WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 C.Bigจับมือจุฬา

พาณิชย์ จับมือจุฬาฯ ชำแหละค่ายา พบโรงพยาบาลยิ่งใหญ่ มีเครือข่ายมาก ยิ่งขายแพง

    กรมการค้าภายในจับมือคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนราคายาที่โรงพยาบาลเอกชนขาย พบโรงพยาบาลแบบกลุ่มที่มีบริษัทในเครือขายยาแพงกว่าโรงพยาบาลแบบเดี่ยวและแบบมูลนิธิ เล็งศึกษาต่อ หากำไรมาตรฐานที่ควรจะเป็น ก่อนนำมาใช้จัดการ เผยยาที่จำเป็นอย่างยาแก้ปวดลดไข้ พบกำไร 26.58-4,483.34% ยาลดไขมัน กำไร 185.71-11,965.21%

      นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ร่วมกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนยา ที่โรงพยาบาลเอกชนได้ยื่นราคาซื้อขายมาให้กับกรมฯ ก่อนหน้านี้ โดยพบว่ามีการคิดราคายาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีบริษัทในเครือ ทั้งๆ ที่มีอำนาจในการต่อรองสูงกว่า ต้นทุนในการซื้อยาถูกกว่า แต่ขายในราคาที่แพงกว่าโรงพยาบาลแบบเดี่ยวและแบบมูลนิธิ ที่มีอำนาจต่อรองต่ำ และซื้อยาได้ในต้นทุนที่สูงกว่า แต่ก็สามารถขายในราคาที่ต่ำกว่าได้

     ทั้งนี้ กรมฯ จะนำผลศึกษามาวิเคราะห์อีกที และขอให้คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี เข้ามาดูต่อว่ากำไรมาตรฐานที่ควรจะเป็นของยาแต่ละชนิด ควรจะเป็นเท่าใด และจากนั้น ถึงจะมีแนวทางในการดำเนินการต่อ เพราะหากโรงพยาบาลเอกชนยังคิดราคาแพงแบบสุดโต่ง ก็จะต้องเข้าไปจัดการ 

      ผศ.ดร.สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนยาของโรงพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดธุรกิจ โดยธุรกิจแบบกลุ่ม ที่มีบริษัทในเครือ ส่วนใหญ่มีการกำหนดราคาขายยาสูง แต่ราคาซื้อต่ำ มีกำไรส่วนเกินสูง ส่วนโรงพยาบาลแบบเดี่ยว กำหนดราคาค่อนข้างต่ำ แต่ซื้อราคาสูง มีกำไรส่วนเกินต่ำกว่าแบบกลุ่ม และยังพบว่าโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และที่ตั้งอยู่ในจังหวัดท่องเที่ยวตั้งราคาขายยาสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ

     “ตามธรรมชาติของการทำธุรกิจ บริษัทใหญ่ หรือบริษัทที่เป็นกลุ่ม มีบริษัทในเครือมาก จะมีอำนาจต่อรองสูง แล้วซื้อยาได้ในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ต้นทุนต่ำ แต่การตั้งราคายากลับสวนทาง มีการตั้งราคาสูงกว่าโรงพยาบาลที่ซื้อยามาในต้นทุนสูง จึงสรุปได้ว่าการตั้งราคายา ไม่สอดคล้องกับต้นทุน คือ ต้นทุนต่ำ แต่กำหนดราคาขายสูง โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วง ก็คือ ยาที่มีวอลุ่มการใช้มาก แก้ปวด ลดไข้ พวกนี้ถ้ายิ่งกำไรเยอะ ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงสังคม”

     นายวรพงษ์ สุธานนท์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา Forensic Services บริษัท ไพร๊ซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้เข้ามาช่วยศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนราคายาของโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่ามียาเป็นจำนวนมากที่มีต้นทุนการซื้อถูกมาก แต่มีการตั้งราคาสูง และกำไรสูงมาก ทั้งกำไรจากต้นทุน และกำไรส่วนเกิน

       ยกตัวอย่าง เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ (Tylenal) ต้นทุนเม็ดละ 48 สตางค์ มีราคาขาย 1-22 บาท กำไร 26.58-4,483.34% , ยาลดความดัน (Anapril) ขาย 2-56 บาท กำไร 150-9,100% , ยาลดไขมัน (Bestatin) ขาย 2-61 บาท กำไร 185.71-11,965.21% , ยารักษาลมชัก (Depakine) ขาย 300-1,354 บาท กำไร 26.12-470.01% , ยาฆ่าเชื้อ (Ciprobay) ขาย 1,723-3,655.88 บาท กำไร 64.42-255.81% และยามะเร็ง ขาย 86,500-234,767 บาท กำไร 9.98-188.80%

กรมการค้าภายใน ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงความคืบหน้าการการวิเคราะห์โครงสร้าง ต้นทุนยา เวชภัณฑ์ บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล

     กรมการค้าภายใน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ แนวทางการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนยา เวชภัณฑ์ บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำไรส่วนเกินระหว่างราคาขายและต้นทุนที่เหมาะสมของยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านการกำหนดราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอาจารย์จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษา คือ คุณวรพงษ์ สุธานนท์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา Forensic Services บริษัท ไพร๊ซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (PwC) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับงานบริการด้านการเงินการธนาคาร ประกันภัย ธุรกิจยา โรงพยาบาล โรงแรม และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาขายยาของโรงพยาบาลเอกชน

