- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 31 October 2019 20:03
- Hits: 4141
พาณิชย์...เปิดตัวการสร้างร้าน 'SMART โชวห่วย' ก่อนลุยเปลี่ยนโฉมโชวห่วยทั่วประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการ 'พัฒนาร้านค้าปลีกสู่ SMART โชวห่วย ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน พร้อมเปิดตัวการพัฒนา ร้านค้าปลีก เปลี่ยนร้านค้าโชวห่วยดั้งเดิมให้เป็น Smart โชวห่วย ด้วยการใช้กลยุทธ์ปรับร้านค้าให้เป็นร้านค้าปลีกยุคใหม่ คนซื้อสะดวก คนขายจัดการง่าย ใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดระบบ แบ่งเบาภาระการบริหารจัดการ ขยายบริการ สร้างยอดขายเพิ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้ประกอบการชุมชน ตอกย้ำความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก ภายในปี 63 เป้าหมาย 30,000 ร้านทั่วประเทศไทย
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดกิจกรรม "พัฒนาร้านค้าปลีกสู่ SMART โชวห่วย" ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย และผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกไทยในระดับท้องถิ่น ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค (Supplier) และ ผู้ให้บริการ Application ได้ผนึกกำลังกันพัฒนาร้านค้าปลีก (โชวห่วย) ของคนไทย เพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของร้านค้าโชวห่วยดั้งเดิมที่เป็นจุดกระจายรายได้ให้กับชุมชนไทยมาอย่างยาวนาน ให้สามารถเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ได้ประกอบกับเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
สำหรับ แนวทางการพัฒนาไปสู่ร้าน SMART โชวห่วย เพื่อฟื้นฟูธุรกิจที่อยู่คู่สังคมไทยและเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเทียบชั้นกับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ในประเทศได้นั้น ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้รวบรวมปัญหาอุปสรรคทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับร้านค้าโชวห่วยไทย และกับดักที่ทำให้ไม่สามารถเติบโตและแข่งขันได้ พร้อมกับนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดจนได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาสู่ Smart โชวห่วยที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ และในวันนี้กระทรวงฯ ได้นำ 'ร้าน Smart โชวห่วยต้นแบบ' แห่งแรกมาจัดแสดงเพื่อให้เห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยร้านค้าแห่งนี้จะเป็นการจัดร้านค้าให้มีความสะดวกต่อผู้บริโภค การจัดผังร้านค้าและการเรียงสินค้าที่ง่ายต่อการค้นหา การจัดโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการให้เป็นระบบ อาทิ การใช้เครื่อง POS ในร้านค้าโชวห่วยเพื่อช่วยบริหาร Stock สินค้าและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การชำระสินค้าผ่าน QR Code การจำหน่ายสินค้าชุมชนที่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ครัวชุมชน มุมกาแฟ และบริการต่างๆ เพื่อรับชำระค่าบริการที่จะมาช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมให้ร้านค้าโชวห่วย
กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาร้านค้าปลีกทั่วประเทศให้ได้ 30,000 ร้านค้า ภายในปี 2563 และจากนี้ไปร้านค้าในโครงการจะได้รับการพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ประกอบกับส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ มีทีมพี่เลี้ยงคอยช่วยให้คำปรึกษา ช่วยปรับภาพลักษณ์ให้ร้านค้า การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการเชื่อมโยงสินค้า SME สินค้า OTOP และสินค้าชุมชนจากท้องถิ่น เพื่อเข้าไปจำหน่ายในร้านค้า ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับโชวห่วยอีกทางหนึ่ง
จากข้อมูลการสำรวจของ The Nielsen Company (Thailand) ในปี 2562 มีร้านค้าโชวห่วยทั่วประเทศ จำนวน 443,123 ร้าน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 4,303 ร้าน (ปี 2561 มีจำนวน 438,820 ร้าน) แบ่งสัดส่วนเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34% ภาคกลาง 22% ภาคเหนือ 16% ภาคใต้ 15% และกรุงเทพและปริมณฑล 13% แสดงให้เห็นว่าร้านค้าโชวห่วยได้กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคเป็นส่วนใหญ่สะท้อนถึงการเป็นกลไกสำคัญในการเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้เป็นอย่างดี สำหรับภาพรวมของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจะพบว่าร้านค้าโชวห่วยมีส่วนแบ่งในตลาดสูงเป็นอันดับ 1 คือ 44.1% รองลงมาคือร้านสะดวกซื้อ 31.8% และไฮเปอร์มาร์เก็ต 24.1% ดังนั้น การสร้าง Smart โชวห่วยในครั้งนี้จะช่วยทำให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น กลายเป็น Outlet ที่ใกล้ชิดชุมชน ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชนและสินค้า OTOP ได้ด้วย นำไปสู่การหมุนเวียนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
