WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล

วีรศักดิ์ นำทีมลงพื้นที่ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ...ปลุกเอกชน เร่งปั้นธุรกิจรองรับสังคมผู้สูงอายุ หวังเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนไทยวัยเกษียณ

    รมช.พณ.ลงพื้นที่เยี่ยมธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ พร้อมจับเข่าคุยรับฟังปัญหาและอุปสรรคในธุรกิจ ออกสตาร์ทไปแห่งแรกที่ เดอะ ซีนิเซนส์ เนอสซิ่งโฮม และรพ.ผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุระดับพรีเมี่ยม จากนั้นไปต่อที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เอเชียเนอร์สซิ่งโฮม สำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้ปานกลาง โดยทั้ง 2 แห่งให้บริการดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่บริการทางการแพทย์จนถึงที่พัก...มั่นใจนักธุรกิจไทย มีศักยภาพช่วยดันธุรกิจนี้ไปต่อได้แน่! และกระทรวงฯ จะเร่งหาแนวทางจูงใจให้เอกชนมาลงทุนเพิ่มขึ้น เติมช่องว่างในตลาดให้เต็ม รองรับการไปสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี 2573

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งพัฒนาธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศให้มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีสถานดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสวัสดิการให้บริการประชาชนอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุในอนาคต ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มีจำนวนธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่จัดตั้งโดยบุคคลธรรมดาในไทยทั้งหมดกี่ราย เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ธุรกิจนี้ต้องจดทะเบียนธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากฐานข้อมูลของกรมฯ พบว่า มีธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่จดทะเบียนนิติบุคคลในปี 2561 จำนวน 273 ราย มีรายได้รวมจำนวน 175.24 ล้านบาท (จากผู้ยื่นงบการเงิน 165 ราย) ดังนั้น จึงต้องเร่งหาวิธีสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไป ประกอบกับรองรับจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยที่คาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีสัดส่วนมากถึง 17.4 ล้านคน หรือร้อยละ 26.57 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ หากปล่อยให้ผู้สูงอายุในจำนวนนี้ไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือไม่สามารถดูแลตนเองได้ก็จะทำให้ภาครัฐขาดกำลังคนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

       รมช. พณ. กล่าวต่อว่า "ในวันนี้ (7 พฤศจิกายน 2562) ได้มีโอกาสลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ ดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชน พร้อมกับได้พบปะพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจ เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ สำหรับนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย และจะได้กำหนดทิศทางได้อย่างตรงจุด โดยได้เดินทางไปยังสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นระดับมืออาชีพและให้บริการที่ตอบสนองต่อผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อแตกต่างกัน จำนวน 2 แห่ง ดังนี้ แห่งที่ 1 เดอะ ซีนิเซนส์ เนอสซิ่งโฮม (The SENIZENS) เป็นโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป และช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีการออกแบบอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ สร้างสังคมและกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุที่เข้ามาพักอาศัยมีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 35,000-98,000 บาท และโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม (Chersery home) บริหารงานโดย บริษัท เค.พี.เอ็น.ซีเนียร์ลิฟวิ่ง จำกัด ให้บริการด้านการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยในทุกมิติทางด้านการแพทย์และการดูแลต่อเนื่องในระยะสั้น-ยาว หลังออกจากโรงพยาบาล โดยทีมงานคุณภาพที่มีประสบการณ์ภายใต้บรรยากาศที่ดีและเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ มีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 58,000-125,000 บาท"

        "และแห่งที่ 2 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เอเชีย เนอร์สซิ่งโฮม (Asia Nursing Home) บริหารงานโดย บริษัท บางกอก เฮลท์แคร์เซอร์วิส จำกัด เป็นสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุทั้งที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้ มีนักกายภาพบำบัดคอยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และให้บริการกายภาพบำบัดจากมืออาชีพ มีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 25,000-35,000 บาท จากการเยี่ยมชมในครั้งนี้ทำให้มองเห็นภาพอนาคตของการพัฒนาธุรกิจดูแลผู้สูงอายุได้ชัดเจนมากขึ้น และเห็นถึงโอกาสและศักยภาพของ ผู้ประกอบธุรกิจไทยที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การออกแบบที่พักอาศัยเพื่อผู้สูงอายุ การบริการท่องเที่ยว บริการทางการเงิน ประกันสุขภาพ/ชีวิต การออกแบบโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ สถานที่ออกกำลังกาย/ที่ทำกิจกรรม และการบริการจัดงานศพแบบครบวงจร เป็นต้น"

     "ดังนั้น ในปี 2563 กระทรวงพาณิชย์จึงมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมธุรกิจดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจให้สามารถบริหารจัดการธุรกิจและมีมาตรฐานตามหลักสากล การพัฒนาศักยภาพการตลาดให้ธุรกิจกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน และสร้างโอกาสทางการตลาดให้ธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่ตลาดออนไลน์ซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญเพราะปัจจุบันวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้สูงอายุได้เปลี่ยนไปจากเดิมสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น สนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยมองว่าชีวิตหลังเกษียณคือการเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง และมีการเข้าสังคมในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น อาทิ การออกกำลังกาย การท่องเที่ยวแบบทัวร์ หรือการใช้ Social Media สื่อสารระหว่างเพื่อนและลูกหลาน เป็นต้น"

        "ทั้งนี้ หากพิจารณาเชิงลึกแล้วจะเห็นว่าธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยมีความได้เปรียบเหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในด้านการแข่งขัน เนื่องจากภาพลักษณ์ความเป็นไทยในสายตาชาวต่างชาติที่มีจิตใจรักงานบริการ มีรอยยิ้มที่เป็นอัตลักษณ์ของชาติ มากไปกว่านั้นไทยยังมีความพร้อมและความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ที่โด่งดัง ในระดับโลก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบธุรกิจไทยที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ"รมช.พณ. กล่าวทิ้งท้าย

