WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 C.Big จุรินทร์

จุรินทร์ ผงาด ประธานประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ชูอาเซียนรักษาบทบาทในการเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลก

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 18 โดยมีรัฐมนตรีคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วม  ละก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุมในวันนี้ นายจุรินทร์ กล่าวต่อสมาชิกว่า การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนในทุกวันนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มีความแข็งแกร่งและยังคงรักษาบทบาทในการเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลก ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

       จะเห็นได้จากขนาดเศรษฐกิจของอาเซียนที่เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 4 ในขณะที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 รวมทั้งยังคงเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยในปี 2561 ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนขยายตัวถึงร้อยละ 5.3 สิ่งเหล่านี้เป็นผลสำเร็จจากความมุ่งมั่นของทุกประเทศสมาชิกที่ร่วมกันดำเนินการ ตั้งแต่แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จนถึงแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2568 ในปัจจุบันที่ได้ดำเนินมาจนเกือบครึ่งทางแล้ว รวมทั้งในปีนี้ที่ไทยรับหน้าที่ประธานอาเซียน เราก็ได้ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ภายใต้แนวคิด “Advancing Partnership for Sustainability” ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของเราทุกคนให้มีความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

       นายจุรินทร์ กล่าวว่า การประชุม AEC Council ครั้งนี้ จะมีการหารือวาระที่สำคัญๆ ได้แก่ รับทราบความสำเร็จ ความคืบหน้า รวมถึงให้ความเห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยผลักดันในฐานะประธานอาเซียน รับทราบความคืบหน้ามาตรการสำคัญที่อาเซียนจะต้องดำเนินการในปีนี้ และให้ความเห็นชอบเอกสารแนวคิดในการทบทวนแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 ในระยะกลาง ให้แนวทางในการปรับปรุง กระบวนการทำงานภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจน รับทราบการดำเนินการของอาเซียนเพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็นต้น

        นอกจากนี้ เราจะหารือการเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 วันข้างหน้า โดยจะต้องให้ความเห็นชอบข้อมูลสรุปความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะรายงานต่อผู้นำ และรับทราบประเด็นด้านเศรษฐกิจที่จะปรากฏอยู่ในร่างแถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน รวมทั้งรายชื่อเอกสารผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจที่จะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จากนั้นนายจะรินทร์ในฐานะประธานการประชุม จึงเริ่มการประชุม AEC Council

 

จุรินทร์ นำสรุป 13 เรื่อง เป็นผลความสำเร็จประเทศไทย ในฐานะประธานรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน มั่นใจคืบหน้าและสำเร็จทั้งหมด

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สนฐานะประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 18 เปิดเผยผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 18 ว่า ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยผลักดันในฐานะประธานอาเซียน (Priority Economic Deliverables) ในคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยินดีกับความสำเร็จและรับทราบความคืบหน้า Priority Economic Deliverables โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้เป็นถือเป็นการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนนัดสุดท้ายที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพซึ่งตนทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ถัดจากนี้ก็เป็นการประชุม ASEAN SUMMIT ที่ท่านนายกฯ(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ) จะต้องเป็นประธานแล้ว

      การประชุมครั้งสุดท้ายสำหรับที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งนี้ ถือเป็นการสรุปผลความสำเร็จของประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ สำหรับด้านเศรษฐกิจซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามเสาหลัก 1 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายในการที่จะผลักดันประเด็นสำคัญใน 3 หัวข้อใหญ่ คือ หัวข้อที่ 1 ก็คือในเรื่องของการเตรียมการรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หัวข้อที่ 2 การเชื่อมโยง หัวข้อที่ 3 การเดินหน้าไปด้วยกันไปสู่ความยั่งยืน ซึ่ง 3 หัวข้อนี้เป็นหัวข้อใหญ่และภายใต้ 3 หัวข้อนี้จะแปลงออกไปเป็นประเด็นสำคัญสำคัญทั้งหมด 13 ประเด็นด้วยกัน

       นายจุรินทร์ กล่าวว่า ซึ่งทั้ง 13 ประเด็นนั้นขอเรียนให้ได้รับทราบว่ามีความคืบหน้าและมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จครบทั้ง 13 ประเด็นภายในสิ้นปีนี้ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพและเป็นประธานที่ประชุมอาเซียน สำหรับปีต่อไปเป็นหน้าที่ของประเทศเวียดนามและต้องรอดูต่อไปว่าเวียดนามจะกำหนดประเด็นในการผลักดันเรื่องอะไรต่อไป

