- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 18 February 2020 11:58
- Hits: 4510
จุรินทร์ เปิด มหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน ฝ่าทุกสถานการณ์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดงาน ‘มหกรรมการค้าชายแดน ณ จังหวัดนราธิวาส’ที่ สนามกีฬามหาราช อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมผู้ประกอบการทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน เพื่อเป็นประตูเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นกลไกในการยกระดับรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรมสำหรับกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมการส่งออกและเร่งรัดตัวเลขการส่งออกที่สามารถทำได้รวดเร็วที่สุดเป็นรูปธรรมที่สุดประการหนึ่ง คือการเร่งรัดการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนสำหรับมูลค่าในปี 2562 การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีมูลค่ารวมกันกว่า 1.3 ล้านล้านบาท มีประเทศมาเลเซียเป็นผู้ค้าชายแดนอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 514,066 ล้านบาท
การจัดงานมหกรรมการค้าชายแดนในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ที่สอดรับกับนโยบายดังกล่าวโดยเฉพาะไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการไปมาหาสู่กันเป็นญาติมิตรพี่น้องและทำธุรกิจการค้าระหว่างกัน มายาวนานการจัดงานในครั้งนี้จึงมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจของทั้งสอง ประเทศมีความเข้มแข็งและยกระดับการส่งออกสร้างเครือข่ายทางการค้าและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทางธุรกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงานมหกรรมการค้าชายแดนไทยมาเลเซียครั้งนี้นอกจากมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของอำเภอสุไหงโก-ลก ให้มีความคึกคักขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคนักธุรกิจทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพทั้งสินค้าที่ผลิตโดยกลุ่มมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งนำมาจัดเป็นครั้งแรก
"ขอขอบคุณหน่วยงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ที่ได้บูรณาการจัดงานในวันนี้ รวมทั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้เกียรติเข้าร่วมงาน และขออวยพรให้การจัดงานประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย และขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจการค้าได้ ตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ บัดนี้ ถึงเวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดงาน “มหกรรม การค้าชายแดน ณ จังหวัดนราธิวาส” ณ บัดนี้ ขอบคุณครับ" นายจฺรินทร์ กล่าว
สำหรับ บรรยากาศการจัดมหกรรมนั้นมีทั้งการจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนและการจัดแสดงสินค้าชายแดนภาคใต้ การจัดแสดงฟาร์มตัวอย่างการเพาะเห็ดนางฟ้า บูธผ้าบาติกต่างๆ นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือบูธของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ซื้อแจกันลายนกเงือก ซึ่งเป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่า บาลาฮาลา จังหวัดนราธิวาสด้วย
นอกจากนั้น ยังให้ความสนใจบูธของกลุ่มแม่บ้านบาติกจังหวัดนราธิวาสได้เพิ่มมูลค่าให้กับผ้าบาติกด้วยกันผลิตเป็นหน้ากากอนามัยผ้าแฟชั่นเพื่อใช้ในพื้นที่อีกด้วย.