วีรศักดิ์ สั่งลุยเพิ่มจำนวนธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุ เตรียมรับสังคมสูงวัยพุ่ง 17.4 ล้านคนปี 73

     วีรศักดิ์ ลงพื้นที่พบปะกับเจ้าของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ก่อนนำมาจัดทำแผนส่งเสริมธุรกิจ ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 17.4 ล้านคนในปี 73 เตรียมเดินหน้าเพิ่มจำนวนธุรกิจ ผลักดันให้มีระบบการบริหารระดับสากล และเชื่อมโยงเครือข่ายกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่อาหารการกิน ออกกำลังกาย ท่องเที่ยว ไปจนถึงจัดงานศพ

      นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุของภาคเอกชน ว่า ได้พบปะพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจเพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ สำหรับนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุของไทย และนำมาจัดทำแผนการส่งเสริมธุรกิจบริการดูแลผู้สูงอายุของไทย เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไป และยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับจำนวนผู้สูงอายุในไทยที่คาดว่าในปี 2573 จะมีสัดส่วนมากถึง 17.4 ล้านคน หรือ 26.57% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ 

        “ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งพัฒนาธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศให้มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล เพราะแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีสถานดูแลผู้สูงอายุที่เป็นสวัสดิการให้บริการประชาชนอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุในอนาคต จึงต้องผลักดันให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสร้างวิธีจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจประเภทนี้เพิ่มขึ้น”

         ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่จดทะเบียนนิติบุคคลในปี 2561 จำนวน 273 ราย มีรายได้รวมจำนวน 175.24 ล้านบาท จากผู้ยื่นงบการเงิน 165 ราย

       สำหรับ แนวทางการพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ นอกเหนือจากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐานสากล ยังจะช่วยพัฒนาศักยภาพทางการตลาด การช่วยสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การออกกำลังกาย การท่องเที่ยวแบบทัวร์ หรือการใช้ Social Media สื่อสารระหว่างเพื่อนและลูกหลาน บริการทางการเงิน ประกันสุขภาพ การออกแบบโภชนาการ และการบริการจัดงานศพแบบครบวงจร เป็นต้น

       นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนการเยี่ยมชมสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ ได้เข้าเยี่ยมเดอะ ซีนิเซนส์ เนอสซิ่งโฮม (The SENIZENS) เป็นโครงการที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีการออกแบบอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ สร้างสังคมและกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุที่เข้ามาพักอาศัยมีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 35,000-98,000 บาท และโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม (Chersery home) บริหารงานโดย บริษัท เค.พี.เอ็น.ซีเนียร์ลิฟวิ่ง จำกัด ให้บริการด้านการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงวัยในทุกมิติทางด้านการแพทย์และการดูแลต่อเนื่องในระยะสั้น-ยาว หลังออกจากโรงพยาบาล โดยทีมงานคุณภาพที่มีประสบการณ์ภายใต้บรรยากาศที่ดีและเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ มีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 58,000-125,000 บาท

        ส่วนอีกที่ ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เอเชีย เนอร์สซิ่งโฮม (Asia Nursing Home) บริหารงานโดย บริษัท บางกอก เฮลท์แคร์เซอร์วิส จำกัด เป็นสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุทั้งที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้ มีนักกายภาพบำบัดคอยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และให้บริการกายภาพบำบัดจากมืออาชีพ มีค่าบริการห้องพักเริ่มต้นตั้งแต่ 25,000-35,000 บาท

 

กรมอนามัย มอบโล่ 6 รางวัล การจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุดีเด่นระดับประเทศ

     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุสุขภาพดีพื้นที่ที่มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวดีเด่น รางวัล Care Managr และCare Giver ที่ปฏิบัติงานดีเด่น พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้รับรางวัลชนะเลิศ 6 ประเภทดีเด่นระดับประเทศ

      แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สูงอายุสุขภาพดี พื้นที่ที่มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวดีเด่น ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร ว่า สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีจำนวน 11.5 ล้านคน หรือร้อยละ 17.48 คาดว่าในปี 2564 จะเข้าสู่ ‘สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์’ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 จึงต้องเตรียมการเพื่อรองรับเนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรัง คาดงบประมาณที่ต้องใช้ในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเฉลี่ยประมาณ 15 ล้านบาทต่อปี จึงต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพก่อนวัยสูงอายุและเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

       แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้จัดระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้พิการในชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ซึ่งเป็นผู้จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อม ควบคุมกำกับการทำงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้กับคนในครอบครัว และชุมชน ให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ การผลิตนวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุเป็นการสร้างมูลค่าของทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์ และเป็นการต่อยอดการจัดระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่

       “ทั้งนี้ ในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ 'สังคมสูงอายุระดับสุดยอด' มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ในปี 2560 มีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy) 75.4 ปี ซึ่งเป็นลำดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ (83 ปี) และบรูไน (77 ปี) และข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า อายุคาดเฉลี่ยภาวะสุขภาพดีคนไทยในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 66.8 ปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่คือ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็ง โรคไตวาย ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีให้ผู้ปฏิบัติงาน (Care Manager) ในระดับพื้นที่ได้นำเสนอการปฏิบัติงาน นวัตกรรม และวิจัยทางด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รับฟังแนวทางและนโยบายการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2563 พร้อมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณดีเด่น 6 ประเภท ได้แก่ ตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ระยะยาว ชมรมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดีชีวีมีสุข ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และนวัตกรรมด้านการส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร นักวิชาการผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ จากส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 640 คน”อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!