WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa KWTOนอกรอบ

พาณิชย์ ร่วมประชุมผลักดันการปฏิรูป WTO การเจรจาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอุดหนุนสินค้าเกษตร-ประมง

    กระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกอย่างไม่เป็นทางการ (IMG) ผลักดันการปฏิรูปองค์การการค้าโลกให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส การเจรจาจัดทำกฎระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอุดหนุนประมง และการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนตลาดของสมาชิก WTO ซึ่งจะช่วยให้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้นและมีราคาดีขึ้น

   นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกอย่างไม่เป็นทางการ (Informal WTO Ministerial Gathering: IMG) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ (Cairns.Group) และกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม 2563 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองกับประเทศสมาชิก WTO กว่า 30 ประเทศ ในการผลักดันการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (MC12) ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 11 มิถุนายน 2563 ณ กรุงนูร์-ซุลตัน สาธารณรัฐคาซัคสถาน ให้สามารถสรุปผลในประเด็นสำคัญได้อย่างเป็นรูปธรรม

     นายสรรเสริญ กล่าวว่า สำหรับการประชุม IMG ไทยได้ร่วมผลักดันประเด็นสำคัญที่จะเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์การประชุม MC12 อาทิ การปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO Reform) เพื่อปรับปรุงการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำให้ประเทศสมาชิก WTO.แจ้งการดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณี (notification) รวมถึงผลักดันการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมงให้สามารถสรุปผลได้ โดยการประมงพื้นบ้านควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ของสหประชาชาติ และรักษาทรัพยากรประมง โดยเฉพาะการห้ามอุดหนุนประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) รวมถึงสร้างกติกาด้านการอุดหนุนประมงที่ทำให้เกิดการอุดหนุนประมงเกินขนาด (overfishing) และเกินศักยภาพ (overcapacity) รวมถึงการทำประมงในพื้นที่ที่มีการทำประมงเกินขนาด (overfished stocks) นอกจากนี้ ไทยได้ร่วมผลักดันการแก้ไขปัญหาการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ ซึ่งส่งผลให้องค์กรอุทธรณ์ต้องหยุดชะงัก ตลอดจนสานต่อการเจรจาเกี่ยวกับสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนทางการค้า

   นายสรรเสริญ กล่าวเสริมว่า ไทยในฐานะสมาชิกกลุ่มเครนส์ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 19 ประเทศ ได้ร่วมผลักดันข้อเสนอให้ลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนตลาด ซึ่งปัจจุบันสมาชิก WTO ได้ให้การอุดหนุนที่บิดเบือนการค้ารวมกันสูงถึง 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอย่างไทย โดยกลุ่มเครนส์ได้เสนอให้ประเทศสมาชิก WTO ทั้งหมด 164 ประเทศ ร่วมกันลดการอุดหนุนที่บิดเบือนตลาดร้อยละ 50 ของปริมาณการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนตลาดของประเทศสมาชิก WTO ทั้งหมด ภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้นและมีราคาดีขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศที่มีการอุดหนุนสินค้าเกษตรสูงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก จะต้องลดการอุดหนุนตั้งแต่ร้อยละ 47-82 ของการอุดหนุนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการอุดหนุนของไทย โดยยังสามารถอุดหนุนสินค้าเกษตรได้ไม่น้อยกว่าเดิม

    นอกจากนี้ ไทยได้ร่วมผลักดันการเจรจาจัดทำกฎระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและ อำนวยความสะดวกกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคและทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยในปี 2562 การค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยต้องการเห็นความคืบหน้าในการเจรจาอย่างเป็นรูปธรรม ภายในการประชุม MC12 ที่จะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้

 

ไทยร่วมถกรัฐมนตรี WTO นอกรอบ ดันปฏิรูปองค์กร จี้เลิกอุดหนุนประมง-เกษตร

    สรรเสริญ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกอย่างไม่เป็นทางการ ใช้โอกาสนี้ผลักดันให้มีการปฏิรูป WTO ให้มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาองค์กรอุทธรณ์เดี้ยง พร้อมลุยผลักดันยกเลิกการอุดหนุนประมงและสินค้าเกษตร ทำกฎระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อนชงรัฐมนตรี WTO พิจารณาขับเคลื่อนในการประชุมเดือนมิ.ย.ที่คาซัคสถาน

    นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 23-24 ม.ค.2563 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกอย่างไม่เป็นทางการ (Informal WTO Ministerial Gathering: IMG) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ (Cairns.Group) และกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส โดยไทยได้ใช้โอกาสนี้ แสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองกับประเทศสมาชิก WTO กว่า 30 ประเทศ ในการผลักดันประเด็นการปฏิรูป WTO เพื่อปรับปรุงการทำงานของ WTO ให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยิ่งขึ้น และจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ ซึ่งส่งผลให้องค์กรอุทธรณ์ต้องหยุดชะงัก ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางการค้าได้

     ส่วนการเจรจาเรื่องการอุดหนุนประมง ได้ผลักดันในเรื่องการประมงพื้นบ้าน ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และรักษาทรัพยากรประมง โดยเฉพาะการห้ามอุดหนุนประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) รวมถึงสร้างกติกาด้านการอุดหนุนประมงที่ทำให้เกิดการอุดหนุนประมงเกินขนาดและเกินศักยภาพ รวมถึงการทำประมงในพื้นที่ที่มีการทำประมงเกินขนาด 

     สำหรับ การอุดหนุนการเกษตร ไทยในฐานะสมาชิกกลุ่มเครนส์ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 19 ประเทศ ได้ร่วมผลักดันข้อเสนอให้ลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนตลาด ซึ่งปัจจุบันสมาชิก WTO ได้ให้การอุดหนุนที่บิดเบือนการค้ารวมกันสูงถึง 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอย่างไทย โดยกลุ่มเครนส์ได้เสนอให้ประเทศสมาชิก WTO ทั้งหมด 164 ประเทศ ร่วมกันลดการอุดหนุนที่บิดเบือนตลาดลง 50% ของปริมาณการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนตลาดของประเทศสมาชิก WTO ทั้งหมด ภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ สามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้นและมีราคาดีขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศที่มีการอุดหนุนสินค้าเกษตรสูงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก จะต้องลดการอุดหนุนตั้งแต่ 47–82% ของการอุดหนุนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการอุดหนุนของไทย โดยยังสามารถอุดหนุนสินค้าเกษตรได้ไม่น้อยกว่าเดิม

   นอกจากนี้ ไทยได้ร่วมผลักดันการเจรจาจัดทำกฎระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและ อำนวยความสะดวกกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนคุ้มครองผู้บริโภคและทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยในปี 2562 การค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

     ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอผลการประชุมให้กับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (MC12) ที่จะประชุมกันในวันที่  8–11 มิ.ย.2563 ณ กรุงนูร์-ซุลตัน สาธารณรัฐคาซัคสถานต่อไป โดยสมาชิก WTO ต้องการเห็นความคืบหน้าในการเจรจาอย่างเป็นรูปธรรม 

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!