จุรินทร์ ดัน ผู้ประกอบการรายใหม่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 100 ราย ลุยสู้สร้างธุรกิจการค้าชายแดน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดงานสัมมนาพัฒนาการท่องเที่ยวสู่การส่งออก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.15 -12.40 น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้ผู้ประกอบการรายใหม่จาก 5 จังหวัด ชายแดนใต้จำนวน 100 ราย เช่น ผู้ประกอบการผ้าบาติก เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง อาหาร เป็นต้น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับวันนี้ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของพวกเราในจังหวัดชายแดนใต้ ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เราก็เห็นความสำคัญของการค้าที่เห็นความสำคัญของการค้าก็เพราะว่าที่เราพูดกันว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหนึ่งปี + 2% 3% 5% 7% ความจริงมันมาจากตัวเลขสองตัวที่มีความสำคัญมาก
ตัวเลขตัวที่หนึ่งคือจากการส่งออก ใน 100% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการส่งออกคือ 60% และการท่องเที่ยวมีสัดส่วน 10 กว่าเปอร์เซ็นต์แต่วันนี้เพิ่มมาเป็น 20 % การท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นเรื่องที่สำคัญมากจึงเป็นที่มาของกระทรวงพาณิชย์ในการจัดอบรมสัมมนาในวันนี้คือเอาการท่องเที่ยวและการส่งออกมาเชื่อมโยงกัน เพื่อทำให้ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเติบโตไปข้างหน้าได้และการที่เศรษฐกิจประเทศจะเติบโตไปข้างหน้าได้ เศรษฐกิจของพวกเราต้องมาเติบโตกันด้วย
ฉะนั้น พวกเราทุกคนจึงมีความสำคัญ และนี่คือนโยบายว่าจะทำอย่างไรให้เรารวยได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะให้ประเทศรวยขึ้นและหัวข้อวันนี้ก็คือหัวข้อพวกเราจะส่งออกสินค้าหรือบริการที่พวกเราจะผลิตอย่างไรโดยอาศัยการท่องเที่ยวมาเป็นสื่อนำ
“ผมเคยเป็นรัฐมนตรีท่องเที่ยวปี 2540 ในรัฐบาลชวน 2 จึงพอเข้าใจการดำเนินการในการท่องเที่ยวต้องทำอย่างไร ในสมัยนั้นมาเลเซียคือนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง แต่ในวันนี้เปลี่ยนไปจีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง วันนี้มาเลเซียกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับสอง เพราะว่ามาเลเซียมาง่ายกว่าจีน ซึ่งสามารถข้ามพรมแดนมาได้เนื่องจากชายแดนติดกัน นักท่องเที่ยวจะมาพร้อมกับเงิน เราจะเอาเงินจากนักท่องเที่ยวเก็บไว้ให้ประเทศไทยมากที่สุดอย่างไร โดยให้เขาซื้อของกลับไปด้วยโดยให้เป็นของฝาก อาหารสำเร็จรูปเครื่องใช้เครื่องประดับของตกแต่งบ้านที่สามารถซื้อกลับไปฝากได้ เขาจะซื้อเราก็ต่อเมื่อสินค้าเราเตะตา มีขนาดบรรจุภัณฑ์มีการขนส่งไม่ยุ่งยาก มีความสะดวกในการซื้อกลับไปหรือการบริหารจัดการให้กับเขาเพื่อให้เขานำกลับไปบ้านสะดวก”
"ผมเคยไปต่างประเทศซื้อโต๊ะทั้งชุดก็สามารถจัดส่งมาได้ ถ้าเรามีรูปแบบการบริการที่ดีคนที่จะซื้อก็มีมากขึ้นการจัดงานวันนี้จะเป็นประโยชน์แก่พวกเราและสนับสนุนนโยบายของผม รวมทั้งสนับสนุนผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่มีศักยภาพในการเติบโตไปในอนาคตโดยเฉพาะที่เป็นช้างเผือกอยู่ในภูมิภาคต่างๆอันนี้คือนโยบายสำคัญที่กระทรวงพาณิชย์ยุคนี้ช่วยสนับสนุนให้เขาได้เกิดในทางธุรกิจให้ได้ นี่จึงเป็นที่มาตัวอย่าง เช่นผู้ประกอบการภาคอีสานมีผู้ประกอบการเท่าไหร่จะพาไปเปิดตลาด CLMV ล่าสุด ผมไปเปิดตลาดที่กัมพูชามาไปเปิดบูทพิเศษ ให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก ที่นี่ก็เหมือนกัน 5 จังหวัดชายแดนใต้และควรได้รับโอกาสจากรัฐ"
