WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa กีรติ รัชโน

พาณิชย์ เผย 11 เดือนปี 62 อาเซียนแชมป์ใช้สิทธิ FTA ส่งออก สหรัฐฯ นำโด่งใช้ GSP

       กรมการค้าต่างประเทศ เผยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ช่วง 11 เดือนปี 62 มีมูลค่ารวม 65,642.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.14% อาเซียนนำโด่งใช้สิทธิ FTA สูงสุด ตามด้วยจีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ส่วนการใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ยังครองแชมป์ใช้มากสุด 

      นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในช่วง 11 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์รวมอยู่ที่ 65,642.88 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 75.98% ของมูลค่าที่ได้สิทธิทั้งหมด ลดลง 4.14% แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA มูลค่า 60,790.30 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 77.26% ของมูลค่าการส่งออกรวมในรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิมูลค่า 78,679.96 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.52% ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการส่งออกภาพรวมที่ลดลง และยังมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า และการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การส่งออกลดลง จึงมีการใช้สิทธิลดลงตาม และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP มูลค่า 4,852.57 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 62.87% ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิมูลค่า 7,718.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.44%

       ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยมี FTA รวม 13 ฉบับ แต่มีการใช้สิทธิ FTA ส่งออก 11 ฉบับ เนื่องจากไม่คิดรวมความตกลงอาเซียน-ฮ่องกงที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.2562 และไทย-นิวซีแลนด์ ที่ใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก (Self-declaration) และหากติดตามเป็นราย FTA พบว่า ตลาดที่ไทยใช้สิทธิส่งออกสูงสุด 5 อันดับ อาเซียนยังคงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ส่วน FTA ที่มีอัตราการใช้สิทธิสูงสุด 5 อันดับ คือ ไทย-ชิลี ใช้ 100% ไทย-เปรู 93.28% อาเซียน-จีน 90.94% ไทย-ญี่ปุ่น 88.88% และอาเซียน-เกาหลี 82.86% และ FTA ที่ใช้สิทธิลดลง คือ อาเซียน ลด 8.27% ออสเตรเลีย ลด 15.00% ชิลี ลด 29.19% อินเดีย ลด 3.33% ญี่ปุ่น ลด 0.81% และเกาหลี ลด 6.12%

       สำหรับ รายการสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ทุเรียนสด น้ำตาลจากอ้อย และผลไม้ประเภทฝรั่ง มะม่วง และมังคุดสดหรือแห้ง

      ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใน GSP ที่ปัจจุบันมีจำนวน 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ พบว่า ตลาดที่ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP มากที่สุด ยังคงเป็นสหรัฐฯ มีมูลค่า 4,413.48 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิ 67.03% ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ ซึ่งมีมูลค่า 6,583.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% รองลงมา คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิ 283.27 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการใช้สิทธิ 35.49% เพิ่มขึ้น 2.27% รัสเซียและเครือรัฐ มีมูลค่าการใช้สิทธิ 129.30 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการใช้สิทธิ 80.77% ลดลง 15.14% และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิ 25.39 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิ 100% เพิ่มขึ้น 35.99%

         โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยางอื่นๆ อาหารปรุงแต่งอื่นๆ น้ำผลไม้ และเลนส์แว่นตา

พาณิชย์เผย 11 เดือนปี 62 มูลค่าใช้สิทธิ FTA อยู่ที่ 6.56 หมื่นลบ.

  พาณิชย์ เผยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA ในช่วง 11 เดือนของปี 2562 มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 65,642.88 ล้านเหรียญ  มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ  75.98% ลดลงที่ 4.14% 

 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2562 โดยมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 65,642.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 75.98 ลดลงที่ร้อยละ 4.14

 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 60,790.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 4,852.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  การใช้สิทธิประโยชน์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม – พฤศจิกายน) ภายใต้ความตกลง FTA ของไทยจำนวน 11 ฉบับ จาก FTA ที่ไทยมีรวมทั้งหมด 13 ฉบับ เนื่องจากไม่คิดรวมความตกลงอาเซียน-ฮ่องกงที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 และ ไทย-นิวซีแลนด์ ที่ใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของผู้ส่งออก (Self-declaration) มีมูลค่า 60,790.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 77.26 ของมูลค่าการส่งออกรวมในรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 78,679.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  สอดคล้องกับทิศทางการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 2.8 ซึ่งยังคงลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 5.52 โดยยังคงมีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอันเนื่องมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงปัจจัยด้านค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ FTA ในภาพรวมจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาแต่ยังมีบางตลาดที่มีการขยายตัวของอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ

     ได้แก่ 1) เปรู ขยายตัวดีที่ร้อยละ 31.96 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น ถุงมือใช้ในทางศัลยกรรม รถจักรยานยนต์ความจุกระบอกสูบ 250-500 ลบ.ซม. มอนิเตอร์และเครื่องฉาย เป็นต้น 2) จีน ขยายตัวที่ร้อยละ 2.17 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ทุเรียนสด ผลไม้ประเภทฝรั่ง มะม่วง และมังคุดสดหรือแห้ง เป็นต้น และ 3) นิวซีแลนด์ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.77 มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น เครื่องประดับที่ทำจากเงิน แผ่นและแถบทำด้วยอะลูมิเนียม แผ่นฟิล์มทำด้วยพลาสติก เป็นต้น

