WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พาณิชย์ แนะผู้ส่งออกเร่งปรับตัวก่อน EU ตัด GSP

    สหภาพยุโรปจะตัดสิทธิ GSP ที่ให้แก่ประเทศไทยในทุกสินค้าตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เนื่องจากไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงซึ่งโดยหลักเกณฑ์ของ EU จะต้องถูกตัด GSP ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อลดผลกระทบจากการถูกตัด GSP ดังกล่าว

    นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการถูกตัด GSP โดย EU พบว่าสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงสุด 18 รายการส่วนใหญ่มี EU เป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยมีการส่งออกไป EU โดยใช้สิทธิ GSP เฉลี่ยปีละ 3,024.07 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 13.37% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไป EU ทั้งนี้คาดว่าก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 ผู้นำเข้าสินค้าไทยใน EU จะเร่งนำเข้ามากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ

    สินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด (พึ่งพาตลาด EU สูงและมีการใช้สิทธิ GSP สูง) ได้แก่ ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง รถจักรยานยนต์ 250 – 500 cc และยางนอกรถจักรยาน ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบรองลงมา(ส่งออกไปตลาด EU น้อย แต่มีสัดส่วนการใช้สิทธิ GSP สูง) ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง รถบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน เครื่องปรับอากาศติดหน้าต่างหรือผนัง ยางนอกรถยนต์นั่ง กระสอบ/ถุง/กรวยพลาสติก  มอเตอร์ไม่เกิน 37.5 วัตต์ และพลาสติกอีพอกไซด์เรซิน แต่เมื่อพิจารณาในแง่ผลกระทบทางด้านภาษีสูง เนื่องจากจะมีการปรับภาษีสูงขึ้นมากจะเป็นสินค้า รถบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน ยางนอกรถยนต์นั่ง ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องปรับอากาศติดหน้าต่างหรือผนัง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ขณะที่คู่แข่งหลายประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จะยังได้รับสิทธิอยู่ซึ่งผู้ผลิตไทยจะต้องปรับตัวกับการแข่งขันที่จะมีสูงขึ้น

    นางอัมพวัน พิชาลัยกล่าวเพิ่มเติมว่าผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันมากขึ้นเช่นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนสินค้า การใช้กลยุทธ์การตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ดีกว่า การใช้ประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิ GSP เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นฐานในการผลิตป้อนตลาด EU รวมทั้งการแสวงหาตลาดทดแทนที่มีศักยภาพ เช่น ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ ตลาดทางเลือก ได้แก่ ญี่ปุ่น ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น) รถจักรยานยนต์ 250 – 500 cc (ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น) ยางนอกรถจักรยาน (พม่า ญี่ปุ่น) เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พาณิชย์ แนะผู้ส่งออกเร่งปรับตัวก่อน EU ตัด GSP ทุกสินค้าตั้งแต่ 1 ม.ค.58

    นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สหภาพยุโรปจะตัดสิทธิ GSP ที่ให้แก่ประเทศไทยในทุกสินค้าตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เนื่องจากไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงซึ่งโดยหลักเกณฑ์ของ EU จะต้องถูกตัด GSP ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยต้องเร่งปรับกลยุทธ์การแข่งขันเพื่อลดผลกระทบจากการถูกตัด GSP ดังกล่าว

   จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการถูกตัด GSP โดย EU พบว่าสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูงสุด 18 รายการส่วนใหญ่มี EU เป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยมีการส่งออกไป EU โดยใช้สิทธิ GSP เฉลี่ยปีละ 3,024.07 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 13.37% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไป EU ทั้งนี้คาดว่าก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 ผู้นำเข้าสินค้าไทยใน EU จะเร่งนำเข้ามากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ

   สินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด (พึ่งพาตลาด EU สูงและมีการใช้สิทธิ GSP สูง) ได้แก่ ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง รถจักรยานยนต์ 250 – 500 cc และยางนอกรถจักรยาน ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบรองลงมา (ส่งออกไปตลาด EU น้อย แต่มีสัดส่วนการใช้สิทธิ GSP สูง) ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง รถบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน เครื่องปรับอากาศติดหน้าต่างหรือผนัง ยางนอกรถยนต์นั่ง กระสอบ/ถุง/กรวยพลาสติก มอเตอร์ไม่เกิน 37.5 วัตต์ และพลาสติกอีพอกไซด์เรซิน แต่เมื่อพิจารณาในแง่ผลกระทบทางด้านภาษีสูง เนื่องจากจะมีการปรับภาษีสูงขึ้นมากจะเป็นสินค้า รถบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน ยางนอกรถยนต์นั่ง ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องปรับอากาศติดหน้าต่างหรือผนัง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ขณะที่คู่แข่งหลายประเทศ เช่น อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จะยังได้รับสิทธิอยู่ซึ่งผู้ผลิตไทยจะต้องปรับตัวกับการแข่งขันที่จะมีสูงขึ้น

   นางอัมพวัน กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันมากขึ้นเช่นการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนสินค้า การใช้กลยุทธ์การตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ดีกว่า การใช้ประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิ GSP เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นฐานในการผลิตป้อนตลาด EU รวมทั้งการแสวงหาตลาดทดแทนที่มีศักยภาพ เช่น ถุงมือยางที่ไม่ใช้ทางการแพทย์ ตลาดทางเลือก ได้แก่ ญี่ปุ่น ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง (แคนาดา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น) รถจักรยานยนต์ 250 – 500 cc  (ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น) ยางนอกรถจักรยาน (พม่า ญี่ปุ่น) เป็นต้น

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!