นายจุรินทร์ กล่าวว่า โดยเฉพาะในส่วนที่ตนรับผิดชอบคือกระทรวงพาณิชย์ให้มีโอกาสเกิดตลาดท่องเที่ยวมีทั้งสองตลาด คือตลาดไทยเที่ยวไทยคือตลาดในประเทศ เราสามารถผลิตสินค้าขายนักท่องเที่ยวไทย และตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยเราต้องสามารถผลิตสินค้าบริการบริการขายให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อการส่งออกได้เดี๋ยวนี้ขายออนไลน์ได้ด้วย คิดว่าที่ประชุมวันนี้จะให้คำตอบวันสต็อปเซอร์วิสทุกเรื่องที่พูดมาโดยวิทยากรที่มีศักยภาพวิทยากรที่มีศักยภาพและประสบการณ์คาดว่าจะช่วยพวกเราได้เยอะทีเดียว
จุรินทร์ เปิด มหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน ฝ่าทุกสถานการณ์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดงาน ‘มหกรรมการค้าชายแดน ณ จังหวัดนราธิวาส’ที่ สนามกีฬามหาราช อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมผู้ประกอบการทั้งฝั่งไทยและมาเลเซีย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน เพื่อเป็นประตูเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นกลไกในการยกระดับรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรมสำหรับกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมการส่งออกและเร่งรัดตัวเลขการส่งออกที่สามารถทำได้รวดเร็วที่สุดเป็นรูปธรรมที่สุดประการหนึ่ง คือการเร่งรัดการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนสำหรับมูลค่าในปี 2562 การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีมูลค่ารวมกันกว่า 1.3 ล้านล้านบาท มีประเทศมาเลเซียเป็นผู้ค้าชายแดนอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 514,066 ล้านบาท
การจัดงานมหกรรมการค้าชายแดนในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ที่สอดรับกับนโยบายดังกล่าวโดยเฉพาะไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการไปมาหาสู่กันเป็นญาติมิตรพี่น้องและทำธุรกิจการค้าระหว่างกัน มายาวนานการจัดงานในครั้งนี้จึงมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจของทั้งสอง ประเทศมีความเข้มแข็งและยกระดับการส่งออกสร้างเครือข่ายทางการค้าและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดทางธุรกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงานมหกรรมการค้าชายแดนไทยมาเลเซียครั้งนี้นอกจากมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของอำเภอสุไหงโก-ลก ให้มีความคึกคักขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคนักธุรกิจทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าและนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพทั้งสินค้าที่ผลิตโดยกลุ่มมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งนำมาจัดเป็นครั้งแรก
"ขอขอบคุณหน่วยงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ที่ได้บูรณาการจัดงานในวันนี้ รวมทั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้เกียรติเข้าร่วมงาน และขออวยพรให้การจัดงานประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมาย และขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจการค้าได้ ตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ บัดนี้ ถึงเวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดงาน “มหกรรม การค้าชายแดน ณ จังหวัดนราธิวาส” ณ บัดนี้ ขอบคุณครับ" นายจฺรินทร์ กล่าว
สำหรับ บรรยากาศการจัดมหกรรมนั้นมีทั้งการจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนและการจัดแสดงสินค้าชายแดนภาคใต้ การจัดแสดงฟาร์มตัวอย่างการเพาะเห็ดนางฟ้า บูธผ้าบาติกต่างๆ นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือบูธของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ซื้อแจกันลายนกเงือก ซึ่งเป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่า บาลาฮาลา จังหวัดนราธิวาสด้วย
นอกจากนั้น ยังให้ความสนใจบูธของกลุ่มแม่บ้านบาติกจังหวัดนราธิวาสได้เพิ่มมูลค่าให้กับผ้าบาติกด้วยกันผลิตเป็นหน้ากากอนามัยผ้าแฟชั่นเพื่อใช้ในพื้นที่อีกด้วย.
