WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa ASIAN

ปิดฉากอาร์เซ็ปสำเร็จ ส่งท้ายประธานอาเซียนของไทย

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ว่า การประชุมครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในฐานะเจ้าภาพและประธานการประชุมอาร์เซ็ป ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาไทยได้ทำงานร่วมกับสมาชิกอาร์เซ็ปอีก 15 ประเทศอย่างหนักและผลักดันให้การเจรจาคืบหน้าจนในวันนี้ผู้นำสามารถร่วมประกาศความสำเร็จสรุปผลการเจรจาอาร์เซ็ปทั้ง 20 บท และการเจรจาเปิดตลาดได้ตามเป้าที่ผู้นำอาร์เซ็ปตั้งไว้     

     นายจุรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมผู้นำอาร์เซ็ปครั้งนี้ ผู้นำได้ร่วมออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่า “สมาชิกอาร์เซ็ป 15 ประเทศสามารถปิดการเจรจาจัดทำความตกลงอาร์เซ็ปทั้ง 20 บท และการเจรจาเปิดตลาดในส่วนที่สำคัญทุกประเด็นได้แล้ว และมอบให้คณะเจรจาไปเริ่มขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เพื่อลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในปี 2563 โดยในส่วนของอินเดียยังมีประเด็นคงค้างที่จะต้องเจรจาต่อ สมาชิกอาร์เซ็ปจะทำงานร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติในประเด็นคงค้างของอินเดียต่อไป” ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนและประธานการประชุมรัฐมนตรีอาร์เซ็ปในปีนี้ ไทยได้แสดงบทบาทนำอย่างต่อเนื่องในการเป็นตัวกลางประสานระหว่างประเทศ จากเมื่อต้นปีสำเร็จแค่ 7 บทจาก 20 บท เมื่อไทยรับไม้ต่อเป็นประธานอาเซียนได้เร่งขับเคลื่อนการเจรจาให้จบในปีนี้สำเร็จได้เพิ่มอีก 13 บท ทำให้จบทั้ง 20 บทได้ในปีที่ไทยเป็นประธาน  ซึ่งได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนจากสมาชิกอื่นมาตลอดทั้งปี ซึ่งหากความตกลงอาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้จะถือเป็นความตกลงการค้าเสรีฉบับล่าสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันเท่าที่มีมา อีกทั้งจะมีความทันสมัยที่ครอบคลุมประเด็นทางการค้ายุคใหม่ทั้งเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการแข่งขัน เป็นต้น

     นายจุรินทร์ เสริมว่า ความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าในระดับภูมิภาคได้ ช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ขณะเดียวกันก็จะรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI เมื่อปี 2558 พบว่า ผลของการเจรจาอาร์เซ็ปจะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยและประเทศคู่เจรจาขยายตัว โดยผลผลิตมวลรวมของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมสูงถึง 3.995% โดยปริมาณการบริโภคครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.746% ปริมาณการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.934% ปริมาณการบริโภคภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.368% ปริมาณการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.355% และปริมาณการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.932% 

     ทั้งนี้ ความตกลงอาร์เซ็ปประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศรวมทั้งไทย และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ที่มีประชากรรวมกันกว่า 3,500 ล้านคน หรือเกือบครึ่งของประชากรโลก มีมูลค่า GDP กว่า 27.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 32.3% ของ GDP โลก มีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 29.3% ของมูลค่าการค้าโลก  โดยในปี 2561 ไทยกับประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 2.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 59.8 ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย โดยความตกลงอาร์เซ็ปจะช่วยสร้างโอกาสการส่งออกของไทยในตลาดใหม่ๆ ที่การทำ FTA ระหว่างไทย อาเซียน และสมาชิกอาร์เซ็ปในช่วงที่ผ่านมายังเปิดตลาดไม่มากพอ โดยสินค้าที่สมาชิกอาร์เซ็ปเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทย เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์แป้งมันสัมปะหลัง และกระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยมีมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปกว่า 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 58.8 ของการส่งออกของไทยไปโลก

