- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 25 February 2020 06:57
- Hits: 3349
พาณิชย์ จ่อชง ครม. ตั้งทีมเจรจา CPTPP พร้อมเคลียร์ปมข้อสงสัยเอ็นจีโอ
พาณิชย์ เตรียมชง ครม. พิจารณาข้อดี ข้อเสีย การเข้าร่วม CPTPP พร้อมเสนอให้ตั้งทีมเจรจา ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม พร้อมเคลียร์ปมข้อสงสัยของเอ็นจีโอ ยันขยายเวลาสิทธิบัตรยา ถูกถอดออกไปแล้วตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัว ยังสามารถใช้ CL ได้เหมือนเดิม เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐมีการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำ รายเล็กไม่กระทบ ย้ำสุดท้ายถ้าเจรจาแล้ว ไทยไม่พอใจ ยังมีสิทธิ์ถอนตัวจากการเข้าร่วมได้
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงข้อกังวลของภาคประชาสังคมที่มีต่อการที่ไทยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) จะทำให้ไทยต้องรับเงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่จะกระทบต่อประชาชนว่า ขณะนี้กรมฯ อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลด้านต่างๆ ทั้งข้อดี ข้อเสียของการเข้าร่วม รวมถึงผลการศึกษา และผลการลงพื้นที่รับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนเม.ย.2563 และจะเสนอให้มีการตั้งทีมเจรจา ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเจรจาต่อรอง กำหนดเงื่อนไข ความยืดหยุ่น ข้อยกเว้น และระยะเวลาปรับตัว เพื่อไม่ให้กระทบประชาชนและให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
“ถ้า ครม. เห็นชอบ กระทรวงการต่างประเทศ จะทำหนังสือแสดงเจตจำนงการเข้าร่วมส่งไปให้ประเทศนิวซีแลนด์ ที่เป็นประเทศที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รักษาความตกลง เพื่อเสนอให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีสมาชิก CPTPP ในเดือนส.ค.นี้ พิจารณาต่อไป ตอนนี้เป็นเพียงการเคาะประตูเข้าบ้าน จากนั้นถึงจะถึงขั้นตอนการเจรจา ซึ่งการเจรจาจะมีทีมเจรจา ที่จะเข้าไปต่อรอง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับไทยมากที่สุด โดยจะรับฟังข้อกังวลของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ถ้าเจรจาแล้ว เห็นว่า ไทยรับข้อตกลงไม่ได้ หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบมากกว่าได้ ก็อาจไม่เข้าร่วมก็ได้ โดยทีมเจรจาจะต้องนำผลการเจรจามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนให้สัตยาบัน ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะเข้าร่วมแล้ว จะต้องปฏิบัติตามความตกลงทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองของทีมเจรจา”นางอรมนกล่าว
ส่วนประเด็นที่เป็นข้อกังวลของเอ็นจีโอในขณะนี้ อย่างเรื่องการเปิดตลาด มีข้อยกเว้นให้สมาชิกปรับตัวนานสุดถึง 21 ปีสำหรับกลุ่มสินค้าที่จะลดภาษีเป็น 0% และมีสินค้าบางกลุ่มสงวนไว้ไม่ต้องลดภาษี เรื่องขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรยา ถอดออกตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวจากการเป็นสมาชิก และในเรื่องการบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา (CL) ยังสามารถทำได้ การเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ 1991 (ยูพอฟ 1991) ไม่ต้องกังวล เพราะยูพอฟ 1991 ได้ให้ทางเลือกสมาชิกสามารถออกกฎหมายเพื่อยกเว้นให้เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในพื้นที่ของตนได้ และเรื่องการจัดจ้างโดยรัฐ ได้กำหนดให้กำหนดมูลค่าขั้นต่ำที่ไม่ต้องเปิดให้เข้ามาแข่งขัน และมีระยะเวลาในการปรับตัว
ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัว 0.12% มูลค่า 13,323 ล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% มูลค่า 148,240 ล้านบาท การส่งออกขยายตัว 3.47% มูลค่า 271,340 ล้านบาท และเกิดการจ้างงาน 73,370 ล้านบาท รวมทั้งไทยจะส่งออกสินค้าหลายรายการได้เพิ่มขึ้นจากการที่สมาชิกต้องเปิดตลาดให้ไทยเพิ่มเติม เช่น ไก่แปรรูป น้ำตาล ข้าว อาหารทะเล ผลไม้สด แห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่า หากไทยไม่เข้าร่วม จะเกิดค่าเสียโอกาสจากการเป็นห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและของโลก โดยจีดีพี จะลดลง 0.25% มูลค่า 26,629 ล้านบาท การลงทุนลดลง 0.49% มูลค่า 14,270 ล้านบาท การส่งออกลดลง 0.19% มูลค่า 14,560 ล้านบาท และผลตอบแทนแรงงานลดลง 8,440 ล้านบาท
พาณิชย์” ไขข้อกังวลการเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP ของไทย
