- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 08 August 2019 15:08
- Hits: 2318
กรมพัฒน์ฯ เสริมทักษะความเป็นมืออาชีพ ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว พร้อมติดอาวุธด้วยนวัตกรรมเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจและบริการ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ และนำนวัตกรรมเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ พร้อมจัดพิธีมอบวุฒิบัตรและโล่รางวัล DBD Smart Enterprise Awards Presentation 2019 ให้ธุรกิจที่ผ่านการพัฒนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศกับเศรษฐกิจโลก
นางลลิดา จิวะนันนทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยภายหลังเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและโล่รางวัลกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจสู่ Smart Enterprise ว่า นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญทางธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายมีการพัฒนาและนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการเพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าและลดต้นทุนในการดำเนินการ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เห็นความสำคัญและมุ่งหวังให้ผู้ประกอบธุรกิจมีองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการและการตลาดที่ทันสมัย สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล การเงิน การตลาด การประชาสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ ที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล
กรมฯ จัดพิธีมอบวุฒิบัตรและโล่รางวัล DBD Smart Enterprise Awards Presentation 2019 ณ ลานชั้น 3 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อแสดงความยินดีแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาทั้ง 2 กิจกรรม จำนวนทั้งสิน 105 ราย แบ่งเป็น 1) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักธุรกิจบริการมืออาชีพ (Smart Professional Enterprise : DBD-SPE) มีผู้ผ่านการพัฒนา จำนวน 61 ราย ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลต้นแบบที่ดี (The Best Practice) ในระดับดีเด่น คือ นายณรงค์ศักดิ์ อัสนี บริษัท ใบไม้ร่าเริง จำกัด ระดับดีมาก คือ นางสาวชนิธร สุนทรพันธุ์ บริษัท วินเทรด โปรดักส์ จำกัด คือ ระดับดี คือ นายพลพรรษ สุวรรณพิมลกุล บริษัท ทรีโอ เทรดดิ้ง จำกัด และ 2) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-AMC) มีผู้ผ่านการพัฒนา จำนวน 44 ราย และผู้ที่ได้รับรางวัลต้นแบบที่ดี (The Best Practice) คือ นางสาวอภิณพร ทองดี บริษัท แอลเจที อินเตอร์ ฟู้ด จำกัด ระดับดีมาก คือ นายสฤษฎพร ศาศวัต บริษัท บาลแม็ค จำกัด นายธีรวัชร์ เชื้อวัฒนวาณิชย์ บริษัท ครีเอทีฟ มี จำกัด
สำหรับ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักธุรกิจบริการมืออาชีพ (Smart Professional Enterprise : DBD-SPE) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักธุรกิจมีวิสัยทัศน์ด้านกลยุทธ์ มีความเป็นผู้นำ เห็นความสำคัญของนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และจัดการองค์ความรู้ เพื่อช่วยพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น และกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-AMC) เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำแนวคิดเชิงสร้างสรรค์มาประยุกต์ในการสร้างกลยุทธ์ แนวทางการตลาดที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบธุรกิจที่ผ่านการพัฒนาแล้วรวมทั้งสิ้น จำนวนกว่า 1,500 ราย
การสร้างนวัตกรรมรูปแบบการทำธุรกิจ หรือ หรือ Business Model Innovation (BMI)อาจนำไปสู่การสร้างไอเดียใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือ กระบวนการผลิตให้กับธุรกิจตามมาได้อีกด้วย เป็นการเตรียมตัวนำธุรกิจไทยเข้าสู่สังคมของเศรษฐกิจฐานความรู้ที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับประเทศได้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย รองอธิบดี กล่าวสรุป
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1570 ส่วนนโยบายและแผนธุรกิจบริการ กองธุรกิจบริการ โทร 0 2547 5958 ,0 2547 5963 อีเมล์ [email protected] และ www.dbd.go.th
Click Donate Support Web