      อย่างไรก็ตามสำหรับ 13 ประเด็นในรายละเอียดนั้นขออนุญาตเรียนให้ทราบว่าประกอบด้วย

1 .แผนงานด้านดิจิตอลของอาเซียน

2 .แผนงานในการส่งเสริมนวัตกรรมอาเซียน

3 .การเตรียมการสำหรับการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือเรื่องของการใช้แรงงานพัฒนาแรงงานคนเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักรการใช้นวัตกรรมใหม่ในการผลิต

4.การเดินหน้าไปสู่อุตสาหกรรม 4.0

5 .การเตรียมการที่จะนำ SME ไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล เช่น การค้าออนไลน์ เป็นต้น

6 .การดำเนินการในเรื่อง ASEAN Single Window การนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันที่ต้องมี อำนวยความสะดวกโดยใช้ระบบอิเล็คทรอนิกส์ และไม่ซ้ำซ้อนทำให้การส่งออกระหว่างการคล่องตัวยิ่งขึ้น

7.เรื่องการผลักดันให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นค้าขายระหว่างกันในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วอย่างน้อยสามคู่ คือ ระหว่างไทยฟิลิปปินส์ ระหว่างไทยอินโดนีเซีย และระหว่างไทยกับมาเลเซีย ภายใต้ความร่วมมือของแบงค์ชาติของเรากับธนาคารพาณิชย์ของสามประเทศ

8.ก็คือการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระบบที่เรียกว่า PPP 

9 .การร่วมมือกันระหว่างอาเซียนในการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงอาหาร คือ การใช้อาหารส่งเสริมการท่องเที่ยว

10 .คือการแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันผลักดันให้ RCEP ซึ่งอาเซียนเป็นศูนย์กลางของ RCEPจบภายในสิ้นปีนี้

11 .ในเรื่องของการผลักดันเครือข่าย IUU ของอาเซียน คือ การทำประมงอาเซียนที่มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความยั่งยืน

12 .เรื่องการส่งเสริมตลาดทุนของอาเซียนในประเทศต่างๆเพื่อเมื่อจะรับบริษัทเข้าไปจดทะเบียนโดยคำนึงถึงเป้าหมายของบริษัทนั้นนั้นที่มุ่งเน้นความยังยืนเช่น สิ่งแวดล้อมเป็นต้น

13 .ประเด็นสุดท้าย คือ การผลักดันให้มีการลงนาม ศูนย์พลังงานอาเซียนระหว่าง มหาวิทยาลัยต่างๆในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงชีวภาพ

      ซึ่งทั้ง 13 ประเด็นใน 13 หัวข้อใหญ่ที่ประเทศไทยได้กำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันในฐานะประธานอาเซียนนี้ขอเรียนว่าเรามั่นใจว่าสิ้นปีนี้ จะสามารถผลักดันไปสู่ความสำเร็จครบทั้ง 13 หัวข้อ

       ส่วนการลงนามวันนี้ (พิธีสารกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน) เป็นการลงนามในพิธีสารกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งเป็นการปรับปรุงกลไกระงับข้อผิดพลาดที่เราใช้มา 10 กว่าปีมาแล้วตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งการปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทเที่ยวนี้ จะทำให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนกระบวนการต่างๆเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกอาเซียนเช่นการระบุชัดเจน ในเรื่องขั้นตอนระยะเวลาฟ้องร้องว่าใช้ระยะเวลากี่วันการพิจารณาคดีจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในช่วงระยะเวลาเท่าไร อย่างไร และมีการเพิ่มกลไกทางเลือกให้คู่พิพาทเลือกได้ เช่น อาจไม่ต้องไปสู่คณะลูกขุนแต่ใช้อนุญาโตตุลาการได้เป็นต้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้สำนักเลขาธิการอาเซียนสามารถให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับผู้พิพาทรวมทั้งประเทศที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือ เช่น กัมพูชา ลาว เมียนมา ก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องข้อกฎหมายแนวทางการปฏิบัติต่างๆนี่คือพิธีสารที่จะมีการลงนามในเรื่องของกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนหลักใหญ่จะล้อกับหลักการของ WTO ที่ใช้กัน

