WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คน.จ่อลดพื้นที่ปลูกข้าว'ตุลาฯ'นี้ ยาหอมฤดูกาลใหม่ได้ราคาสูง

    แนวหน้า : นางจินตนา ชัยยวรรณาการ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเสนอให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าว และหาพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่มาเพาะปลูกแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาข้าวเปลือกที่ตกต่ำในอนาคต เพราะผลผลิตข้าวมีปริมาณมากกว่าความต้องการ ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นแผนระยะยาว คาดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะพร้อมดำเนินการได้ทันที

    "เบื้องต้นที่คิดกันไว้คือการจะเริ่มเปลี่ยนพื้นที่ข้าว มาปลูกอ้อยแทน เพราะปัจจุบันความต้องการอ้อยในตลาดมีสูง แต่ผลผลิตอ้อยมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มีความต้องการอ้อยมาก เนื่องจากพื้นที่ภายในประเทศจีนไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกอ้อย"

    ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวถือเป็นการดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาดได้ประมาณ 7 ล้านตันข้าวเปลือก จากปริมาณผลผลิตข้าวนาปีที่คาดว่าจะออกมา 27 ล้านตันข้าวเปลือก โดยมาตรการนี้จะใช้ระยะเวลา 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึงมีนาคม 2558 เพื่อไม่ให้ราคาข้าวตกต่ำ แต่ไม่นับรวมการระบายข้าวของรัฐบาลกับตลาดต่างประเทศที่ขณะนี้ที่มีคำสั่งซื้อแล้วกว่า 1.47 ล้านตันข้าวสาร จึงเชื่อว่าจะพยุงราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ความชื้น 15% ในฤดูกาลใหม่ที่จะออกมาให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 8,500 บาทต่อตัน

พาณิชย์ คาดยุทธศาสตร์ข้าวสรุปได้ภายใน ต.ค.นี้

    นางจินตนา ชัยยวรรณาการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเสนอให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม และหาพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่มาเพาะปลูกแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาข้าวเปลือกที่ตกต่ำในอนาคต เพราะผลผลิตข้าวมีปริมาณมากกว่าความต้องการ ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นแผนระยะยาว คาดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือน ต.ค. นี้ และจะพร้อมดำเนินการได้ทันที

    ยุทธศาสตร์หลักยังคงเป็นมาตรการจัดโซนนิ่งทางการเกษตร เน้นลดพื้นที่ปลูกข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นแทน แต่ต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น เพื่อให้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยแต่ละปียังคงเดิมหรือไม่ลดลงมาก    เบื้องต้นพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปจัดทำแปลงสาธิตจำนวน 882 แปลงทั่วประเทศ เพื่อทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ 6 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เพื่อเสริมความรู้และเป็นมาตรการจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชตามแนวทางการ จัดโซนนิ่งด้วย

     นางจินตนากล่าวด้วยว่ามีแนวคิดจัดตั้งสถาบันการพาณิชย์ข้าวและจะผลักดันให้เป็นมูลนิธิในอนาคต ดูแลโดยภาคเอกชน เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลเรื่องข้าวทั้งระบบให้กับชาวนา ผู้ส่งออก และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด หากสามารถจัดทำได้อย่างเป็นรูปธรรม เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาข้าวทั้งระบบของประเทศ เพราะศูนย์ดังกล่าวจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลและผลักดันการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายได้ทั้งชาวนา ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่มีส่วนสำคัญในการทำตลาดข้าวให้กับประเทศสร้างมูลค่าได้มากขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

'พาณิชย์'หนุนเกษตรกร หันปลูกข้าวปลอดสารพิษ

     แนวหน้า : นางจินตนา ชัยยวรรณาการ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ที่บริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ว่า ฟาร์มนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการปลูกข้าวปลอดสารพิษ หรือการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ เพราะสามารถยกระดับราคาข้าวได้ด้วยตนเอง โดยไม่หวังมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

    ทั้งนี้ กรมการค้าภายใน พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างเต็มที่ ในการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าวในรูปแบบเดิม มาปลูกข้าวอินทรีย์ โดยจะดึงฟาร์มที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากในปัจจุบันตลาดข้าวอินทรีย์ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดต่างประเทศ จากกระแสการรักษาสุขภาพที่มีเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคมองหาอาหารที่มีความปลอดภัยและส่งผลดีต่อสุขภาพ รวมทั้งยังเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ต้องการให้ผู้ผลิตสินค้าหันมาดูความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพื่อจะได้ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดได้ และแก้ปัญหาราคาตกต่ำในระยะยาวได้อีกด้วย

    นายกานต์ ไตรทอง เจ้าของบริษัท มีฟาร์มสุข (ไม่) จำกัด กล่าวว่า ต้นทุนในการปลูกข้าวปลอดสารพิษ อยู่ที่เฉลี่ยไร่ละประมาณ 3,000 บาท เนื่องจากไม่มีการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช ที่มีราคาสูง แต่จะใช้ปุ๋ยและวิธีกำจัดศัตรูพืชด้วยธรรมชาติ ทำให้สามารถขายข้าวปลอดสารพิษได้ประมาณตันละ 10,000 บาท ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ถึงประมาณ 6,000-7,000 บาทต่อตัน รวมทั้งตลาดข้าวปลอดสารพิษในปัจจุบันก็ยังมีการเปิดกว้างอีกมาก เนื่องจากแนวโน้มความต้องการข้าวปลอดสารพิษทั้งตลาดในประเทศไทยและในต่างประเทศมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!