  สำหรับ ตลาดที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ FTA ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อาเซียน (ลดลงร้อยละ 8.27) ออสเตรเลีย (ลดลงร้อยละ 15.00) ชิลี (ลดลงร้อยละ 29.19) อินเดีย (ลดลงร้อยละ 3.33) ญี่ปุ่น (ลดลงร้อยละ 0.81) และเกาหลี (ลดลงร้อยละ 6.12)

 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง FTA สูงสุด 5 อันดับแรกยังคงเป็น 1) อาเซียน (มูลค่า 22,716.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2) จีน (มูลค่า 16,566.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 3) ออสเตรเลีย (มูลค่า 7,285.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) 4) ญี่ปุ่น (มูลค่า 6,971.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 5) อินเดีย (มูลค่า 3,963.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

  กรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ไทย-ชิลี (ร้อยละ 100) 2) ไทย-เปรู (ร้อยละ 93.28) 3) อาเซียน-จีน (ร้อยละ 90.94) 4) ไทย-ญี่ปุ่น (ร้อยละ 88.88) และ 5) อาเซียน-เกาหลี (ร้อยละ 82.86) สำหรับรายการสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ทุเรียนสด น้ำตาลจากอ้อย และผลไม้ประเภทฝรั่ง มะม่วง และมังคุดสดหรือแห้ง

 การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ระหว่างเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2562 ไทยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP จำนวน 4 ระบบ คือ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ โดยมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP 11 เดือนแรกอยู่ที่ 4,852.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 62.87 ของมูลค่าการส่งออกรวมในรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าซึ่งมีมูลค่า 7,718.52 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 17.44

  สำหรับ 11 เดือนแรกของปี 2562 ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการใช้สิทธิอยู่ที่ 4,413.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 67.03 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิฯ ซึ่งมีมูลค่า 6,583.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 11 ถัดมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 283.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการใช้สิทธิฯ ที่ร้อยละ 35.49 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งมีมูลค่า 798.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 2.27 ในส่วนประเทศรัสเซียและเครือรัฐ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 129.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการใช้สิทธิฯ ที่ร้อยละ 80.77 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งมีมูลค่า 160.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 15.14 และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 25.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการใช้สิทธิฯ ที่ร้อยละ 100 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งมีมูลค่า 25.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 35.99

 สำหรับ สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยางอื่นๆ อาหารปรุงแต่งอื่นๆ น้ำผลไม้ และเลนส์แว่นตา

   ในปี 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายต่างๆ อาทิ สงครามการค้า ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP สินค้าไทยบางรายการ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศต่อเนื่องถึงปี 2563

  อย่างไรก็ดี สำหรับกรณีสหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP สินค้าไทยบางรายการ ควบคู่ไปกับการเจรจากับฝ่ายสหรัฐฯ กรมฯ ได้ส่งแบบสอบถามเพื่อสำรวจผลกระทบและมาตรการบรรเทาที่ภาคเอกชนประสงค์จะได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงได้จัดประชุมหารือเพื่อเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องแล้ว 2 ครั้ง

  ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เพื่อติดตามผลกระทบต่อการส่งออกไทย โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 เพื่อหารือมาตรการรองรับผลกระทบต่อผู้ส่งออกที่มีการพึ่งพาสิทธิ GSP โดยในการประชุมครั้งที่ 2 นี้ กรมฯ ได้ประสานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย/สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อเชิญผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เช่น อาหารปรุงแต่ง เซรามิก เคมีภัณฑ์ เครื่องหนังฟอก กลุ่มไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเหล็ก เข้าร่วมประชุมฯ และแจ้งข้อมูลเพื่อให้กรมฯ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลผลกระทบและความต้องการที่แท้จริงของภาคเอกชน

   ซึ่งภาครัฐได้เตรียมมาตรการรองรับทั้งระยะสั้นและระยาวที่สามารถให้การสนับสนุนและ สรุปได้ 4 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและเข้าถึงแหล่งเงินทุน 2) ด้านตลาด อาทิ เร่งทำข้อตกลงทางการค้าโดยเฉพาะกับสหภาพยุโรป และ RCEP พร้อมสนับสนุนกิจกรรมการขยายตลาดใหม่โดยการจัดแสดงสินค้าในต่างประเทศ การจัดคณะนักลงทุน/นักธุรกิจร่วมกิจกรรมเจรจาธุรกิจ (Business matching) รวมถึงการสนับสนุนในลักษณะพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในการเข้าสู่ตลาดใหม่

   3) ด้านการอำนวยความสะดวก อาทิ ลดต้นทุนการผลิต ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และ 4) ด้านการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและสร้างนวัตกรรม เช่น ส่งเสริมการลงทุน R&D สนับสนุนการนำงานวิจัยมาต่อยอดเชิงพาณิชย์ และสร้าง Startup/ผู้ประกอบการสินค้านวัตกรรมในตลาดสหรัฐฯ ในระยะต่อไป กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการรองรับผลกระทบในรายละเอียดเพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนอย่างแท้จริงต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!