จุรินทร์ ถกอาเซียน ติดตาม 13 ประเด็นเศรษฐกิจที่ไทยผลักดัน มั่นใจสำเร็จหมดในปีนี้

       จุรินทร์ เป็นประธานประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รับทราบความคืบหน้า 13 ประเด็นเศรษฐกิจที่ไทยผลักดัน มั่นใจทุกประเด็นจะสำเร็จทั้งหมดภายในปีนี้ เผยอาเซียนยังได้มีการลงนามในพิธีสารปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทที่ใช้มากว่า 10 ปี คาดช่วยให้ปัญหาข้อพิพาทในอาเซียนมีทางออกได้ดีขึ้น 

      นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 18 ว่า วันนี้เป็นการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนนัดสุดท้ายที่ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้ยินดีและรับทราบความคืบหน้าประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยผลักดันทั้ง 13 ประเด็น โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันไปสู่ความสำเร็จครบทั้ง 13 ประเด็นภายในสิ้นปีนี้ และจะรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป

        สำหรับ ประเด็นด้านเศรษฐกิจทั้ง 13 ประเด็น ได้แก่ 1.แผนงานด้านดิจิตอลของอาเซียน 2.แผนงานในการส่งเสริมนวัตกรรมอาเซียน 3.การเตรียมการสำหรับการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือเรื่องของการใช้แรงงานพัฒนาแรงงานคนเพื่อรองรับการใช้เครื่องจักร การใช้นวัตกรรมใหม่ในการผลิต 4.การเดินหน้าไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 5.การเตรียมการที่จะนำ SME ไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล เช่น การค้าออนไลน์ เป็นต้น

      6.การดำเนินการในเรื่อง ASEAN Single Window การนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันที่ต้องมีการอำนวยความสะดวกโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ซ้ำซ้อน ทำให้การส่งออกระหว่างการคล่องตัวยิ่งขึ้น 7.เรื่องการผลักดันให้มีการใช้เงินสกุลท้องถิ่นค้าขายระหว่างกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วอย่างน้อย 3 คู่ คือ ไทย-ฟิลิปปินส์ ไทย-อินโดนีเซีย และไทย-มาเลเซีย ภายใต้ความร่วมมือของแบงก์ชาติของไทยกับธนาคารพาณิชย์ของ 3 ประเทศ

       8.การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระบบที่เรียกว่า PPP 9.การร่วมมือกันระหว่างอาเซียนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร คือ การใช้อาหารส่งเสริมการท่องเที่ยว 10.การแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันผลักดันให้ RCEP ซึ่งอาเซียนเป็นศูนย์กลางของ RCEP จบภายในสิ้นปีนี้ 11.การผลักดันเครือข่าย IUU ของอาเซียน คือ การทำประมงอาเซียนที่มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความยั่งยืน

       12.การส่งเสริมตลาดทุนของอาเซียนในประเทศต่างๆ โดยเมื่อจะรับบริษัทเข้าไปจดทะเบียน ต้องคำนึงถึงเป้าหมายของบริษัทนั้นๆ ที่มุ่งเน้นความยังยืน เช่น สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และ 13.การผลักดันให้มีการลงนาม ศูนย์พลังงานอาเซียนระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงชีวภาพ

        นอกจากนี้ ได้ให้การรับรองแผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน ปี 2562-2568 ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การอำนวยความสะดวกทางการค้า 2.การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมกับการส่งเสริมการค้าดิจิทัลและนวัตกรรม 3.การส่งเสริมการชำระเงินดิจิทัล 4.การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล 5.การส่งเสริมวิสาหกิจ และ 6.กลไกความร่วมมือ

        ขณะเดียวกัน ในช่วงการประชุมครั้งนี้ อาเซียนยังได้มีการลงนามพิธีสารกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งเป็นการปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทที่ใช้มากว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนกระบวนการต่างๆ เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกอาเซียน เช่น การระบุชัดเจนในเรื่องขั้นตอน ระยะเวลาฟ้องร้องว่าใช้ระยะเวลากี่วัน การพิจารณาคดีจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในช่วงระยะเวลาเท่าไร อย่างไร และมีการเพิ่มกลไกทางเลือกให้คู่พิพาทเลือกได้ เช่น อาจไม่ต้องไปสู่คณะลูกขุน แต่ใช้อนุญาโตตุลาการได้ เป็นต้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้สำนักเลขาธิการอาเซียนสามารถให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับผู้พิพาท รวมทั้งประเทศที่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความสนับสนุนช่วยเหลือ เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษในเรื่องข้อกฎหมาย แนวทางการปฏิบัติต่างๆ

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!