WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Aบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร

คณะทำงานวอร์รูม ถกแผนรับมือการเบี่ยงเบนการค้า พร้อมวางกลยุทธ์สู้เทรดวอร์-เบร็กซิต

     คณะทำงานวอร์รูมหารือเตรียมความพร้อมรับมือการเบี่ยงเบนทางการค้า เสนอปรับโครงสร้างประเทศ ใช้โอกาสจากบาทแข็งนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้าศักยภาพเพื่อส่งออก เร่งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดันไทยใช้สินค้าไทย ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนพึ่งส่งออกเป็นหลัก และเร่งเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู ส่วนแผนรับมือเทรดวอร์ เล็งดันส่งออกสินค้าที่สหรัฐฯ และจีนขึ้นภาษี และเตรียมสานสัมพันธ์อียู อังกฤษ หลังเบร็กซิต

      นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะทำงานวอร์รูม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิต) ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแนวทางการรับมือการเบี่ยงเบนทางการค้า โดยเห็นตรงกันว่าจะต้องมีการปรับโครงสร้างประเทศ ด้วยการใช้โอกาสจากเงินบาทที่แข็งค่านำเข้าวัตถุดิบราคาถูกมาผลิตเป็นสินค้า และให้มีการปรับกฎระเบียบภายในให้เอื้อต่อการนำเข้า ซึ่งจะทำให้ไทยมีสินค้าศักยภาพเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

        “ในด้านการส่งออก เห็นตรงกันว่า ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก มีผลกระทบต่อการส่งออก การจะเข้าไปแทรกแซงก็ทำไม่ได้ เพราะไทยเป็นประเทศที่ไม่ได้แทรกแซงค่าเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังดูแลอยู่ แต่การที่เงินบาทแข็ง ก็เป็นโอกาสที่จะไทยจะปรับพอร์ตประเทศใหม่ มาดูเรื่องการนำเข้า และใช้ประโยชน์จากการนำเข้า ไม่ต้องกลัวว่านำเข้ามากแล้วจะไม่ดี”

      ส่วนในด้านการลงทุน เห็นว่า ไทยจะต้องเร่งการดึงดูดการลงทุนโดยตรงให้เพิ่มมากขึ้น เพราะผลจากสงครามการค้า ทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศอื่นๆ หลายประเทศ ซึ่งไทยจะต้องมีนโยบายและมาตรการดึงดูดการลงทุนที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการค้าลงทุน (บีโอไอ) และคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก็ดำเนินการอยู่ แต่จะไม่เน้นการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง

       นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยกับการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าไทย สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจของไทย และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ไม่ใช่จะพึ่งพาแต่การส่งออกเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันจีดีพีของไทย พึ่งพาการส่งออกสูงมาก

      อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องเร่งการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) โดยเฉพาะไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมการไปแล้ว และจะเดินหน้าแน่นอน เพราะหากไทยไม่ทำ จะเสียเปรียบประเทศคู่แข่ง ที่ปัจจุบันมีการทำเอฟทีเอกับอียูแล้ว และยังต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอที่ค้างอยู่ในเสร็จ ทั้งความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ไทย-ตุรกี ไทย-ศรีลังกา และไทย-ปากีสถาน

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแผนรับมือในด้านการส่งออก กรณีสงครามการค้า จะเร่งผลักดันการส่งออกสินค้าที่แต่ละฝ่ายขึ้นภาษี โดยสินค้าที่มีโอกาสส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น ยางรถ ตู้เย็น และข้าว ส่งออกไปจีน เช่น เครื่องสำอาง อาหารปรุงแต่งสำหรับทารกและเด็กเล็ก และตลาดเมืองรองของจีน เช่น แป้งมันสำปะหลัง ทุเรียน และผลไม้อื่นๆ ส่วนสินค้าที่ต้องเตรียมหาตลาดใหม่ทดแทนจีน เช่น มันสำปะหลัง ยางสังเคราะห์ ยางธรรมชาติ และทดแทนตลาดสหรัฐฯ เช่น เครื่องโทรศัพท์ หน่วยเก็บของเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และส่วนประกอบของเครื่องโทรศัพท์ และสินค้าที่ต้องมีการปรับโครงสร้าง และดึงการลงทุน เช่น ตัวประมวลผลและตัวควบคุมสำหรับวงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์ แล็ปท็อป โน้ตบุ๊ก ยารักษาโรค อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น

         ส่วนการรับมือเบร็กซิต จะต้องเร่งกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับอียูและอังกฤษให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เร่งส่งออกไปยังอังกฤษโดยใช้ประโยชน์จากอัตราภาษีชั่วคราวที่ลดลง หรือการที่อังกฤษจะหาแหล่งนำเข้าอื่นทดแทนนำเข้าจากอียู เร่งดึงดูดนักลงทุนอียูและอังกฤษมาลงทุนในไทย หาลู่ทางกระจายการลงทุนในเนเธอร์แลนด์และประเทสแถบยุโรปตะวันออก รวมทั้งต้องเตรียมการเรื่องโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าไปอังกฤษ และเตรียมเครื่องมือรับประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!