แม็คโคร ผนึกกำลัง กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับศักยภาพร้านค้าปลีกรายย่อยสู่ Smart โชห่วย ตอกย้ำการเป็นมิตรแท้โชห่วยมากว่า 30 ปี
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จับมือกระทรวงพาณิชย์ ใน "โครงการพัฒนาร้านค้าปลีกยุคใหม่ สู่ Smart โชห่วย" เพื่อยกระดับศักยภาพร้านค้าโชห่วยไทยทั่วประเทศก้าวสู่ Smart โชห่วยอย่างเข้มแข็ง ตอกย้ำพันธกิจของแม็คโครในการเป็น "คู่คิดธุรกิจคุณ" มากว่า 30 ปี พร้อมผลักดันแนวคิด "ครัวชุมชน" เพิ่มรายได้ให้แก่เจ้าของร้านโชห่วย เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วยไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างครบวงจร นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แม็คโครยึดมั่นในพันธกิจของการเป็น "คู่คิดธุรกิจคุณ" ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อย และร้านโชห่วยมาโดยตลอด เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการกระจายรายได้ในท้องถิ่น และเป็นศูนย์กลางสายใยชุมชน แม็คโครจึงริเริ่มโครงการ "แม็คโคร
แม็คโคร ผนึกกำลัง กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับศักยภาพร้านค้าปลีกรายย่อยสู่ Smart โชห่วย ตอกย้ำการเป็นมิตรแท้โชห่วยมากว่า 30 ปี
มิตรแท้โชห่วย" ขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ชูนโยบาย "เพิ่มศักยภาพร้านค้าปลีกไทย คือ เป้าหมายของเรา" เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและโชห่วย ด้วยการให้องค์ความรู้และการจัดการร้านค้าปลีกอย่างครบวงจร และแนวทางธุรกิจ เทรนด์ของลูกค้า เครื่องมือและอุปกรณ์ เทคโนโลยีใหม่ๆ ภายใต้แนวคิดที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและทิศทางธุรกิจ พร้อมทั้งกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้ร้านค้าโชห่วยก้าวทันต่อกระแสเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุค Thailand 4.0 ซึ่งตลอดระยะเวลา 12 ปีของโครงการฯ แม็คโครได้เข้าใจถึงปัญหาผู้ประกอบการมาโดยตลอด จึงมุ่งสนับสนุนด้วยองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการร้านค้าปลีกที่ทันสมัยและเป็นสากล ผ่านข้อมูล Big Data Analysis กิจกรรม และเครื่องมือต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันแม็คโครมีลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยหรือโชห่วย จำนวน 500,000 ราย
แม็คโคร ผนึกกำลัง กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับศักยภาพร้านค้าปลีกรายย่อยสู่ Smart โชห่วย ตอกย้ำการเป็นมิตรแท้โชห่วยมากว่า 30 ปี
สำหรับความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการยกระดับศักยภาพร้านค้าโชห่วยภายใต้ "โครงการพัฒนาร้านค้าปลีกยุคใหม่สู่ Smart โชห่วย" แม็คโครได้นำแผนแนวทางโครงการ "แม็คโคร มิตรแท้โชห่วย" เข้ามาร่วมในการพัฒนาโชห่วยไทยให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอจุดเด่นของแนวคิด "ครัวชุมชน" เพื่อสร้างรายได้และเป็นศูนย์กลางชุมชนในการจำหน่ายอาหารแช่แข็งที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย สามารถเก็บรักษาได้นานถูกหลักอนามัย ลดยอดการสูญเสียของสินค้า และช่วยสร้างกำไรได้กว่า 20% อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่สมาชิกในชุมชนสามารถนำผัก ผลไม้ หรือสินค้าภายในชุมชม เข้ามาฝากจำหน่ายในร้านโชห่วยได้ในลักษณะของการแบ่งปัน เพื่อสร้างความสุขในชุมชนอีกด้วย โดยแม็คโคร ยังได้ให้การสนับสนุนในการแบ่งปันความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆในการพัฒนาร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย เช่น
แม็คโคร ผนึกกำลัง กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับศักยภาพร้านค้าปลีกรายย่อยสู่ Smart โชห่วย ตอกย้ำการเป็นมิตรแท้โชห่วยมากว่า 30 ปี
- การสร้างความแตกต่าง ด้วยไอเดียเสริม เพื่อเพิ่มยอดขาย และกำไร
- การเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วยด้วยเทคโนโลยี ผ่าน e-Learning ตลอด 24 ชั่วโมง จากเว็บไซต์ www.shohuaythai.com
- บริการรับสั่งซื้อ จัดเตรียมสินค้า และจัดส่งสินค้า ผ่านระบบ On-line ของแม็คโคร ทั้ง Makro Click และ Makro App เพื่อเป็นตัวช่วยในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วย
- การนำระบบ Smart POS ซึ่งเป็นระบบที่แม็คโครได้พัฒนาขึ้นมาใช้ในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าภายในร้านค้าโชห่วย
แม็คโคร ผนึกกำลัง กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับศักยภาพร้านค้าปลีกรายย่อยสู่ Smart โชห่วย ตอกย้ำการเป็นมิตรแท้โชห่วยมากว่า 30 ปี