กระทรวงพาณิชย์ประกาศความสำเร็จด้านเศรษฐกิจในการเป็นเจ้าภาพอาเซียน ปี 2562

        นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความสำเร็จของไทยในฐานะประธานอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ ว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับต่างๆ ทั้งระดับรองนายกรัฐมนตรี ระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ระดับปลัดกระทรวง ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสหรืออธิบดี จนถึงระดับคณะทำงาน รวมแล้วกว่า 20 การประชุม ซึ่งการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีนี้ นอกจากที่ไทยจะมีบทบาทและเป็นที่สนใจในประชาคมโลกแล้ว ไทยยังได้มีโอกาสที่จะผลักดันประเด็นต่างๆ ที่ไทยให้ความสำคัญ และอาเซียนจะได้ประโยชน์ร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างยั่งยืน กระทรวงพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 4 พฤศจิกายน 2562 ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

     โดยในปีนี้ ไทยได้กำหนดประเด็นด้านเศรษฐกิจที่อาเซียนจะร่วมกันดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2562 (Priority Economic Deliverables) รวม 13 ประเด็น ซึ่งขณะนี้อาเซียนดำเนินการเสร็จแล้ว 10 ประเด็น ได้แก่ (1) แผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัล (2) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (3) การส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอาเซียน (4) หลักเกณฑ์กรอบการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น (5) การพัฒนากลไกการระดมทุนจากภาคเอกชนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (6) แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการประมงที่ยั่งยืน (7) แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนอาเซียน (8) การจัดทำความบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์พลังงานอาเซียนและสถาบันวิจัยในอาเซียน และความสำเร็จล่าสุดที่ผู้นำประกาศในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้ ได้แก่ (9) การประกาศแถลงการณ์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของอาเซียนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0และ (10)การสรุปผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ปและอีก 3ประเด็นที่เหลือคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้ ซึ่งประเด็นด้านเศรษฐกิจฯ จะช่วยเตรียมความพร้อมของอาเซียนเพื่อรองรับอนาคต ส่งเสริมความเชื่อมโยงทั้งภายในอาเซียนและอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

                นายจุรินทร์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากประเด็นด้านเศรษฐกิจฯ ที่ไทยกำหนดแล้ว ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาอาเซียนยังประสบความสำเร็จในหลายเรื่อง อาทิ (1) การลงนามความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ATISA) ที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดทำกฎระเบียบด้านบริการของสมาชิกอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในการใช้มาตรการทางการค้าบริการ และไม่เป็นอุปสรรคทางการค้าบริการเกินความจำเป็น (2) การลงนามพิธีสารฉบับที่ 4 เพื่อแก้ไขความตกลงการลงทุนของอาเซียน (ACIA) ที่ไม่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกำหนดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น (3) การสรุปการเจรจาเพื่อให้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self-Certification) สามารถเริ่มใช้งานได้ ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการสามารถดำเนินการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปขอรับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากหน่วยงานภาครัฐอีกต่อไป (4) การได้ข้อสรุปข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียน (AP MRA) ที่เริ่มเจรจาตั้งแต่ปี 2548 ที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องยอมรับผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่รับรองโดยหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนของประเทศสมาชิกโดยไม่ต้องตรวจสอบซ้ำ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการส่งออก-นำเข้าสินค้ายานยนต์ภายในภูมิภาค (5) การมีผลบังคับใช้ของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) และความตกลงการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง (AHKIA) เมื่อวันที่ 11 และ 17 มิถุนายน 2562 (6) การลงนามพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) เพื่อปรับปรุงความตกลงฉบับเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะการเปิดเสรีการค้าสินค้า ให้รวมถึงการเปิดเสรีการค้าบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการคุ้มครองการส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกการลงทุน

                นายจุรินทร์เสริมว่า เมื่อวันที่ 31ตุลาคม ที่ผ่านมา ในช่วงการประชุม ASEAN Summit รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับปรับปรุง ซึ่งเป็นความตกลงที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยปรับปรุงพิธีสารฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 ให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และมีความชัดเจนมากขึ้น และสอดคล้องกับหลักการขององค์การการค้าโลก ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยจะสามารถใช้กลไกระงับข้อพิพาทใหม่ของอาเซียนในการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทต่างๆ และกดดันสมาชิกให้ปฏิบัติตามพันธกรณี

                ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนปี 2561 มีมูลค่าการค้ารวม 113,792 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 12.91 โดยไทยส่งออกไปอาเซียนในปี 2561 มูลค่า 68,545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเกินดุล 23,298 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกของไทยไปอาเซียนในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