จุรินทร์ ถกภาครัฐ-เอกชน เคาะขับเคลื่อน 11 ประเด็น ดันค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย
จุรินทร์ เป็นประธานประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน เดินหน้าขับเคลื่อน 11 ประเด็น ผลักดันการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย เตรียมลุยกำหนดจุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ เร่งลงนาม MOU กับมาเลเซียด้านขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร ประเมินเปิดด่านสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชั่วโมง เร่งสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ลดขั้นตอนผ่าน ตม. บูมเมืองยาพารา พัฒนาท่าเทียบเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ดันสินค้า 5 จังหวัดใต้ขายทั้งในและต่างประเทศ พร้อมเร่งแก้ปัญหาส่งออกนมและแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซีย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ณ โรงแรมอิมพิเรียล จังหวัดนราธิวาส ว่า ได้พิจารณาปัญหาและข้อเสนอแนะทั้งจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มีข้อสรุปในแต่ละประเด็นรวมทั้งสิ้น 11 ประเด็น ซึ่งจะเร่งดำเนินการทันทีและต่อเนื่อง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการไทย และเพิ่มยอดการค้าชายแดนระหว่างไทย-มาเลเซียให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
สำหรับ ผลการหารือทั้ง 11 ประเด็น ได้แก่ 1.จุดเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่ ได้ข้อยุติแล้ว และขั้นต่อไป คือ กำลังสำรวจและออกแบบถนนร่วมกันโดยกรมทางหลวง คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นเดือนมี.ค.2563 ความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณประมาณ 140 ล้านบาท และคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคจะประชุมเพื่อเห็นชอบจุดเชื่อมดังกล่าวภายในเดือนเม.ย.2563 ถ้าได้รับจัดสรรงบประมาณ จะก่อสร้างเสร็จภายใน 1 ปี แต่สามารถเปิดด่านสะเดาแห่งใหม่ได้ภายในต.ค.2563 โดยเชิญรถขนส่งสินค้าเข้ามาใช้บริการก่อน
2.การเร่งรัดการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย และร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารทางถนนข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย จะสามารถลงนาม MOU ได้ในอีกประมาณ 4 เดือน โดยไทยได้ส่งร่าง MOU ให้มาเลเซียพิจารณาแล้ว และมาเลเซียจะตอบกลับมาภายในเดือนมี.ค.2563 และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ จากนั้นจะสามารถลงนามได้ทันที ทำให้ไทยสามารถข้ามพรมแดนส่งไปถึงสิงคโปร์ได้
3.การเปิดด่านศุลกากรสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม 24 ชั่วโมง จากนี้ไทยและมาเลเซียจะร่วมกันประเมินผลความคุ้มค่าของการขยายเวลาเปิดด่านภายในเดือนเม.ย.2563 เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาขยายเวลาต่อไปหรือไม่ ซึ่งประโยชน์ ที่เห็นชัด คือ ความรวดเร็วของการขนส่ง
4.การเร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอสุไหงโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง) ได้มอบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพในการติดตามความคืบหน้า
5.การเร่งรัดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ณ อำเภอตากใบ (ตากใบ-เปิงกาลันกุโบร์) จะมีการเร่งรัดสร้างแพขนานยนต์อันใหม่ให้เสร็จสิ้นและให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้ มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว 39 ล้านบาทโดย อบจ.นราธิวาส และมอบ ศอ.บต. เร่งรัดติดตามความคืบหน้าต่อไป ส่วนด่านบูเก๊ะตา ที่มีปัญหาในความไม่พร้อมของสถานที่ทำงานของหน่วยงาน 7 หน่วยงาน ที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เป็นเจ้าภาพเชิญหน่วยงาน 9 หน่วยหารือ เพื่อทำให้ด่านบูเก๊ะตาใช้คอนเทนเนอร์ทำงานชั่วคราว เพื่อเร่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุด และหาข้อสรุปภายในสองสัปดาห์ และจากนั้น ตนจะเดินทางลงมาติดตามความคืบหน้าในปลายเดือนมี.ค.2563
