- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Tuesday, 07 October 2014 00:07
- Hits: 2460
'หม่อมอุ๋ย'เผย มติ นบข.สั่งชะลอขายข้าวนาปีหอมมะลิ-ข้าวนึ่งออกใหม่ 15 ล้านตัน คาดปีนี้ไทยส่งออกข้าว 10 ล้านตัน ปีหน้าส่งออกได้ 11 ล้านตัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) ยืนยันมติเดิมที่ให้ชะลอ การขายข้าวนาปีที่จะออกใหม่ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ในส่วนที่เป็นข้าวหอม มะลิและข้าวนึ่ง จำนวน 15 ล้านตัน เพื่อกันไม่ให้ข้าวที่ออกใหม่กระทบต่อ ราคาตลาด และ จะทำให้ราคาข้าวในปัจจุบันไม่ตกลงด้วย
ขณะนี้ราคาข้าวหอมมะลิและข้าวนึ่งยังดีอยู่ แต่เราจะใช้วิธีกันไม่ให้ กระทบ ซึ่งวิธีกันไม่ให้กระทบคือ ชะลอการขายหรือไม่เร่งขาย ก็เป็นวิธีเดิมที่ เคยอนุมัติไปคราวก่อน ด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้จะทำให้ข้าวราคาไม่ตก และทำให้ ข้าวมีราคาสูงขึ้นด้วย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวด้วยว่าว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จะมีสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่ชะลอการขายข้าวทั้งสองชนิด โดยจะให้เก็บข้าวไว้ ในยุ้งฉางของเกษตรกรเอง ไม่ใช่โรงสี ซึ่งเกษตรกรสามารถมาขอสินเชื่อได้ 80% ของมูลค่า โดยเกษตรกรก็รอให้ราคาขึ้นก่อน แล้วค่อยขายก็ได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ข้าวนาปีที่จะออกในเดือนพ.ย.-ธ.ค. มีทั้งหมด 27 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวหอมมะลิและข้าวนึ่ง 15 ล้านตัน ซึ่งจะ ชะลอการขาย ส่วนที่เหลืออีก 12 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวขาวคุณภาพสูงประมาณ 5 ล้านตัน และข้าวขาวคุณภาพต่ำ 6-7 ล้านตัน ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องดูแล โดยกระทรวงพาณิชย์จะมีวงเงินที่จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้กับโรงสี ที่จะซื้อข้าว กลุ่มนี้ไปเก็บไว้ เพื่อรอราคาตลาดโลกแล้วค่อยขาย
"ใช้มาตรการนี้จะทำให้ราคาปัจจุบันดีขึ้น" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว
สำหรับในปีนี้ คาดว่า ไทยจะส่งออกข้าวได้ 10 ล้านตัน และน่าจะเป็น อันดับหนึ่งของโลก และในปีหน้าส่งออกได้ 11 ล้านตัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
นบข.มีมติให้ชะลอขายข้าวหอมมะลิ-ข้าวนึ่ง/มอบมท.ดูแลจัดโซนนิ่งในระยะยาว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (นบข.) นัดแรก ว่า ได้มีการพูดถึงมาตรการเร่งด่วนระยะสั้นและมาตรการระยะยาว รวมถึงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าวที่เหลืออยู่ 2-3 จังหวัด ว่า ในขณะนี้ความต้องการข้าวมีอยู่ในทุกพื้นที่ แต่ราคาข้าวทั้งโลกไม่สูงมากขึ้น เพราะทั่วโลกมีการปลูกข้าวมากขึ้น และมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น แต่ก็เป็นที่น่ายินดีที่ไทยยังสามารถครองแชมป์ส่งออกข้าวสูงสุดของอาเซียน แต่รัฐบาลก็จะพยายามหามาตรการทำให้ราคาสูงขึ้น เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม รวมถึงดูความต้องการของตลาด
