WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Aoramon1กรมเจรจาฯ’ ปลื้ม มูลค่าการค้าไทยกับ 18 ประเทศคู่เอฟทีเอรอบ 5 ปี สูงกว่ากลุ่มประเทศที่ไทยไม่มีเอฟทีเอกว่า 4 เท่าตัว

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยผลการติดตามมูลค่าการค้าไทยกับ 18 ประเทศที่มีเอฟทีเอ พบว่า ในรอบ 5 ปี ขยายตัวเฉลี่ยถึง 3.31% สูงกว่ากลุ่มประเทศที่ไทยไม่มีเอฟทีเอกว่า 4 เท่าตัว พร้อมเตรียมปิดดีล กับศรีลังกา ปากีสถาน ตุรกีภายในปี 2563 เพื่อขยายโอกาสการค้าการลงทุนไทยในเวทีโลก

     นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามมูลค่าการค้าของไทยกับ 18 ประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557–2561) การส่งออกของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอ เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 3.31 สูงกว่าการส่งออกไปประเทศที่ไม่มีเอฟทีเอด้วย ซึ่งเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.75 สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ 18 ประเทศคู่เอฟทีเอ ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2562 เป็น 253,898.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 62.4 ของมูลค่าการค้าไทยกับโลก เป็นการส่งออก 128,271.2  ล้านเหรียญสหรัฐ

     และนำเข้า 125,626.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คู่เอฟทีเอที่ไทยค้าด้วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ อาเซียน 90,737 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ จีน 65,155 ล้านเหรียญสหรัฐ ญี่ปุ่น 48,733 ล้านเหรียญสหรัฐ ออสเตรเลีย 12,225 ล้านเหรียญสหรัฐ และ เกาหลีใต้ 11,297 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้ากับประเทศส่วนใหญ่ เช่น อาเซียน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลิ และฮ่องกง สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น  รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญของไทย เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก และผลิตภัณฑ์

     นางอรมน เสริมว่า ในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย) ของปี 2562 ไทยส่งออกโดยใช้สิทธิเอฟทีเอ 50,312.06 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 78.25 ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ และนำเข้าโดยใช้สิทธิเอฟทีเอ 27,594.41 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 52.25 ของการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิ กรอบเอฟทีเอที่ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ อาเซียน จีน และออสเตรเลีย และสินค้าที่ใช้สิทธิเอฟทีเอสูงสุด 3 อันดับแรก คือ   ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

     “เอฟทีเอเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ท่ามกลางแนวโน้มการกีดกันการค้าและความไม่แน่นอนของการค้าโลก กรมฯ ได้ตอบสนองนโยบายรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ที่ให้เร่งสรุปเอฟทีเอที่อยู่ระหว่างการเจรจา เช่น ไทย-ตุรกี ไทย-ปากีสถาน ไทย-ศรีลังกา ให้เสร็จภายในปี 2563 และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดการเจรจาเอฟทีเอกรอบใหม่ๆ  เพื่อแสวงโอกาส และ ลดอุปสรรคทางการค้าให้กับสินค้าและบริการของไทย ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการค้าและการส่งออกของไทยขยายตัว มีแต้มต่อในการแข่งขัน ที่สำคัญอยากให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญและใช้ประโยชน์จากความตกลงเอฟทีเอที่มีอยู่ เพิ่มโอกาสการส่งออก และอาจนำเข้าวัตถุดิบราคาถูก หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาต่อยอดและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าและบริการของไทย”นางอรมนกล่าว

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!