6.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ที่ประชุมเห็นชอบนโยบายให้สร้างรถไฟทางคู่ทั้งจากกรุงเทพฯ ลงไป และสร้างจากสุไหงโก-ลกขึ้นมาพร้อมกันทีเดียว โดย ศอ.บต. จะติดตามเรื่องนี้ และจะตั้งงบและเริ่มต้นศึกษาการสร้างรถไฟรางคู่เส้นทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ในปี 2564
7.การลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารทางพิธีการศุลกากร ณ ด่านชายแดน โดยที่ประชุมมอบ ศอ.บต. เร่งรัดการจัดการลดอุปสรรคสำหรับยานพาหนะส่วนบุคคล ที่ต้องกรอกทั้งใบสำแดงสินค้าของกรมศุลกากรและใบ ตม. 2 และ 3 (Border pass) ขอให้ลดขั้นตอนให้เหลือขั้นตอนเดียว ซึ่งจากการหารือเบื้องต้น พบว่า สามารถทำได้
8.การดำเนินโครงการเมืองยางพารา (Rubber City) มีความคืบหน้าว่ามิชลิน ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้ซื้อน้ำยางสด 1 แสนตันในปี 2563 ที่ผ่านมา และหลังจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตกลงไปช่วยสนับสนุนการสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียให้มิชลิน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ และ กนอ. ยังจะลดค่าเช่าให้ SMEs เหลือตารางเมตรละ 20 บาท จาก 150 บาท เพื่อจูงใจให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น
9.โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือโดยสารขนาดใหญ่ (Cruise) ที่ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ในเรื่องนี้ กรมเจ้าท่าทำการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างสรุปรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ของทั้ง 2 แห่ง คือ สมุย และภูเก็ต เพื่อเสนอ ครม. ในเดือนส.ค.2564 และระหว่างต.ค.2564 และ ก.ย.2565 จะคัดเลือกผู้ร่วมทุน และทำรายงาน EIA กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2569 เปิดบริการปี 2570
10.การส่งเสริมการตลาดสินค้าศักยภาพ 247 รายการ ของ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในประเทศและส่งออก ได้มอบกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หาทางช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการขายออนไลน์และอื่นๆ รวมทั้งการเจรจากับบริษัทไปรษณีย์ไทยในการให้สร้างโปรโมชั่นพิเศษกับภาคเอกชนในการขนส่ง และจะขอข้อสรุปเรื่องนี้ตอนลงมาดูด่านบูเก๊ะตาในเดือนมี.ค.2563
11.กรณีไม่สามารถส่งออกนมและแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซียได้นั้น ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งต่อไป
จุรินทร์-นิพนธ์ จับมือลุยชายแดนใต้ จัดจับคู่ธุรกิจ ไทย-มาเลเซีย ในมหกรรมส่งเสริมการค้าชายแดน พร้อมดัน MOU 2 ธนาคาร เพื่อหนุนผู้ประกอบการชายแดนเต็มที่
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ Datuk Mohd Hatta Md Ramli, Entrepreneur Development Deputy Minister รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพัฒนาผู้ประกอบการ ประเทศมาเลเซีย
มาร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความ ร่วมมือร่วมกันระหว่าง EXIM Bank ไทย EXIM Bank มาเลเซีย และ SME Bank ไทย และ SME Bank มาเลเซีย คือ 1.นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ EXIM Bank ไทย
2.นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ รองกรรมการผู้จัดการ (รักษาการกรรมการผู้จัดการ) SMEs Bank ไทย 3.Dato’ Shahrul Nazri Abdul Rahim, President and Chif Executive Officer,Export-Import Bank of Malaysia 4.En Aria Putera Ismail, Group President and Chif Executive Officer, Small Medium Enterprise Development Bank Malaysia Bethad ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าระหว่าง SME ของไทยและมาเลเซีย ตามนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ที่ โรงแรมอิมพีเรียล จังหวัดนราธิวาส
