WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFAB CLMVT

ดีไอทีพี ชี้สถานการณ์ส่งออกไทย-ซีแอลเอ็มวี 3 ปียังส่งสัญญาณบวก พร้อมดึง 9 ประเทศร่วมระดมสมอง เสริมใยเหล็กแบรนด์ 'อาเซียน' ผงาดเวทีโลก

     เอ็นอีเอ ลุยจัดโครงการ CLMVT Executive Program on New Economy ตั้งเป้าสร้างเครือข่ายการค้ากลุ่มซีแอลเอ็มวี-อาเซียน

         กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เผยสถานการณ์ส่งออกไทยไปยัง CLMVT ยังมีสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 4.33 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2561 มีมูลค่าอยู่ที่ 4.36 แสนล้านบาท และปี 2560 มีมูลค่า 4.11 แสนล้านบาท พร้อมเผยได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานด้านการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้แนวคิด 'Stronger Together' หรือเติบโตไปด้วยกัน พร้อมจัดโครงการ CLMVT Executive Program on New Economy ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนภายในกลุ่มประเทศ CLMVT และประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยในปีนี้ได้มุ่งเป้าไปที่การสร้างแบรนด์อาเซียนให้มีความแข็งแกร่ง และการใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ

         นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการบริหารสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “ในฐานะที่เคยเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ CLMVT Executive Program on New Economy มาตั้งแต่ปีแรก ผมเห็นถึงการเติบโตของโครงการ จากการสร้างเครือข่ายในกลุ่มประเทศ CLMVT และขยายสู่กลุ่มอาเซียน ทำให้เกิด Common Stand และ Identity ให้กับพวกเราบนเวทีโลก ในขณะที่ ปัจจุบันการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความท้าทายมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องช่วยกันสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนให้แข็งแกร่งไปพร้อมกันจากพื้นฐานของเครือข่ายมิตรภาพและความจริงใจ

       นายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “กลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีที : CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) เป็นพื้นที่ดาวเด่นและน่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลก ด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค รวมทั้งปัจจัยในด้านคมนาคมขนส่ง แรงงาน และการปรับตัวของประชากรที่ก้าวไปสู่สังคมเมืองที่เอื้อต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆประเภท นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ภูมิภาคดังกล่าวยังจะกลายเป็นช่องทางการค้าที่มีความคำคัญ รวมทั้งเป็นภูมิภาคที่ประเทศมหาอำนาจจะเริ่มเข้ามาสร้างความสัมพันธ์และโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยควรใช้ความได้เปรียบจากการเป็นศูนย์กลางสร้างบทบาทต่างๆให้เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านการเงิน การเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยี การกระจายสินค้า รวมทั้งการกำหนดนโยบาย มาตรการ และสิทธิประโยชน์ เพื่อขับเคลื่อนให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

       สำหรับ ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 (มกราคม – มิถุนายน) การส่งออกของประเทศไทยไปยัง CLMVT ยังคงเติบโตใกล้เคียงกับปี 2560 และปี 2561 โดยมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 4.33 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2561 มีมูลค่าอยู่ที่ 4.36 แสนล้านบาท และปี 2560 มีมูลค่า 4.11 แสนล้านบาท โดยประเทศที่มูลค่าการส่งออกของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องได้แก่ เวียดนาม โดย 6 เดือนแรกของปี 2560 , 2561 และ 2562 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 1.8 , 1.85 และ 1.93 แสนล้านบาทตามลำดับ และกัมพูชา มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8.6 หมื่นล้านบาท 1.07 แสนล้านบาท และ 1.09 แสนล้านบาทตามลำดับ

โดยกลุ่มสินค้าที่เป็นที่ต้องการใน กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ได้แก่ น้ำมันและเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องดื่ม ชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งถือว่ายังมีมูลค่าการส่งออกและเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง

         นายวิทยากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดันโอกาสทางการค้า เพื่อให้ไทยและประเทศต่างๆในภูมิภาคเดียวกันมีบทบาทในเวทีการค้าโลก จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานด้านการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้แนวคิด 'Stronger Together'หรือเติบโตไปด้วยกัน เพื่อรับมือผลกระทบจากสงครามการค้าในรูปแบบต่างๆที่มีต่อ CLMVT และอาเซียนที่กำลังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง โดยแนวคิดนี้จะช่วยให้ไทยและประเทศสมาชิกสามารถบูรณาการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อโอกาสและสิทธิประโยชน์ต่างๆในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พร้อมทั้งสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างก้าวหน้าและยั่งยืน

