุรกิจคลินิกโรคทั่วไปมาแรง คาดตั้งใหม่เพิ่ม รับคนนิยมใช้บริการ

      กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยเทรนด์ธุรกิจคลินิกโรคทั่วไปในไทยมาแรง ยอดตั้งธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 60-62  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ทั้งกรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ เหตุคนสูงวัยเพิ่ม กระแสคนไทยรักษาสุขภาพ นโยบายรัฐดันไทยเป็นเมดิคอล ฮับ คาดแนวโน้มปี 63 ลงทุนเพิ่มอีก

       นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า จากการติดตามแนวโน้มการทำธุรกิจคลินิกโรคทั่วไปของไทยตั้งแต่ปี 2560-62 พบว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนผู้สูงอายุในประเทศเพิ่มขึ้น กระแสการรักษาสุขภาพของคนไทย รวมถึงจำนวนผู้ประกันตนกับประกันสังคม และจำนวนผู้ใช้บริการประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการจัดตั้งทำธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการที่มีมากขึ้น

      โดยในปี 2562 มีการจัดตั้งใหม่รวม 288 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่ตั้งใหม่ 202 ราย และปี 2560 ที่ตั้งใหม่ 170 ราย ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ชลบุรี นนทบุรี เชียงใหม่ เป็นต้น เพื่อรองรับความหนาแน่นของประชากรและนักท่องเที่ยว ส่วนทุนจดทะเบียนปี 2562 อยู่ที่ 311 ล้านบาท แต่ปี 2561 อยู่ที่ 330 ล้านบาท และปี 2560 ที่ 380 ล้านบาท ขณะที่การเพิ่มทุน ปี 2562 อยู่ที่ 572 ล้านบาท ปี 2561 อยู่ที่ 609 ล้านบาท และปี 2560 สูงถึง 748 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการ เมื่อพิจารณาจากงบการปี 2560 และปี 2561 พบว่า เพิ่มขึ้นมากกว่า 14.52% โดยงบการเงินปี 2561 มีรายได้รวม 19,145 ล้านบาท ส่วนปี 2560 มีรายได้รวม 19,719 ล้านบาท

        ขณะที่ในเดือนม.ค.2563 มีการจัดตั้งใหม่ 21 ราย ทุนจดทะเบียน 34 ล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจคลินิกโรคทั่วไป ณ สิ้นเดือนม.ค.2563 ที่ดำเนินการอยู่รวม 1,252 ราย คิดเป็น 0.17% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ 751,662 ราย และมีมูลค่าทุน 7,121.95 ล้านบาท คิดเป็น 0.04% ของทุนธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ 18.40 ล้านล้านบาท โดยในจำนวนนี้ เป็นการลงทุนของต่างชาติในนิติบุคคลไทย 498.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.80% สัญชาติที่ลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย 192.05 ล้านบาท ตามด้วยอิตาเลียน 68.19 ล้านบาท และญี่ปุ่น 64.19 ล้านบาท

      นางโสรดา กล่าวว่า ธุรกิจดังกล่าวในไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เพราะนอกจากไทยจะมีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้น และกระแสรักษาสุขภาพแล้ว การใช้บริการคลินิกยังมีความสะดวกมากกว่าการไปโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน ขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากขึ้น ทำให้คนเจ็บป่วยมากขึ้น แต่การทำธุรกิจดังกล่าวในไทย ยังมีปัจจัยที่ควรระวัง คือ การแข่งขันที่ค่อนข้างสูง มีการทำการตลาดเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาด อุปกรณ์การแพทย์ที่มีความซับซ้อน ทำให้มีต้นทุนสูง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง

      ส่วนปี 2563 คาดว่า จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของคนไทยมากกว่าต่างชาติ โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น จึงต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพที่มีมากขึ้น ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีสัดส่วนเกือบ 70% ของผู้ป่วยตลาดต่างประเทศทั้งหมดที่เข้ามารักษาตัวในไทย รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (เมดิคอล ฮับ) จึงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนมาก ซึ่งปัจจัยทั้งหมดจะส่งผลให้ธุรกิจนี้ในไทยเข้มแข็งและมีจำนวนเพิ่มขึ้น

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!