จากนั้นทั้งหมด ร่วมกับเลขาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เยี่ยมชมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย กับผู้ประกอบการมาเลเซีย โดยผู้ประกอบการภาคใต้ของไทย 37 บริษัท แบ่งเป็น กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 27 บริษัท ท่องเที่ยว 1 บริษัท สุขภาพและความงาม 3 บริษัท แฟชั่นและไลฟสไตล์ 6 บริษัท และผู้นำเข้ามาเลเซีย 17 บริษัทแบ่งเป็น กลุ่มอาหาร 11 บริษัท โรงแรม 1 บริษัทแฟชั่น และไลฟสไตล์ 2 บริษัท ทั่วไปและค้าปลีก 3 บริษัท โดยใช้เวลาตลอดทั้งวันนี้ในการประเทศไทยจะทางการค้าตามทวงการ จับคู่ธุรกิจเพื่อลูกทางด้านการขายและการส่งออกการนโยบายของนายจุรินทร์และกระทรวงพาณิชย์ โดยรายงานกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศระบุว่าคาดว่าจะมีมูลค่าทางการค้าระหว่างกันเฉพาะวันนี้ 30 ล้านบาท โดยที่ระหว่างเยี่ยมชมพบปะคู่ธุรกิจทั้งสองประเทศ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้ความสนใจเป็นพิเศษโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มาจากท้องถิ่นจังหวัดใช้แดนภาคใต้ พร้อมให้กำลังใจประกอบธุรกิจและทุกฝ่ายให้ขายดีและกระทรวงพาณิชย์พร้อมให้การสนับสนุนตามนโยบายอย่างเต็มที่
แจ่ม! หน้ากากแฟชั่นผ้าบาติก โผล่งานมหกรรมการค้าชายแดนใต้ จุรินทร์-นิพนธ์ เชียร์ทำใช้ในท้องถิ่นและใช้ทดแทนตามที่ ก.สาธารณสุขแนะนำได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เยี่ยมชมบูธสินค้าหัตถกรรม งานผีมือผ้าบาติก สินค้าเด่นประจำท้องถิ่น แต่ละจังหวัดของภาคใต้ และอื่นๆในงานมหกรรมการค้าชายแดน ที่มีตั้งแต่ 13-16 กพ.2563 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และหลังพิธีเปิดเมื่อเวลา 20.30 น.ระหว่างเดินเยี่ยมชม รัฐมนตรีทั้ง 2 ให้ความสนใจบูธผ้าบาติก ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ผ้าประจำถิ่นประดิษฐ์เป็นหน้ากากใช้ทดแทนหน้ากากอนามัย ในระดับหนึ่ง และที่น่าสนใจคือทำเป็นลวดลายแฟชั่นสวยงาม
โดยนายจุรินทร์ ทดลองใช้ พร้อมกล่าวว่า ลักษณะ หน้ากากผ้าเช่นนี้ กระทรวงสาธารณสุข (กรมอนามัย และสำนักงานอาหารและยา ) เคยให้ข้อมูลว่าสามารถใช้ทดแทนป้องกันการติดต่อโรคได้ในระดับหนึ่ง โดยประชาชนทั่วไปใช้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ ยกเว้นที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ และรัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ตัดเย็บหน้ากากผ้าเช่นนี้ โดยให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นส่งเสริม ทั่วประเทศภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย โดยได้ดำเนินการส่งเสริมให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นจะทำหน้ากากผ้าขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนกรณีหน้ากากที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยทั่วไป ไม่สามารถดำเนินการได้ทันเพราะความต้องการเพิ่มสูงมาก อย่างไรก็ตามหน้ากากผ้านี้เหมือนกับเป็นแฟชั่นไปด้วย
"สวยครับอันนี้ออกแบบดีด้วย อันนี้เขายี่ห้อ Ise Mask โรงงานอยู่ในนราธิวาส เพราะฉะนั้นกลุ่มแม่บ้านหรือหน่วยการปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศสามารถที่จะไปใช้ออกแบบเพิ่มเติมได้ ที่นี่เป็นผ้านาโน นวัตกรรมนาโน ของจังหวัดปัตตานี มีโรงงานอยู่ที่นราธิวาส แบบนี้ต้องส่งเสริมให้หน่อยการปกครองท้องถิ่นตัดเย็บใช้กันเองหรือขายกันเองในหน่วยการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อที่จะใช้ทดแทนหน้ากากที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม และสามารถป้องกันได้ใกล้เคียงกัน ทางกระทรวงสาธารณสุขออกมาแถลงข่าวแล้ว" นายจุรินทร์ กล่าว
สำหรับ มหกรรมการค้าชายแดน ครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ ยังมีกำหนดการกิจกรรมส่งเสริมการค้าชายแดนภาคใต้ ณ อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส เป็นวันที่2 คือเวลา 9.00 น.วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2563 ) นายจุรินทร์จะเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความ ร่วมมือร่วมกันระหว่างธนาคารไทยกับมาเลเซีย คือ EXIM Bank ไทย กับ EXIM Bank มาเลเซีย และอีกคู่คือ SME Bank ไทย และ SME Bank มาเลเซีย ที่โรงแรมอิมพีเรียล จากนั้นเป็นการพบปะชมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย กับผู้ประกอบการมาเลเซีย โรงแรมอิมพีเรียล ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากนั้นต่อเนื่องด้วยการเป็นประธานการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย และเวลา 11.15 น.จะประธานเปิดงานสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวสู่การส่งออก” ที่โรงแรมอิมพีเรียล เช่นกัน