- การสร้างการรับรู้ใหม่ๆ ในเชิงของ Branding ในการเป็นที่พึ่งของชุมชนให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการนำสินค้ามาขาย และมีส่วนร่วมในการช่วยคิดการจัดภายในร้านโชห่วย
"นอกจากนี้ แม็คโคร ยังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการร้านค้าโชห่วยตั้งแต่ต้นน้ำ โดยได้ริเริ่มโครงการ "แม็คโครและมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาร้านค้าปลีกท้องถิ่น" (Makro U Project) ตั้งแต่ปี 2552 ด้วยแนวคิดที่จะส่งต่อองค์ความรู้เรื่องการจัดการร้านค้าปลีกไปยังร้านค้าปลีกทั่วประเทศ ผ่านนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิด มุมมอง สมัยใหม่ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ อีกด้วย" นางสุชาดา กล่าวเสริม
17 พันธมิตรโชวห่วยตบเท้าร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ติดปีกร้านค้าโชวห่วยไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือ 16 หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมการค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ซัพพลายเออร์ สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา และผู้ให้บริการ Application ข่าวดี! ทุกฝ่ายพร้อมร่วมมือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาร้านค้าโชวห่วยไทยทั่วประเทศ
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเช้านี้ (วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562) ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเชิญหน่วยงานพันธมิตร 16 หน่วยงาน เข้ามาประชุมหารือแนวทางการพัฒนาร้านค้าโชวห่วยร่วมกัน พร้อมทั้งกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานพันธมิตรให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าใครจะต้องทำอะไรบ้าง เน้นให้เห็นเป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านการปรับภาพลักษณ์ร้านค้า 2) ด้านส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ 3) ด้านส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้า และ 4) ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
โดยสมาคมการค้าและซัพพลายเออร์ จะมาช่วยปรับภาพลักษณ์ร้านค้า ส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ สถาบันการศึกษาจะช่วยสร้างองค์ความรู้และสร้างทีมพี่เลี้ยงพัฒนาร้านค้า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ส่วนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและผู้ให้บริการ Application จะช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะทำการเชื่อมโยงสินค้า SME สินค้า OTOP และสินค้าชุมชนจากท้องถิ่นเข้าไปจำหน่ายในร้านค้าโชวห่วยด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตสินค้าชุมชนอีกทางหนึ่ง อันจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบายของกระทรวงพาณิชย์และของรัฐบาลด้วย
"ร้านค้าโชวห่วย มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดของพวกเรา และอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน เป็นธุรกิจพื้นฐานที่คนเริ่มหัดทำมาค้าขายต้องเคยทำ ก่อนที่จะขยายและแตกสาขาพัฒนาไปเป็นธุรกิจอื่นๆ จากข้อมูลการสำรวจของ The Nielsen Company (Thailand) ว่าในปี 2562 มีร้านค้าปลีกโชวห่วยทั่วประเทศ จำนวน 443,123 ร้าน แบ่งสัดส่วนเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34% ภาคกลาง 22% ภาคเหนือ 16% ภาคใต้ 15% และกรุงเทพและปริมณฑล 13% แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของธุรกิจในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นของไทยให้เข้มแข็ง แต่ด้วยสภาวะการตลาดของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านรูปแบบการแข่งขัน การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น
ประกอบกับร้านค้าโชวห่วยเองยังขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่มีการจัดทำบัญชีและภาษี ไม่มีทายาทรับช่วงต่อ ราคาสินค้าแข่งขันไม่ได้ เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน อีกทั้งไม่มีช่องทางรายได้อื่น ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับร้านค้าขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น ร้านค้าโชวห่วยในท้องถิ่นจึงต้องปรับตัวด้วยการจัดร้านให้เป็นระบบ นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับรูปแบบการทำธุรกิจ เช่น เครื่อง POS มีโปรโมชั่นสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ มีสินค้าชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ มีบริการเสริมเพิ่มรายได้ และขยายสู่ออนไลน์ จึงจะสามารถบริหารธุรกิจให้ Smart และเติบโตอย่างยั่งยืน"
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web