"ยืนยันว่าขณะนี้รัฐบาลเดินหน้าการทำงานเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้ว การผลักดันโครงการต่างๆ ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และเป็นการวางรากฐานในอนาคต"นายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรชาวนา จะแบ่งกลุ่มเพื่อดูแลและแก้ปัญหาให้อย่างเป็นระบบ 4 กลุ่ม คือ 1.เกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อย 2.เกษตรกรที่มีที่ดิน 40 ไร่ขึ้นไป 3.ชาวนาที่มีเงินทุน มีเครื่องมือจักรกลทางการเกษตร ทำให้ได้ผลผลิตมากและมีคุณภาพ 4.เป็นเจ้าของที่ดินและปล่อยเช่าให้ชาวนาคนอื่นๆ
สำหรับ มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล จะให้ศูนย์ดำรงธรรมและเกษตรจังหวัดทำหน้าที่ประสานกันในการขับเคลื่อนช่วยเหลือเกษตรกร กำหนดพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกหรือจัดโซนนิ่ง โดยจะให้กระทรวงมหาดไทยเป็นประธานทำงาน ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นต้นแบบในการนำไปใช้กับพืชชนิดอื่น เช่น ยางพารา รวมทั้งจะดูแลการขึ้นทะเบียนชาวนา
ทั้งนี้ มีแนวคิดจะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยให้ทุกกระทรวงดูแลเรื่องการหาทุนการศึกษาให้ลูกชาวนา เพื่อที่จะเติบโตเกษตรกรที่ดีในอนาคต
"ผมมีความคิดจะส่งเสริมให้คนรักชาวนา ทำอย่างไรให้คนทั่วโลกให้มากินข้าวไม่ใช่กินขนมปัง ให้คนทั่วโลกกินข้าวมากขึ้นร่างกายจะได้แข็งแรงและจะทำให้เราขายข้าวได้มากขึ้น"
นอกจากนี้ มีแนวคิดจะพัฒนาให้พื้นที่ปลูกข้าวเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพื้นบ้าน ให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้การปลูกข้าวทุกขั้นตอน
ด้านม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ที่ประชุม นบข. ได้หารือมาตรการรับมือกับข้าวที่จะทยอยออกมาในเดือน พ.ย. และ ธ.ค.นี้ ซึ่งมีประมาณ 27 ล้านเกวียน แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 8 ล้านเกวียน ข้าวนึ่ง 7 ล้านเกวียน และข้าวขาว ซึ่งมีแนวทางในการช่วยเหลือ ข้าวหอมมะลิ และข้าวนึ่ง จะให้ชาวนาเก็บไว้ในยุ้งฉางของตนเอง รอจนกว่าราคาจะดีขึ้น โดย ธ.ก.ส. จะให้สินเชื่อร้อยละ 80 ของมูลค่าข้าวให้กับชาวนา
ส่วนข้าวขาว ซึ่งแบ่งเป็นข้าวขายเกรดสูง ประมาณ 5 ล้านเกวียน จะมีราคาที่ดีอยู่แล้ว ส่วนข้าวขาวคุณภาพต่ำ ประมาณ 6-7 ล้านเกวียนนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับโรงสี เพื่อรับซื้อข้าวขาวคุณภาพต่ำมาเก็บไว้ รอการขาย
มาตรการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการทันที เนื่องจากมีชาวนาได้มาขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว และจะนำมาตรการดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุม ครม. ในวันพรุ่งนี้ (7 ต.ค.)