จุรินทร์ ดัน ผู้ประกอบการรายใหม่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 100 ราย ลุยสู้สร้างธุรกิจการค้าชายแดน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดงานสัมมนาพัฒนาการท่องเที่ยวสู่การส่งออก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.15 -12.40 น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้ผู้ประกอบการรายใหม่จาก 5 จังหวัด ชายแดนใต้จำนวน 100 ราย เช่น ผู้ประกอบการผ้าบาติก เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง อาหาร เป็นต้น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับวันนี้ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญของพวกเราในจังหวัดชายแดนใต้ ตนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เราก็เห็นความสำคัญของการค้าที่เห็นความสำคัญของการค้าก็เพราะว่าที่เราพูดกันว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในหนึ่งปี + 2% 3% 5% 7% ความจริงมันมาจากตัวเลขสองตัวที่มีความสำคัญมาก
ตัวเลขตัวที่หนึ่งคือจากการส่งออก ใน 100% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการส่งออกคือ 60% และการท่องเที่ยวมีสัดส่วน 10 กว่าเปอร์เซ็นต์แต่วันนี้เพิ่มมาเป็น 20 % การท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นเรื่องที่สำคัญมากจึงเป็นที่มาของกระทรวงพาณิชย์ในการจัดอบรมสัมมนาในวันนี้คือเอาการท่องเที่ยวและการส่งออกมาเชื่อมโยงกัน เพื่อทำให้ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเติบโตไปข้างหน้าได้และการที่เศรษฐกิจประเทศจะเติบโตไปข้างหน้าได้ เศรษฐกิจของพวกเราต้องมาเติบโตกันด้วย
ฉะนั้นพวกเราทุกคนจึงมีความสำคัญ และนี่คือนโยบายว่าจะทำอย่างไรให้เรารวยได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อที่จะให้ประเทศรวยขึ้นและหัวข้อวันนี้ก็คือหัวข้อพวกเราจะส่งออกสินค้าหรือบริการที่พวกเราจะผลิตอย่างไรโดยอาศัยการท่องเที่ยวมาเป็นสื่อนำ
“ผมเคยเป็นรัฐมนตรีท่องเที่ยวปี 2540 ในรัฐบาลชวน 2 จึงพอเข้าใจการดำเนินการในการท่องเที่ยวต้องทำอย่างไร ในสมัยนั้นมาเลเซียคือนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง แต่ในวันนี้เปลี่ยนไปจีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง วันนี้มาเลเซียกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับสอง เพราะว่ามาเลเซียมาง่ายกว่าจีน ซึ่งสามารถข้ามพรมแดนมาได้เนื่องจากชายแดนติดกัน นักท่องเที่ยวจะมาพร้อมกับเงิน เราจะเอาเงินจากนักท่องเที่ยวเก็บไว้ให้ประเทศไทยมากที่สุดอย่างไร โดยให้เขาซื้อของกลับไปด้วยโดยให้เป็นของฝาก อาหารสำเร็จรูปเครื่องใช้เครื่องประดับของตกแต่งบ้านที่สามารถซื้อกลับไปฝากได้ เขาจะซื้อเราก็ต่อเมื่อสินค้าเราเตะตา มีขนาดบรรจุภัณฑ์มีการขนส่งไม่ยุ่งยาก มีความสะดวกในการซื้อกลับไปหรือการบริหารจัดการให้กับเขาเพื่อให้เขานำกลับไปบ้านสะดวก”
"ผมเคยไปต่างประเทศซื้อโต๊ะทั้งชุดก็สามารถจัดส่งมาได้ ถ้าเรามีรูปแบบการบริการที่ดีคนที่จะซื้อก็มีมากขึ้นการจัดงานวันนี้จะเป็นประโยชน์แก่พวกเราและสนับสนุนนโยบายของผม รวมทั้งสนับสนุนผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่มีศักยภาพในการเติบโตไปในอนาคตโดยเฉพาะที่เป็นช้างเผือกอยู่ในภูมิภาคต่างๆอันนี้คือนโยบายสำคัญที่กระทรวงพาณิชย์ยุคนี้ช่วยสนับสนุนให้เขาได้เกิดในทางธุรกิจให้ได้ นี่จึงเป็นที่มาตัวอย่าง เช่นผู้ประกอบการภาคอีสานมีผู้ประกอบการเท่าไหร่จะพาไปเปิดตลาด CLMV ล่าสุด ผมไปเปิดตลาดที่กัมพูชามาไปเปิดบูทพิเศษ ให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก ที่นี่ก็เหมือนกัน 5 จังหวัดชายแดนใต้และควรได้รับโอกาสจากรัฐ"
นายจุรินทร์ กล่าวว่า โดยเฉพาะในส่วนที่ตนรับผิดชอบคือกระทรวงพาณิชย์ให้มีโอกาสเกิดตลาดท่องเที่ยวมีทั้งสองตลาด คือตลาดไทยเที่ยวไทยคือตลาดในประเทศ เราสามารถผลิตสินค้าขายนักท่องเที่ยวไทย และตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยเราต้องสามารถผลิตสินค้าบริการบริการขายให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อการส่งออกได้เดี๋ยวนี้ขายออนไลน์ได้ด้วย คิดว่าที่ประชุมวันนี้จะให้คำตอบวันสต็อปเซอร์วิสทุกเรื่องที่พูดมาโดยวิทยากรที่มีศักยภาพวิทยากรที่มีศักยภาพและประสบการณ์คาดว่าจะช่วยพวกเราได้เยอะทีเดียว
