WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA ATCJA

จุรินทร์ เชื่อมจีน บุกตลาดขายสินค้าเกษตร ทำความสัมพันธ์ให้ความสำคัญ เป็นต้นแบบแก้ความยากจนในไทย

        นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา ‘7 ทศวรรษจีนใหม่  ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง’ โดยใช้เวลาร่วมชั่วโมงปาฐกถาพิเศษการพัฒนาจีน แบบอย่างที่โลกเรียนรู้ โดยมีผู้เข้าร่วมฟังจากทั้งสมาคม สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ อสมท. สถานทูตจีน และผู้สนใจเกี่ยวข้อง วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2562 เวลา 09.10-9.40 น. ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมดิเอมเมอรัล-รัชดา

      โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งกับการที่สื่อมวลชนไทยและจีนได้ร่วมกันจัดการสัมมนานี้ขึ้นมาในวันนี้  เพราะนอกจากวัตถุประสงค์ของงานที่ท่านได้กล่าวไปแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสื่อมวลชนของทั้งสองชาติ  รวมถึงเจตนาอันดีที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเราสามารถคาดหวังได้ว่าข้อมูลและข้อคิดเห็นจากวิทยากรนับสิบท่านที่มาร่วมกันในวันนี้จะได้รับการเผยแพร่และถ่ายทอดสู่ประชาชนทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ไทย-จีน มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  โดยในวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมาถือเป็นวันชาติของจีน คนทั่วโลกได้เห็นภาพของการเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน  ซึ่งประเทศไทยในฐานะมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอันดีและยาวนานต่อเนื่องถึง 44 ปีก็ได้ร่วมแสดงความยินดีและร่วมชื่นชมต่อความสำเร็จของจีนในการพัฒนาประเทศ

 

 

       ในโอกาสเดียวกันนี้คนไทยทั้งชาติยังรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญ “รัฐมิตราภรณ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ซึ่งเป็นเหรียญอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุด แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลที่มีส่วนร่วมในการสร้างคุณูปการมหาศาลที่มีต่อการเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างไทยกับจีน

       เมื่อพูดถึงความเจริญก้าวหน้า 70 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทุกๆด้าน ในระดับที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์ โดยความมหัศจรรย์ที่ผมอยากจะพูดถึงในวันนี้คือความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ที่จีนได้แสดงให้ชาวโลกเห็น ในห้วง 70 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่มั่นคงของจีนส่งผลให้ชาวจีนมีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้นราว 60 เท่า โดยเมื่อ 70 ปีที่แล้ว รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวจีนอยู่ที่เพียง 49.7 หยวน หรือราว 250 บาท ในขณะที่เมื่อปี 2561 มีจำนวน 28,200 หยวน หรือราว 1.41 แสนบาท และการเติบโตอย่างมั่นคงของรายได้ส่งผลให้อัตราการใช้จ่ายเติบโตขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงกำลังซื้ออันมหาศาล และความต้องการวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน การค้า และการลงทุนอันมหาศาล ที่ช่วยสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก

      และที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง คือการลดความยากจน ซึ่งตอนนี้ จีนมีคนจนประมาณต่ำกว่าร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงประชากรประมาณ 700 ล้านคนของจีนได้ถูกยกออกจากความยากจน ตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ในวันนี้ประเทศจีนคือขุมพลังทางอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ เหล็ก ปูนซีเมนต์ ถ่านหิน ยานยนต์ เรือ รถไฟความเร็วสูง หุ่นยนต์ สะพาน อุโมงค์ ถนน เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และที่สำคัญคือจีนมีสถิติการสมัครเพื่อจดทะเบียนสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 1.5 เท่า และปัจจุบันนี้ จีนได้กลายเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโลก ทั้งด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การชำระเงินออนไลน์ อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of things) ปัญญาประดิษฐ์ และบล็อกเชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้จีนจะยังคงรักษาบทบาทการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกต่อไปในอนาคต

     ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือประเทศจีนทำอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงประเทศ จากประเทศยากจนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียงหนึ่งในสามของรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประเทศในแถบทวีปแอฟริกา ให้กลายเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโลก และที่สำคัญคือประเทศนี้มีประชากรถึง 1.4 พันล้านคน

        1.จีนให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางการเมือง 2.การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 3.เน้นการปฏิรูปจากล่างสู่บน 4.ส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงสร้างต่างๆ ในท้องถิ่น การส่งเสริมให้แรงงานมีทักษะอยู่อาศัยและทำงานในท้องถิ่น การลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลในด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5.ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับเอกชน 6.ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นักลงทุนจีนได้ก้าวออกไปลงทุนทั่วโลก ทั้งนี้ เห็นว่าจีนเน้นเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศ รับมือกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ ที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเดินหน้าเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ หวังยุติความขัดแย้งสงครามการค้า