กระทรวงพาณิชย์ประกาศความสำเร็จด้านเศรษฐกิจในการเป็นเจ้าภาพอาเซียน ปี 2562

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความสำเร็จของไทยในฐานะประธานอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ ว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับต่างๆ ทั้งระดับรองนายกรัฐมนตรี ระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ระดับปลัดกระทรวง ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสหรืออธิบดี จนถึงระดับคณะทำงาน รวมแล้วกว่า 20 การประชุม ซึ่งการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีนี้ นอกจากที่ไทยจะมีบทบาทและเป็นที่สนใจในประชาคมโลกแล้ว ไทยยังได้มีโอกาสที่จะผลักดันประเด็นต่างๆ ที่ไทยให้ความสำคัญ และอาเซียนจะได้ประโยชน์ร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างยั่งยืน

     โดยในปีนี้ ไทยได้กำหนดประเด็นด้านเศรษฐกิจที่อาเซียนจะร่วมกันดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2562 (Priority Economic Deliverables) รวม 13 ประเด็น ซึ่งขณะนี้อาเซียนดำเนินการเสร็จแล้ว 10 ประเด็น ได้แก่ (1) แผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัล (2) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (3) การส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอาเซียน (4) หลักเกณฑ์กรอบการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น (5) การพัฒนากลไกการระดมทุนจากภาคเอกชนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (6) แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการประมงที่ยั่งยืน (7) แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนอาเซียน (8) การจัดทำความบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์พลังงานอาเซียนและสถาบันวิจัยในอาเซียน และความสำเร็จล่าสุดที่ผู้นำประกาศในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้ ได้แก่ (9) การประกาศแถลงการณ์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของอาเซียนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 และ (10) การสรุปผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป และอีก 3 ประเด็นที่เหลือคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้ ซึ่งประเด็นด้านเศรษฐกิจฯ จะช่วยเตรียมความพร้อมของอาเซียนเพื่อรองรับอนาคต ส่งเสริมความเชื่อมโยงทั้งภายในอาเซียนและอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างยั่งยืนในทุกมิติ

     นายจุรินทร์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากประเด็นด้านเศรษฐกิจฯ ที่ไทยกำหนดแล้ว ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาอาเซียนยังประสบความสำเร็จในหลายเรื่อง อาทิ (1) การลงนามความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ATISA) ที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดทำกฎระเบียบด้านบริการของสมาชิกอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในการใช้มาตรการทางการค้าบริการ และไม่เป็นอุปสรรคทางการค้าบริการเกินความจำเป็น (2) การลงนามพิธีสารฉบับที่ 4 เพื่อแก้ไขความตกลงการลงทุนของอาเซียน (ACIA) ที่ไม่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกำหนดเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น (3) การสรุปการเจรจาเพื่อให้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN-Wide Self-Certification) สามารถเริ่มใช้งานได้ ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการสามารถดำเนินการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง

โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปขอรับใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากหน่วยงานภาครัฐอีกต่อไป (4) การได้ข้อสรุปข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนของอาเซียน (AP MRA) ที่เริ่มเจรจาตั้งแต่ปี 2548 ที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องยอมรับผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่รับรองโดยหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนของประเทศสมาชิกโดยไม่ต้องตรวจสอบซ้ำ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการส่งออก-นำเข้าสินค้ายานยนต์ภายในภูมิภาค (5) การมีผลบังคับใช้ของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) และความตกลงการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง (AHKIA) เมื่อวันที่ 11 และ 17 มิถุนายน 2562 (6) การลงนามพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) เพื่อปรับปรุงความตกลงฉบับเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะการเปิดเสรีการค้าสินค้า ให้รวมถึงการเปิดเสรีการค้าบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการคุ้มครองการส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกการลงทุน

     นายจุรินทร์เสริมว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ในช่วงการประชุม ASEAN Summit รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับปรับปรุง ซึ่งเป็นความตกลงที่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยปรับปรุงพิธีสารฉบับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 ให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และมีความชัดเจนมากขึ้น และสอดคล้องกับหลักการขององค์การการค้าโลก ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยจะสามารถใช้กลไกระงับข้อพิพาทใหม่ของอาเซียนในการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทต่างๆ และกดดันสมาชิกให้ปฏิบัติตามพันธกรณี

                ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนปี 2561 มีมูลค่าการค้ารวม 113,792 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 12.91 โดยไทยส่งออกไปอาเซียนในปี 2561 มูลค่า 68,545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,247 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเกินดุล 23,298 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการส่งออกของไทยไปอาเซียนในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!