WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFABaws

สหรัฐประกาศแก้ไขมาตรฐานสำหรับที่จัดเก็บเสื้อผ้า

      กรมการค้าต่างประเทศ เผยสหรัฐประกาศแก้ไขมาตรฐานสำหรับที่จัดเก็บเสื้อผ้า ต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์และผ่านการทดสอบมาตรฐานตามที่สหรัฐฯ กำหนด และย้ำเงื่อนไขการติดฉลากคำเตือนต้องมีรูปภาพแสดงสัญลักษณ์อันตราย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตกับเด็ก

      นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า American Society for Testing and Materials (ASTM) ได้ออกประกาศมาตรฐานสำหรับที่จัดเก็บเสื้อผ้า (Clothing Storage Units) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ว่าด้วยมาตรฐาน ASTM F2057-19 เพื่อแก้ไขมาตรฐาน ASTM F2057 ตามที่คณะกรรมการด้านความปลอดภัยสินค้าผู้บริโภคของสหรัฐ (US Consumer Product Safety Commission : CPSC) ได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและลดอันตรายสำหรับการใช้ที่จัดเก็บเสื้อผ้า เพื่อลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตกับเด็ก โดยเพิ่มเติมความชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของการใช้ประโยชน์ที่จัดเก็บเสื้อผ้า และข้อกำหนดในการติดฉลาก สรุปได้ดังนี้

      1) ที่จัดเก็บเสื้อผ้า ครอบคลุมถึง ชั้นที่มีลิ้นชักใส่เสื้อผ้า (chests) ตู้มีลิ้นชัก (drawer chests) ตู้ไม้ขนาดใหญ่ที่มีประตูบานเดียวหรือสองบาน (armoires) ตู้สูงขนาดเล็กที่มีลิ้นชัก (chifferobes) ตู้ลิ้นชัก (bureaus) ตู้เสื้อผ้าและโต้ะเครื่องแป้ง (door chests and dressers) ซึ่งความสูงตั้งแต่ 27 นิ้ว (686 มม.) ซึ่งเดิมควบคุมที่จัดเก็บเสื้อผ้าที่มีความสูงมากกว่า 30 นิ้ว แต่อย่างไรก็ดีมาตรฐานฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ในห้องนอน ชั้นจัดเก็บเสื้อผ้าที่ซักรีด และโต๊ะข้างเตียง (เช่น เฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็กสำหรับข้างเตียง เพื่อใช้สำหรับวาง/จัดเก็บสิ่งของ ซึ่งรวมถึง โคมไฟ นาฬิกาปลุก หนังสือ นิตยสาร หรือแว่นตาสำหรับการอ่านหนังสือ) และไม่ครอบคลุมชั้นจัดเก็บเสื้อผ้า ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดความปลอดภัยของผู้บริโภค F 2598 ทั้งนี้ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตตามมาตรฐานนี้ควรมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ โดยผ่านการทดสอบคุณลักษณะทางด้านความเสถียร โดยทดสอบให้ที่จัดเก็บเสื้อผ้าไม่โค่นล้มเมื่อเปิดบานประตูทั้งหมด 90 องศา และน้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบความเสถียรของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 50 ปอนด์

       2) กำหนดฉลากคำเตือนให้ครอบคลุม'สัญลักษณ์อันตราย'โดยให้ใช้รูปภาพแสดง เพื่อเป็นการแสดงคำเตือนว่าไม่ควรวางโทรทัศน์กับชั้นที่มีความสูงตั้งแต่ 27 นิ้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะต่อเด็กจากการโค่นล้มได้ โดยจะต้องมีฉลากคำเตือนติดบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีการใช้งานอย่างคงทน เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะเลือกติดด้านในของลิ้นชักด้านบน โดยเฟอร์นิเจอร์ในห้องนอนที่ออกแบบมาเพื่อให้วางโทรทัศน์จะเรียกว่า "media chest" ซึ่งต้องใช้ฉลากคำเตือนแยกต่างหาก

     ทั้งนี้ US CPSC ได้กำหนดให้มีระยะเวลาการปรับตัวเป็นเวลา 180 วัน หลังจากที่มาตรฐานฉบับนี้ออกเผยแพร่ (ASTM F2057-19) เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานฉบับใหม่ตามคำร้องขอของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

     นายอดุลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปยังสหรัฐฯ (ภาพรวม 3 ปีย้อนหลังช่วง 2559 – 2561 มีมูลค่าการส่งออก 7,395 6,583 และ 5,439.7 ล้านบาทตามลำดับ และในปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) มีการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปสหรัฐฯ มูลค่า 4,142.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรตระหนักถึงการแก้ไขมาตรฐานข้างต้น เพื่อเตรียมตัวรองรับการบังคับใช้มตราฐานดังกล่าวของสหรัฐไม่ให้กระทบต่อการส่งออกของไทย

       ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.astm.org/Standards/F2057.htm ในการเตรียมความพร้อมให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า และสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กองบริหารสินค้าข้อตกลงและมาตรการการค้า โทร. 02-547-4736 หรือสายด่วน 1385 

Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

 

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!