     สำหรับ ไทยพวกเราย่อมให้ความสำคัญเรียนรู้จากประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศของจีน และสามารถก้าวและเติบโตไปพร้อมกับจีนได้ เราเป็นเอเชียด้วยกัน กระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับตลาดจีนเป็นอย่างมาก เพราะจีนเองก็เป็นประเทศคู่ค้าลำดับ 1 ของไทย โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2552 – 2561 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีนขยายตัวสูงมาก ถึงร้อยละ 10.3 โดยเฉลี่ยต่อปี โดยจีนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทย ครองสัดส่วนการค้าร้อยละ 16 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของจีน ครองสัดส่วนการค้าราวร้อยละ 2.1

     ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับจีน มี 2-3 รูปแบบกลไกแรกคือ JC คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (JC เศรษฐกิจไทย-จีน, กรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง (Mekong - Lancang Cooperation - MLC) , ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ใน 3 กรอบความร่วมมือสำคัญเราทำงานร่วมกัน และอีกอันคือ กรอบ FTA อาเซียน-จีน ระหว่างประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจนี้ตนก็เป็นประธานรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ในระหว่างนี้ ก็ได้มีแนวทางและดำเนินการประชุมจะได้จาต่อเนื่อง

     ตนได้จัดคณะเดินทางไปเยือนนครหนานหนิง ระหว่างวันที่ 20-21 กันยายน 2562 และได้พบหารือกับรองนายกรัฐมนตรี หาน เจิ้ง และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (นายลู่ ซิน เซ่อ) ในประเด็นความร่วมมือรอบด้าน โดยเน้นสินค้าเกษตร และมีการลงนาม MOU สินค้ามันสำปะหลังด้วย รวมถึงได้พบหารือกับผู้แทนภาครัฐ/เอกชนไทย-จีน ในกลุ่มยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้ และเร็วๆนี้ ผมจะพาคณะเดินทางไปยังนครเซี่ยงไฮ้ เพื่อเข้าร่วมงาน China  International Import Expo 2019 หรือ CIIE 2019 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ดี ประเทศไทยให้ความสำคัญกับจีน และสานต่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและจีน ตลอดจนขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ ที่มีมาอย่างยาวนานในอดีตให้พัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในอนาคต

      ในช่วงหนึ่งนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า  ในสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปไทยเรามีเอ็มโอยูหรือข้อตกลง อยู่กับจีนในเรื่องของข้าวกับยางพาราซึ่งในเรื่องของข้าวนั้นเราได้ทำเอ็มโออยู่กับจีนที่จะจีนช่วยเราซื้อข้าวเราประมาณ 2,000,000 ตันซึ่งขณะนี้เข้าใจว่ายังขาดอยู่อีก 1,300,000 ตัน รวมทั้งยาพาราเรามีเอ็มโออยู่กับจีนอีก 2 แสนตันจีนซื้อแล้ว 16,800 ตันยังขาดอยู่ส่วนหนึ่ง ทั้งนี้เรื่องนี้ตนก็ได้ประสานงานผ่านท่านทูตจีนไปแล้วรวมทั้งได้ฝากท่านรองฯหานเจิ้งของจีนไปด้วย ตนในฐานะเซลล์แมนประเทศก็จึงขอทำหน้าที่ไปด้วย

    และในฐานะกำกับกระทรวงพาณิชย์ ไทยเรายังให้ความสำคัญกับการใช้กลไกทูตพาณิชย์ทั่วโลกในการทำหน้าที่เซลล์แมนประเทศ หรือในการเจาะลึกรายบุคคลต้องยอมรับว่าประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกระจายไปทั่วทุกมณฑลมีความต้องการใช้สินค้าเกษตรอาหารอะไรรูปและสินค้าจากประเทศไทย จึงเป็นจุดสำคัญในการที่ทูตพาณิชย์ไทยต้องทำงานหนักในการร่วมมือแต่ละมณฑลเพื่อส่งสินค้าไปจีนมากขึ้นลดการขาดดุลการค้าลงมาให้แคบลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผมรับหน้าที่สิ่งที่ผมตั้งเป็นนวัตกรรมใหม่ในทางเศรษฐกิจของกระทรวงก็คือเราจะตั้ง กรอ.พาณิชย์เพื่อเป็นเวทีสำหรับความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับผู้ส่งออกและพ่อค้าเช่นเดียวกันที่จีนทำอยู่และประสบความสำเร็จคือการให้ความสำคัญทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน

     อย่างไรก็ตาม การทำงานนั้น ตนเพิ่งประกาศไปว่า เราต้องทำงานเชิงรุกไปทุกตลาดทั่วโลก ก็เพิ่งประกาศไป เรากับจีนต่างกันที่รูปแบบการปกครองแต่เงื่อนไขความสำเร็จคือหลักใหญ่ต้องใช้หลักการบริหารรัฐกิจที่ชัดเจนจะทำให้เดินหน้าไปได้ เช่นที่ประธานาธิบดีสีได้ทำก็เป็นแบบอย่างก็เป็นเรื่องดี

      เวลา 70 ปี เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปีของอาณาจักรจีนที่มีเรื่องราวมากมาย แต่ 70 ปีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนก็เป็นกรณีศึกษาของโลกยุคปัจจุบัน  และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีอิทธิพลต่อโลกในอนาคต ดังนั้น การสัมมนาเรื่อง ‘7 ทศวรรษจีนใหม่ ก้าวต่อไปที่โลกเฝ้ามอง’ ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน ร่วมกับ อสมท. จัดในวันนี้ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆในอนาคต

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ 'การพัฒนาจีน แบบอย่างที่โลกเรียนรู้'

     นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดการสัมมนา และ กล่าวปาฐกถาพิเศษ 'การพัฒนาจีน แบบอย่างที่โลกเรียนรู้'

       ความว่า การจัดงานครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันดีของผู้สื่อข่าวไทยและจีน การจัดสัมมนาวันนี้มีเป้าหมายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งข้อคิดเห็นจากวิทยากรทุกท่าน คงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและคงได้มีการถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชนทั้งสองประเทศต่อไป ในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโอกาส 70 ปีแห่งการสถาปนาประเทศจีน ประเทศไทยในฐานะที่มีความสัมพันธ์อันดีด้วยกันมาโดยตลอด ได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และ ประธานาธิบดีจีน ทูลเกล้าถวายเครื่องอิสริยาภรณ์รัฐมิตราภรณ์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความร่วมมือที่ทรงมีให้กับจีนในปีนี้ด้วย

      เมื่อพูดถึงความเจริญรุดหน้าของประเทศจีน ได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ในระดับที่เรียกว่า ความมหัศจรรย์ ซึ่งมีผลส่งให้ชาวจีนมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 60 เท่า นับจาก 70 ปีที่แล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลต่อกำลังซื้อของประเทศ ทำให้ประเทศจีนต้องการวัตถุดิบ เกิดการค้า การลงทุน อย่างมหาศาล และ เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกความยากจนออกจากประชากรมากมาย นอกจากนี้จีนยังเป็นทั้งตลาดและผู้ผลิตของโลก จีนมีสถิติการจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก โดยมากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 1.5 เท่า จีนยังเป็นผู้นำทั้งในเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ บลอคเชน ฯลฯ ทำให้จีนรักษาความเป็นผู้นำของโลกได้ ประเด็นสำคัญคือจีนเปลี่ยนแปลงตัวเองเช่นนี้ได้อย่างไร จากประเทศยากจน มาเป็นประเทศที่มี GDP เป็นอันสองของโลก

      กระทรวงพาณิชย์ จึงค้นคว้าหาสาเหตุจนพบว่า จีนให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพทางการเมือง จีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จีนเน้นปฏิรูปจากล่างสู่บน จีนใช้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมาก จีนเน้นความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน จีนใช้กองทัพธุรกิจเอกชนทำการค้าไปทั่วโลก วันนี้แม้เศรษฐกิจจีนจะไม่สามารถโตได้เป็นตัวเลขสองหลักเหมือนแต่ก่อน แต่จีนก็ปรับตัว เน้นพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ เน้นสิ่งแวดล้อม เน้นลดปัญหาสงครามการค้า สำหรับประเทศไทย จำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศจีน เพื่อให้ไทยและจีนก้าวไปด้วยกัน ประเทศไทยถือว่าจีนเป็นมิตรประเทศที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในฐานะคนเอเซียด้วยกัน กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับตลาดประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง เพราะจีนเป็นคู่ค้าลำดับหนึ่งของประเทศไทย มูลค้าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ต่อปี

        ในปีนี้ ที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ในการประชุมด้านเศรษฐกิจอาเซียนบวกจีน ก็ได้มีการประชุมต่อเนื่อง มีความคืบหน้า ร่วมมือกันไปด้วยดีมาตลอด การค้าของอาเซียน-จีนนั้น มียอดเพิ่มขึ้นทุกปี กรอบความร่วมมือนี้ ทำให้ไทยใช้สิทธิประโยชน์จากการส่งสินค้าไทยไปจีน กว่าร้อยละ 98 ของสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอันนี้

      ประเทศไทยต้องการขยายตลาดไปยังประเทศจีน เพราะไทยยังขาดดุลการค้ากับจีนมาก ต้องขอทำหน้าที่เซลล์แมนประเทศ ช่วยกันขายสินค้าไทยไปจีนให้มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าเกษตร และ สินค้าเกษตรแปรรูป ซึ่งเรามีบันทึกความร่วมมือกับจีนอยู่ ในด้านข้าว และ ยางพารา โดยขอให้จีนซื้อข้าวจากไทยประมาณ 2 ล้านตัน และ ยางพารา 2 แสนตัน     

      นวัตกรรมใหม่ทางเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์ ตอนนี้สร้างเวทีความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับรัฐ ในการร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน แก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ภาคเอกชนสามารถทำตลาดในต่างประเทศได้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการทำยอดขาย นำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งจีนเป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ทูตพาณิชย์จะทำงานหนักมากขึ้น นอกจากนี้จะใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ของจีน ในการนำเสนอสินค้าไทย ซึ่งล่าสุดก็ได้ไปเปิดงาน China Asean Expo เพื่อให้ได้เปิดตลาดสินค้า และ กระชับความสัมพันธ์มากขึ้น อันเป็นการบอกว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับจีนมาก

      อาเซียนกับจีน ตอนนี้กำลังเจรจายกระดับ เพื่อเพิ่มรายการสินค้า เพิ่มการลงทุน ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!