      จากการวิเคราะห์ศึกษาข้อมูลราคาซื้อ (ต้นทุนยา) และราคาขายยาที่โรงพยาบาลเอกชนแจ้งเข้ามาในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Big Data) โดยมีวิธีการวิเคราะห์แบบ Visual Analytics ด้วยการเรียงลำดับของราคาขายและราคาซื้อ จากสูงสุดไปต่ำสุด และจำแนกปัจจัยที่อาจมีผลต่อการกำหนดราคาขายและราคาซื้อ ในเบื้องต้นผลการวิเคราะห์มีภาพรวมไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้

  1. ปัจจัยกลุ่มธุรกิจ แบ่งเป็น 1) แบบกลุ่ม (ที่มีบริษัทในเครือ) 2) แบบเดี่ยว และปัจจัยประเภทธุรกิจ แบ่งเป็น 1) บริษัทจำกัด 2) บริษัทมหาชนจำกัด 3) มูลนิธิ และ 4) บุคคลธรรมดา พบว่า มีผลต่อการกำหนดราคาขายยาของโรงพยาบาลเอกชน

- โรงพยาบาลแบบกลุ่ม (ที่มีบริษัทในเครือ) ประเภทบริษัทจำกัด พบว่า ส่วนใหญ่มีการกำหนดราคาขายสูง ขณะที่มีราคาซื้อค่อนข้างต่ำ ซึ่งโดยปกติเชื่อได้ว่า มีอำนาจต่อรองสูงและน่าจะมีการจัดซื้อในปริมาณที่มาก ดังนั้น ธุรกิจแบบกลุ่มจะมีอัตรากำไรส่วนเกิน (CM Ratio) สูง

- โรงพยาบาลแบบเดี่ยว ประเภทบริษัทจำกัดและมูลนิธิ พบว่า ส่วนใหญ่มีการกำหนดราคาขายค่อนข้างต่ำ ขณะที่มีราคาซื้อค่อนข้างสูง ซึ่งโดยปกติเชื่อได้ว่า มีอำนาจต่อรองต่ำและจัดซื้อในปริมาณที่น้อย ดังนั้น ธุรกิจแบบเดี่ยวจะมีอัตรากำไรส่วนเกิน (CM Ratio) ต่ำกว่าแบบกลุ่ม

  1. ปัจจัยแหล่งที่ตั้ง แบ่งเป็น 1) กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ภาคกลาง 3) ภาคเหนือ

4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5) ภาคตะวันออก 6) ภาคตะวันตก และ 7) ภาคใต้ พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมลฑล และพื้นที่ในจังหวัดท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะกำหนดราคาขายสูง

  1. ปัจจัยมาตรฐาน Joint Commission International : JCI โรงพยาบาลเอกชนอ้างว่าการได้รับมาตรฐาน JCI เป็นต้นทุนของยา ซึ่งจากการศึกษา พบว่า มาตรฐาน JCI ไม่มีผลต่อการกำหนดราคาขายยาของโรงพยาบาลเอกชน ทั้งนี้ ไม่ว่าโรงพยาบาลที่มีราคาขายสูงสุดและต่ำสุด 10 อันดับแรกต่างก็ไม่ได้มาตรฐาน JCI เนื่องจากหาก JCI มีผลต่อการกำหนดราคาโรงพยาบาลที่กำหนดราคาขายสูงควรจะแสดงผลว่าเป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน JCI
  2. ปัจจัยขนาดโรงพยาบาล โดยใช้จำนวนเตียงเป็นตัวจำแนก แบ่งเป็น 1) ขนาดเล็ก : 1 - 30 เตียง

2) ขนาดกลาง : 31 - 90 เตียง 3) ขนาดใหญ่ : 91 - 200 เตียง และ 4) ขนาดใหญ่มาก : 201 เตียงขึ้นไป พบว่า ไม่ได้มีผลกระทบที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดราคาแต่อย่างใด

 

ผลการศึกษา

        การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์โรงพยาบาลเอกชนที่มีราคาขายสูง 10 อันดับแรก และราคาขายต่ำ 10 อันดับแรก สรุปได้ดังนี้

- ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดราคาขายยาของโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มธุรกิจและ

ประเภทธุรกิจ นอกจากนี้ ปัจจัยแหล่งที่ตั้งก็ส่งผลต่อการกำหนดราคาขายยาด้วย

- ต้นทุนการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่การกำหนดราคาขาย

มีความแตกต่างมากตามปัจจัยดังกล่าวข้างต้น

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

- การกำหนดราคาขายของโรงพยาบาลเอกชนแบบกลุ่ม ไม่สอดคล้องกับต้นทุน กล่าวคือ ต้นทุนต่ำ แต่กำหนดราคาขายสูง

ประโยชน์จากการศึกษา

       ประโยชน์จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรมในด้านการกำหนดราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลสามารถดำเนินธุรกิจได้ และประชาชนผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงราคายาที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรมได้

      ระยะต่อไปจะทำการศึกษาให้ครอบคลุมทุกรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology : TMT) ตามที่โรงพยาบาลเอกชนแจ้งให้กรมการค้าภายใน

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!