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) มีมติมอบให้กระทรวงพาณิชย์รวบรวมผลการศึกษา เรื่องการเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า ไทยควรเข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP หรือไม่ นั้น ขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเตรียมการพิจาณาเข้ารวมความตกลง CPTPP อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี โดยในเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่า การเข้าร่วมความตกลง CPTPP จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ GDP ขยายตัว 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13,323 ล้านบาท การลงทุนขยายตัว 5.14% คิดเป็นมูลค่า 148,240 ล้านบาท การส่งออกขยายตัว 3.47% คิดเป็นมูลค่า 271,340 ล้านบาท และเกิดการจ้างงาน 73,370 ล้านบาท
รวมทั้ง ไทยจะสามารถส่งออกสินค้าหลายรายการได้เพิ่มขึ้นจากการที่สมาชิก CPTPP จะต้องเปิดตลาดให้ไทยเพิ่มเติมมากกว่า FTA ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ไก่แปรรูป น้ำตาล ข้าว อาหารทะเล ผลไม้สด/แห้ง รถยนต์และส่วนประกอบ ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า หากไทยตัดสินใจไม่เข้าร่วม CPTPP จะเกิดค่าเสียโอกาสจากการเป็นห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและของโลก โดย GDP จะลดลง 0.25% คิดเป็นมูลค่า 26,629 ล้านบาท การลงทุนลดลง 0.49% คิดเป็นมูลค่า 14,270 ล้านบาท การส่งออกลดลง 0.19% คิดเป็นมูลค่า 14,560 ล้านบาท และจ้างงานผลตอบแทนแรงงานจะลดลง 8,440 ล้านบาท
นางอรมน เสริมว่า ในส่วนที่มีผู้กังวลว่า การเข้าร่วม CPTPP ของไทย จะทำให้ไทยต้องรับเงื่อนไข หรือข้อผูกพันที่จะกระทบต่อประชาชนนั้น กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีตั้งทีมเจรจาที่จะประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เจรจาต่อรอง กำหนดเงื่อนไข ความยืดหยุ่น ข้อยกเว้น และระยะเวลาปรับตัวในการเป็นสมาชิกความตกลงฯ เพื่อไม่ให้กระทบประชาชนและให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด เพราะความตกลงเปิดให้สมาชิกสามารถเจรจาในเรื่องเหล่านี้ได้ เช่น ในส่วนของการเปิดตลาด มีสมาชิกได้เวลาปรับตัวสูงถึง 21 ปี และในส่วนการปฏิบัติตามกฎระเบียบความตกลงฯ ก็สามารถขอข้อยกเว้นและระยะเวลาการปรับตัวได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ หากเจรจาแล้วไม่เป็นที่พอใจ และเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ ไทยก็ยังสามารถตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP ได้ โดยคณะเจรจาจะต้องนำผลการเจรจา มาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนให้สัตยาบัน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกและการแข่งขันทางการค้าที่สูงขึ้นในปัจจุบัน พบว่า สมาชิก CPTPP โดยเฉพาะเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย เช่น เวียดนามและสิงคโปร์ ได้ประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP เป็นอย่างมาก โดยตั้งแต่ที่สมาชิก CPTPP สรุปผลการเจรจาได้ในปี 2558 จนถึงปี 2562 พบว่า เวียดนามสามารถขยายการส่งออกไปประเทศ CPTPP เพิ่มขึ้นถึง 7.85% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 9.92% ในขณะที่การส่งออกของไทยไปประเทศ CPTPP ขยายตัวเพียง 3.23% แสดงให้เห็นว่าหากไทยนิ่งเฉย มีความเสี่ยงสูงว่า ไทยจะตกขบวนและเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับในฐานะห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและโลก
นางอรมน เพิ่มเติมว่า ในส่วนประเด็นข้อกังวล เรื่องสิทธิบัตรยา การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ทรัพย์สินทางปัญญา และการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นั้น เมื่อศึกษารายละเอียดของความตกลง และการเจรจาขอความยืดหยุ่นของสมาชิก ได้ช่วยคลายกังวลไปมากเพราะพบว่า ความตกลงเปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถขอยกเว้นและระยะเวลาการปรับตัวจากการปฏิบัติตามความตกลงได้ โดยในส่วนข้อกังวลว่า ไทยจะต้องขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรยา คุ้มครองข้อมูลการทดสอบยา และไม่สามารถบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา (CL) ได้นั้น ความตกลง CPTPP ได้ถอดเรื่องนี้ออกไปแล้ว ตั้งแต่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเจรจา ไทยจึงไม่ต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมในเรื่องนี้ นอกจากนี้ ความตกลงฯ ยังยืนยันสิทธิของสมาชิกในการใช้มาตรการ CL ขององค์การการค้าโลก (WTO) ความตกลง CPTPP จึงไม่กระทบต่อการเข้าถึงยาราคาถูกของประชาชน
ในส่วนข้อกังวลเรื่องที่เกษตรกรจะไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไว้ปลูกได้ หากเข้าเป็นสมาชิก UPOV 1991 นั้น UPOV 1991 ได้ให้ทางเลือกสมาชิกสามารถออกกฎหมายเพื่อยกเว้นให้เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในพื้นที่ของตนได้ แม้จะเป็นสมาชิก UPOV 1991 นอกจากนี้ ความตกลง CPTPP ยังเปิดช่องให้สมาชิกสามารถกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของการเข้ามาแข่งขันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ถ้ามูลค่าต่ำว่าที่กำหนดไว้ ก็ไม่ต้องเปิดให้เข้ามาแข่งขัน และมีระยะเวลาการปรับตัว ซึ่งหลักการเจรจาของไทยจะยึดผลประโยชน์ของไทยเป็นที่ตั้ง และจะรับฟังข้อกังวลของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศ เพื่อให้การเจรจาเกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด
นางอรมน เพิ่มเติมว่า กระทรวงพาณิชย์ยังได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมกลไกช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร SMEs และผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากความตกลงฯ โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มีการตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการพัฒนากองทุนฯ โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานซึ่งอยู่ระหว่างหารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถจัดตั้งกองทุนและตอบ สนองความต้องการต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศที่ให้สัตยาบันความตกลง CPTPP แล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก แคนาดาออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยความตกลงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2561 ซึ่งสมาชิก CPTPP 7 ประเทศ มีประชากรกว่า 415.8 ล้านคน คิดเป็น 6% ของประชากรโลก โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับ CPTPP 7 ประเทศมีมูลค่ารวม 114.93 พันล้านเหรียญ คิดเป็นสัดส่วน 23.6% ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปยังสมาชิก CPTPP มูลค่า 61.48 พันล้านเหรียญ (25% ของการส่งออกไทยไปโลก) และนำเข้ามูลค่า 53.44 พันล้านเหรียญ (22% ของการนำเข้าของไทยจากโลก)
นอกจากนี้ ยังพบว่า หากไทยไม่เข้าร่วม จะเกิดค่าเสียโอกาสจากการเป็นห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและของโลก โดยจีดีพี จะลดลง 0.25% มูลค่า 26,629 ล้านบาท การลงทุนลดลง 0.49% มูลค่า 14,270 ล้านบาท การส่งออกลดลง 0.19% มูลค่า 14,560 ล้านบาท และผลตอบแทนแรงงานลดลง 8,440 ล้านบาท
พาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมประชุม JTC ไทย-แอฟริกาใต้ ครั้งแรกในรอบ 5 ปี พร้อมเดินหน้าเจรจาขยายการค้าการลงทุน เปิดประตูสู่แอฟริกา
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือเจทีซี ไทย – แอฟริกาใต้ ครั้งที่ 5 หลังว่างเว้นกว่า 5 ปี หารือแนวทางขยายการค้าการลงทุนสินค้าเกษตร และชิ้นส่วนยานยนต์ พร้อมผลักดันแก้ไขอุปสรรคทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในแอฟริกาใต้
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จะเดินทางเยือนแอฟริกาใต้เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – แอฟริกาใต้ ครั้งที่ 5 ซึ่งกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมแห่งแอฟริกาใต้จะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ หลังจากว่างเว้นการประชุมมานานกว่า 5 ปี โดยจะมีการหารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่ แนวทางขยายการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และชิ้นส่วนยานยนต์ ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ รวมทั้งจะผลักดันการแก้ไขอุปสรรคการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในแอฟริกาใต้ เช่น การออกใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานไทย โดยเฉพาะในธุรกิจร้านอาหารและร้านสปา เพื่อขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น
นางอรมน เพิ่มเติมว่า แอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคแอฟริกาเป็นสมาชิกของกลุ่ม BRICS ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา หรือ The African Continental Free Trade Area (ACFTA) ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทำให้แอฟริกาใต้เป็นตลาดศักยภาพและประตูการค้าของไทยสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแอฟริกากว่า 54 ประเทศ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองประเทศจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ในภูมิภาคแอฟริกา ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของแอฟริกาใต้ในอาเซียน โดยในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้ มีมูลค่า 3,263.17 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกไปแอฟริกาใต้ 2,627.75 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาป ข้าว ยางรถยนต์ ยางขอบกระจกและประตู อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น และไทยนำเข้าจากแอฟริกาใต้ 636.42 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น อะลูมิเนียมและเศษอะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ ทองคำ เพชร แพลตทินัม เยื่อกระดาษ เหล็กและเหล็กกล้า เป็นต้น
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web