WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa K56345

พาณิชย์ เร่งสร้างมาตรฐานการค้าธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพ สร้างเครือข่ายกับนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศในการขยายตลาด และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น

     กรมพัฒน์ฯ เร่งสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้มีศักยภาพ พร้อมสร้างเครือข่ายกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการขยายตลาด ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น โดยเปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2563 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2563

     นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นกลุ่มธุรกิจที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมากให้กับประเทศไทย และมีแนวโน้มการเติบโตที่ต่อเนื่อง ในปี 2562 มูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีกว่า 2 แสน 8 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี และในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 15,000 - 20,000 ราย โดยแนวโน้มการขยายตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ทั้งแฟรนไชส์ไทยและแฟรนไชส์จากต่างประเทศจะมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

      ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นั้นต้องดูว่าได้ผ่านกระบวนการสร้างมาตรฐานมามากน้อยเพียงใด เพราะธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานจะเป็นรากฐานเสริมสร้างความเข้มแข็งและความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจต่อไป ดังนั้นมาตรฐานแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญ คือ ระบบการปฏิบัติงาน คุณภาพของสินค้าและมาตรฐานการให้บริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ (เจ้าของแบรนด์) และแฟรนไชส์ซี (ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์) องค์ประกอบเหล่านี้ คือ เกณฑ์มาตรฐานแฟรนไชส์ ที่เป็นตัวชี้วัดว่าธุรกิจจะมีโอกาสเติบโตหรือไม่

     กระทรวงพาณิชย์ จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยแฟรนไชส์ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการบ่มเพาะองค์ความรู้และทักษะการสร้างมาตรฐานธุรกิจ รวมถึงจะมีผู้เชี่ยวชาญประเมิน วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง ของแต่ละธุรกิจ ที่สำคัญยังมีการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ เป็นรายธุรกิจ และเสริมในเรื่องการศึกษาดูงานธุรกิจที่เป็นต้นแบบที่ดี

      สำหรับ คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย 1.จดทะเบียนนิติบุคคล 2.ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ไม่น้อยกว่า 2 ปี 3.มีร้านต้นแบบและมีแฟรนไชส์ซีอย่างน้อย 1 สาขา 4.จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (หรืออยู่ระหว่างกระบวนการยื่น) และ 5.มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอด โดยเปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์ที่สนใจร่วมโครงการตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2563

      ซึ่งที่ผ่านมา มีธุรกิจเข้ารับการประเมินและผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินจากกรมฯ และจำนวนทั้งสิ้น 334 ราย แบ่งตามประเภทธุรกิจ ดังนี้ ธุรกิจอาหาร จำนวน 157 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 65 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 43 ราย ธุรกิจบริการ จำนวน 36 ราย ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 15 ราย และธุรกิจค้าปลีก จำนวน 18 ราย โดยในปีนี้คาดว่าจะมีธุรกิจที่ผ่านการตรวจประเมินจำนวน 40 ราย

    อธิบดี กล่าวทิ้งท้ายว่า การทำแฟรนไชส์ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคมาให้ฝ่าฟันอยู่ตลอด การมีมาตรฐานจะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้อย่างราบรื่น

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1570, โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 5953 ,e-Mail : [email protected] และ www.dbd.go.th

 

พาณิชย์ ตั้งเป้าพัฒนา 40 ธุรกิจแฟรนไชส์ยกระดับมาตรฐานสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มปีละ 144 ลบ.

        นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในปีนี้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 40 ธุรกิจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นปีละ 144 ล้านบาท โดยธุรกิจที่เข้าร่วมกิจกรรมยกระดับฯ ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อเดือน มิ.ย.63 จะต้องจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี มีร้านแฟรนไชส์ซีอย่างน้อย 1 สาขา

        "หากพิจารณารายได้ขั้นต่ำของธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ที่ 1.8 ล้านบาทต่อปี ถ้าธุรกิจที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 40 รายนำความรู้ไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ และสามารถขยายสาขาได้รายละ 2 สาขา ก็จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นถึง 144 ล้านบาทต่อปี" นายวุฒิไกร กล่าว

       อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้แบบก้าวกระโดด และนักลงทุนไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการลองผิดลองถูก สามารถบริหารธุรกิจภายใต้มาตรฐานสากลได้อย่างยั่งยืน

      สำหรับ แนวทางการยกระดับธุรกิจแฟรนไชส์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างองค์ความรู้ด้านคุณภาพมาตรฐาน อาทิ การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ การประกันคุณภาพ และการบริหารจัดการธุรกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน 2) จัดทีมที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของแต่ละธุรกิจที่จะต้องได้รับการพัฒนาในแต่ละด้านให้ตรงจุด และให้คำปรึกษา (Coaching) เชิงลึกตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจแฟรนไชส์

               3) การเชื่อมโยงเครือข่ายและการต่อยอดธุรกิจระหว่างผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่เข้าร่วมโครงการ 4) การศึกษาดูงาน ณ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานฯของกรม (Best Practice) และ 5) การพาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการยกระดับฯ ไปร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อนำเสนอศักยภาพของธุรกิจ (Business Showcase)

               อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการยกระดับฯ จะมีสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจหลายด้าน ได้แก่ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมกับเครื่องหมาย Franchise Standard (มีอายุการใช้งาน 2 ปี) เพื่อการันตีคุณภาพของธุรกิจแฟรนไชส์, ประสบการณ์ศึกษาดูงานจากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศ, โอกาสในการร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรของกรมฯ, การประชาสัมพันธ์รายชื่อธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ ทางเว็บไซต์ www.dbd.go.th ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเกิดความน่าเชื่อถือแก่คู่ค้าหรือแฟรนไชส์ซี (Franchisee) และมีโอกาสต่อยอดความรู้ในหลักสูตรพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์สู่สากล (Thai Franchise Toward Global) ที่กรมฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!