คต. และ สค. จัดบิ๊กอีเว้นต์ มหกรรมการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก นราธิวาส กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดนใต้
กรมการค้าต่างประเทศร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดมหกรรมการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก นราธิวาส ‘จุรินทร์’ เป็นประธานประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนการค้าชายแดนใต้ และแก้ไขอุปสรรคการค้า พร้อมจัดกิจกรรมคู่ขนาน ทั้งจัดแสดงสินค้าไทย-มาเลเซียกว่า 100 บูธ จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ร่วมกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ไทย - มาเลเซีย จัดงานมหกรรมการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก นราธิวาส ระหว่างวันที่ 13 - 16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมอิมพีเรียล อ.เมือง จ.นราธิวาส และสนามกีฬามหาราช อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส โดยได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธานการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายมูลค่าการค้าชายแดนไทย - มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการค้าการลงทุนบริเวณชายแดนภาคใต้ พร้อมกับพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs/Start up ให้มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดท้องถิ่นสู่สากล รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ภาครัฐ - เอกชนของไทยกับมาเลเซียในระดับท้องถิ่นของทั้ง 2 ประเทศ โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม อาทิ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม 14 จังหวัดภาคใต้ EXIM BANK ไทย และมาเลเซีย SME BANK ไทยและมาเลเซีย
โดยในการจัดงานดังกล่าวมีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยจะพิจารณาประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐผลักดัน เช่น การลดเวลาตรวจสอบเอกสารและพิธีศุลกากร ณ ด่านชายแดน การเร่งรัดจัดทำ MOU ว่าด้วยการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดนไทย – มาเลเซีย การเร่งรัดก่อสร้างเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างด่านศุลกากรแนวใหม่ของไทยกับฝั่งมาเลเซีย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีพิธีลงนาม MOU 4 ฝ่าย ได้แก่ EXIM Bank ไทย EXIM Bank มาเลเซีย SMEs Bank ไทย และ SMEs Bank มาเลเซีย เพื่อร่วมมือส่งเสริมการค้าระหว่าง SMEs ของไทยและมาเลเซีย รวมทั้งกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการภาคใต้ของไทย 50 ราย กับผู้นำเข้ามาเลเซีย 20 ราย และสัมมนา “การพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวสู่การส่งออก” ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนากว่า 100 คน
สำหรับงานจัดจำหน่ายสินค้าไทย – มาเลเซียกว่า 100 คูหา แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนสินค้าจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โซน e-Commerce Super Band โซนสินค้านานาชาติ โซนสินค้าตลาดคัดสรร และโซนกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากโครงการ YEN-D (Young Entrepreneur Network Development Program) ของไทยร่วมสร้างเครือข่ายทางการค้ากับผู้ประกอบการมาเลเซีย
นายกีรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ เห็นความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดมหกรรมการค้าชายแดนตั้งแต่ปี 2558 - 2562 รวมกว่า 18 ครั้ง และในปี 2563 กรมฯ ได้สานต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทยบริเวณชายแดนและเพิ่มอัตราการขยายตัวของมูลค่การค้าชายแดนและผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการบริการ ด้วยการบูรณาการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการขยายตลาด สร้างเครือข่ายพันธมิตรและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจไทยในประเทศเพื่อนบ้านต่อไป