WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFABAF22

พาณิชย์ วิเคราะห์จีนเปิดศึกมะกันจำกัดส่งออกแร่หายาก ชี้เป็นโอกาสไทยส่งสินค้าไปขายแทน

      พาณิชย์ เผยผลการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์กรณีจีนอาจจำกัดการส่งออกแร่หายากไปยังตลาดสหรัฐฯ พบเป็นโอกาสส่งออกของไทย หากสหรัฐฯ ต้องการหาแหล่งนำเข้าใหม่ เผยมีสินค้า 2 รายการ ที่ไทยจะส่งออกได้เพิ่มขึ้น

       น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์กรณีที่จีนอาจมีมาตรการจำกัดการส่งออกแร่หายาก (Rare Earth Elements : REEs) ไปยังสหรัฐฯ เพื่อเป็นข้อต่อรองในสงครามการค้า โดยพบว่าในระยะสั้น อาจไม่กระทบต่อสหรัฐฯ มากนัก เนื่องจากยังคงมีแร่หายากสำรองไว้อยู่ แต่ในระยะยาว การที่จีนลดการส่งออก อาจทำให้ราคาสูงขึ้น และจะเป็นการกระตุ้นให้สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ หันไปทำเหมืองแร่เองได้

     “แม้ว่าสหรัฐฯ จะมีการพึ่งพาการนำเข้าแร่หายากจากจีนค่อนข้างสูงในหลายสินค้า แต่ในภาพรวมการผลิตแร่หายาก มีหลายประเทศผลิตได้และส่งออกไปทดแทนจีนในตลาดสหรัฐฯ ได้ การที่จีนจะระงับส่งออกธาตุหายากไปสหรัฐฯ จึงยังไม่เป็นเงื่อนไขหลักที่จะทำให้สหรัฐฯ จะรีบทำข้อตกลงการค้ากับจีน และสหรัฐฯ เองยังจะมีมาตรการป้องกันปัญหา ด้วยการหาแหล่งนำเข้าใหม่ ซึ่งอาจจะเร่งเจรจากับประเทศที่มีกำลังการผลิตรองจากจีน รวมทั้งการฟื้นฟูอุตสาหกรรมผลิตแร่หายากในประเทศที่ถูกปิดจากด้านสิ่งแวดล้อม”

      อย่างไรก็ตาม จากกรณีดังกล่าว พบว่า ไทยมีโอกาสในการส่งออกสินค้าโลหะแรร์เอิร์ท สแคนเดียมและอิตเทรียม จะผสมระหว่างกันหรือระหว่างโลหะเจือของโลหะดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม (พิกัด 280530) และสารแร่ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นๆ (พิกัด 253090) ไปทดแทนสินค้าจีนในสหรัฐฯ ได้ ซึ่ง 2 รายการดังกล่าว ไทยส่งออกไปโลกรวม 42.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ส่งออกสินค้าในกลุ่มแร่หายากไปตลาดโลกรวม 54.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนรวม 9.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหากสหรัฐฯ มีความจำเป็นต้องหาแหล่งนำเข้าเพิ่มเติม ไทยอาจเป็นตัวเลือกหนึ่ง ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีและทำให้สหรัฐฯ ไม่เพ่งเล็งในการใช้มาตรการทางการค้ากับไทย

      ทั้งนี้ ที่ผ่านมา จีนเคยลดโควตาส่งออกแร่หายากให้ญี่ปุ่น ในปี 2553 และเคยลดการส่งออกแร่หายากให้สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ในปี 2555

     สำหรับ แร่หายาก มีความสำคัญในการใช้ผลิตสินค้าที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน ทั้งเพื่อการบริโภค การอุตสาหกรรม การทหาร การผลิตสมาร์ทโฟน เครื่องมือการสื่อสาร การผลิตแบตเตอรี รวมถึงเครื่องบินขับไล่ รถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนของอากาศยาน โดยในปี 2561 ประเทศที่สามารถผลิตแร่หายากได้มากที่สุด คือ จีน สัดส่วนร้อยละ 70.59 ของการผลิตโลก รองลงมา ได้แก่ ออสเตรเลีย ร้อยละ 11.76 และสหรัฐฯ ร้อยละ 8.82 ในขณะที่ไทยมีกำลังการผลิตเป็นลำดับที่ 8 ของโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.59

      ส่วนของการนำเข้าแร่หายากของสหรัฐฯ กรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) รายงานว่า ในช่วงปี 2557-2560 สหรัฐฯ นำเข้าแร่หายากจากจีนถึงร้อยละ 80 รองลงมาเป็นเอสโตเนีย ร้อยละ 6 ฝรั่งเศส ร้อยละ 3 และญี่ปุ่น ร้อยละ 3 และในปี 2561 สหรัฐฯ นำเข้าแร่หายากจากจีน คิดเป็นมูลค่ารวม 113.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!