WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaagEทเรยน

เอฟทีเอดันส่งออก 'ทุเรียน'พุ่ง ครึ่งปีทำยอด 817 ล้านเหรียญ จีนมาแรงโต 70% อาเซียน 19%

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยเอฟทีเอช่วยดันส่งออกทุเรียนพุ่ง ยอด 6 เดือนทะลุ 817 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 45% จีนโตแรงถึง 70% อาเซียน 19% รวมสองตลาดมีสัดส่วนสูงถึง 79% ของยอดส่งออกรวม ดันไทยขึ้นแท่นส่งออกทุเรียนเบอร์หนึ่งของโลก พร้อมแนะเกษตรกร ผู้ส่งออก คุมคุณภาพ หันแปรรูป ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น

       นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามผลการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดโลกในช่วง 6 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) พบว่า ทุเรียนยังคงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด มีสัดส่วนการส่งออกทุเรียนสด คิดเป็น 44% ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมด และมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 817 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 45% โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีนและอาเซียน โดยส่งออกไปจีนมูลค่า 425 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 70% อาเซียน มูลค่า 219 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19% ทำให้ในปัจจุบันไทยครองแชมป์ผู้ส่งออกทุเรียนได้เป็นอันดับที่ 1 ของโลก นำหน้าฮ่องกงและมาเลเซียกว่าเท่าตัว

      “ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ได้มีส่วนส่งเสริมให้การส่งออกทุเรียนของไทยเติบโต เพราะช่วยขจัดอุปสรรคภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ทำให้ทุเรียนไทยได้แต้มต่อ จึงมีโอกาสในการส่งออกและแข่งขันมากขึ้น โดยปัจจุบันทุเรียนไทยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าใน 16 ประเทศคู่ค้าที่ไทยมีเอฟทีเอด้วย ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ บรูไน อินเดีย ชิลี และเปรู เหลือเพียง 2 ประเทศ คือ มาเลเซียและเกาหลีใต้ ที่ยังเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทย แต่ได้ปรับลดอัตราภาษีลง โดยมาเลเซียเก็บที่ 5% เกาหลีใต้ปรับภาษีนำเข้าลงจาก 45% เหลือ 36% แล้ว”

      โดยการส่งออกทุเรียนที่เพิ่มขึ้น ยังสอดคล้องกับสถิติการใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอในการส่งออก โดยพบว่า ทุเรียนเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการขอใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสูงมากเป็นอันดับต้น โดยเฉพาะในการส่งออกไปจีนและอาเซียน ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย และมีสัดส่วนการส่งออกทุเรียนไปยังสองตลาดนี้ คิดเป็น 79% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย

      อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบการส่งออกทุเรียนของไทยไปจีนในปี 2561 กับปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนหน้าที่จีนยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าทุเรียนจากไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน พบว่า มูลค่าเพิ่มขึ้นจากไม่มีการส่งออกเลยเป็น 418.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 41,840% และส่งออกไปอาเซียนเพิ่มขึ้นจากปี 2535 ซึ่งเป็นปีก่อนที่อาเซียนจะลดภาษีนำเข้าทุเรียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน มีมูลค่าเพิ่มจาก 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 315.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 เพิ่มขึ้น 8,416%

     นางอรมน กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ทำให้การค้าผลไม้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากผลไม้สดแล้ว คาดการณ์ว่าตลาดผลไม้แปรรูปในลักษณะขนมขบเคี้ยว จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จึงเป็นโอกาสทองที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะเพิ่มรูปแบบสินค้าส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ทุเรียนแปรรูป เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

       ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าทุเรียนของไทยครองความเป็นหนึ่งในตลาดได้อย่างยั่งยืน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ และมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งควรลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากปัจจุบันตลาดในหลายประเทศมีความเข้มงวด ประกอบกับผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!