      ทั้งนี้ ล่าสุด กรมได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(TPSO) ร่วมกันผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ แนวคิด และประสบการณ์ รวมถึงกระชับความสัมพันธ์ผู้นำทางเศรษฐกิจ จากทั้งภาครัฐและเอกชนภายใต้ โครงการ CLMVT Executive Program on New Economy โดยที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวได้สร้างครือข่าย และโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศ CLMV มาแล้วมากมาย โดยเฉพาะการสะท้อนถึงปัญหา อุปสรรค และนโยบายการแก้ไขที่จะช่วยให้ก้าวทันกับบริบทของการค้าโลก

         ด้าน นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กล่าวว่า โครงการ CLMVT Executive Program on New Economy เป็นโครงการที่รัฐบาลมุ่งเน้นส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Strategic Partnership) ระหว่างประเทศไทยและประเทศ CLMV กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ จึงได้ริเริ่มโครงการนี้เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนภายในกลุ่มประเทศ CLMVT โดยในปีนี้เป็นการจัดครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อโครงการ CLMVT Plus Executive Program on New Economy 2019 ระหว่างวันที่ 3 - 7 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ

   “สำหรับ ปีนี้ เราได้ขยายผลและต่อยอดจากปีที่ผ่านมาในหลายมิติ โดยการขยายกลุ่มประเทศเป้าหมายผู้ร่วมโครงการจาก CLMVT ต่อยอดสู่ ASEAN ซึ่งจัดว่าเป็น Emerging Market มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก รวมถึงการขยายหลักสูตรเป็น 5 วัน โดยร่วมกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า นำเสนอการใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ หรือ Cross-Border Digital Trade สำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่ อันสอดคล้องกับวาระสำคัญที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นประธานอาเซียน จึงได้กำหนดจัดงานภายใต้แนวคิดหลัก ASEAN Branding

           โดยในปีนี้ ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้บริหารระดับสูงทั้งสิ้น 69 ราย จาก 9 ประเทศ แบ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐ 30 % และจากภาคเอกชน 70 % โดยสาขาธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ อาหาร ก่อสร้าง ความงาม เทคโนโลยีและบริการ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน หากกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันบนพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน งาน CLMVT Plus Executive Program on New Economy 2019 จะช่วยสร้างเครือข่ายมิตรภาพระหว่างกันและจะพัฒนาเป็นเครือข่ายธุรกิจที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน รวมทั้งแบ่งปันประสบการณ์การทำงานกันซึ่งกันและกัน อันนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมของบริษัท นำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับ ASEAN ได้อย่างแท้จริง”

         นายนันทพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของ Branding เนื่องจากในกลุ่มอาเซียนมีประชากรกว่า 600 ล้านคน ซึ่งเป็นฐานและเป็นผู้บริโภคที่น่าสนใจ แม้ว่าเราจะเป็นแหล่งผลิตสินค้าชั้นนำ แต่ยังขาดอัตลักษณ์บนเวทีการค้าโลก การสร้าง ASEAN Branding ที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งสำคัญ โครงการนี้จึงได้เชิญ Professor Len Middleton และ Dr.Krishnan วิทยากรจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน รอสส์ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการสร้างแบรนด์และกลยุทธ์การตลาด ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกเป็นอย่างดี มาทำ Workshop เรื่องการสร้างแบรนด์ และมีสัมมนา Cross-Border Digital Trade Conference นำเสนอการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Site Visit เยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมหัวเหว่ย (HUAWEI) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพเทคโนโลยี IOT ที่ช่วยยกระดับการศึกษา และการพัฒนา 'The Smart City'เป็นตัวอย่างและกรณีศึกษาในการนำเทคโนโลยีมายกระดับคุณภาพชีวิต และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันอีกด้วย

      สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สายด่วน 1169 หรือเว็บไซต์ nea.ditp.go.th และ facebook.com/nea.ditp

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!