ส่วนมาตรการระยะยาว ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาทำงาน 2 คณะ คณะแรกจะเข้ามาดูการจัดทำโซนนิ่งเกษตร ส่วนอีกคณะจะดูแลเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกร จะสำรวจพื้นที่ทำเกษตรอย่างชัดเจนเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย อีกทั้งส่งเสริมให้ชาวนาลดพื้นที่การทำนาปรัง ซึ่งจะตรงกับช่วงฤดูแล้ง โดยรัฐบาลก็จะเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และจะมีการจัดทำแผน เสนอมายังที่ประชุมในครั้งต่อไป
"มาตรการในระยะยาว จะดูแลชาวนาในรูปแบบไม่ให้ราคาข้าวตกต่ำ แต่ราคาข้าวจะสูงขึ้นหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดโลก โดยปัจจุบันราคาข้าวขาวอยู่ที่ 7,000-8,000 บาท"
ส่วนการระบายสต็อกข้าวของรัฐบาล กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดในเดือน ส.ค.-ก.ย. ระบายข้าวได้ถึง 9 แสนตัน แต่จะไม่มีการระบายสต็อกข้าว ในช่วงที่ข้าวของชาวนาออกมามาก
รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ยังเชื่อมั่นว่า ไทยจะกลับมาครองแชมป์ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยขอดูตัวเลขการส่งออกในเดือนธ.ค.นี้ก่อน
พร้อมยืนยัน ว่า มาตรการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1 พันบาทนั้น ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนไว้จะได้รับเงินอย่างแน่นอน ผ่านทางบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยไม่มีเจ้าของที่ดินเข้ามาสวมสิทธิ์หรือรับเงินแทนชาวนา ซึ่งขณะนี้มีชาวนาตัวจริงมาลงทะเบียนไว้ประมาณ 3.4 ล้านครัวเรือน
อินโฟเควสท์
เข็นยุทธศาสตร์ข้าวห่วง'นาปี'ราคาตก
ไทยโพสต์ : นนทบุรี * พาณิชย์คาดคลอดยุทธศาสตร์ข้าวไทยได้เดือน ต.ค.นี้ หวังยกระดับการผลิต การตลาด ดันชาวนามีรายได้สูง ความเป็นอยู่ดีขึ้น ย้ำไม่บิดเบือนราคา ด้านผู้ส่งออกห่วงข้าวเปลือกนาปี 2557/58 ตกต่ำลงอีก หลังผลผลิตน่าจะเพิ่มเป็น 24 ล้านตัน
นายบุณยฤทธิ์ กัลยา ณมิตร อธิบดีกรมการค้าภาย ใน เปิดเผยว่า กรมอยู่ระหว่างจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทย ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล เพื่อยกระดับการผลิตและการตลาดข้าวไทยให้สูงขึ้น เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวในอาเซียน และเป็นผู้ชี้นำราคาข้าวในตลาดโลก
ทั้งนี้ ได้มีการหารือการ จัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน อย่างกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัว แทนชาวนา สมาคมโรงสีข้าวไทย และสมาคมผู้ส่งออกข้าว ไทยแล้วหลายครั้ง คาดว่าจะ แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เห็นชอบ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธาน เห็นชอบต่อไป
สำหรับ ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะเป็นการแก้ปัญหาราคาข้าวของไทยในระยะยาว ซึ่งจะมีทั้งยุทธศาสตร์ด้านการ ผลิตและการตลาด โดยในส่วนของด้านการผลิต อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง เกษตรฯ เช่น การจัดทำโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่เหมาะสม ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จะ มีมาตรการส่งเสริมและสนับ สนุนให้ชาวนาปลูกพืชเศรษฐ กิจอื่นทดแทน เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ส่วนกระ ทรวงพาณิชย์รับผิดชอบด้าน การตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นให้กลไกตลาดทำงานอย่างสมบูรณ์ ไม่ มีการบิดเบือนใดๆ ทั้งสิ้น
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ส่งออกเป็นห่วงราคาข้าวเปลือกในประเทศปีการผลิต 2557/58 ที่อาจจะลดต่ำลงอีก เพราะคาดว่าผลผลิตน่าจะออกมามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ว่าจะลดลงจาก ปัญหาภัยแล้ง โดยคาดว่าผล ผลิตน่าจะอยู่ที่ประมาณ 24 ล้านตันข้าวเปลือก