- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Thursday, 25 September 2014 23:06
- Hits: 2463
'ฉัตรชัย' ลุยเดินหน้าลดค่าครองชีพ มอบนโยบายบิ๊กข้าราชการพาณิชย์
ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ว่า ได้มอบนโยบายการทำงานให้กระทรวงพาณิชย์ โดยขอให้ปรับวิธีการทำงานแบบสั่งการเป็นผู้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนและประสานการทำงานกันมากขึ้น โดยจะต้องทำงานประสานตั้งแต่ระดับกระทรวงต่อกระทรวง หน่วยงานรัฐบาลด้วยกันเอง และราชการกับภาคเอกชน ซึ่งต่อไปการทำงานจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยตั้งใจว่าจะมีการประชุมหารือร่วมกับภาคเอกชนให้ได้เป็นประจำทุกเดือน
ทั้งนี้ แนวทางการร่วมมือทำงานกับภาคเอกชน ได้ดำเนินการแล้วในส่วนของการดูแลภาวะค่าครองชีพ โดยได้หารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และจะหารือเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมต่อไป โดยได้ข้อสรุปที่จะช่วยกันดูแลราคาสินค้า แต่หากจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ก็ต้องมีเหตุมีผลชัดเจนและตอบได้ว่ามีต้นทุนเพิ่มจากอะไร และขึ้นเท่าไรถึงจะรับได้ทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ในภาพรวมผู้ประกอบการยังให้ความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า เพราะต้นทุนยังไม่เพิ่ม หรือหากจะมีการปรับราคาพลังงาน ก็ยังต้องมีการประเมินต้นทุนในภาพรวมก่อน
ส่วนการมอบนโยบายการทำงานให้กับกรมการค้าภายใน ได้เน้นย้ำให้เน้นสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ดูแลราคาสินค้าให้เป็นไปตามกลไกตลาด และป้องกันการฉวยโอกาสปรับราคาสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภค
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า กำลังจะดึงเอกชนมาร่วมทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ โดยได้นัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ในเดือน ต.ค.57 ก็จะให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมกันประเมินแนวโน้มและทิศทางการค้าโลก แนวโน้มการส่งออกในปี 2558 ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และจะมีมาตรการในการผลักดันการส่งออกอย่างไร โดยจะเป็นการทำงานร่วมกัน รับรู้ร่วมกัน
"ต่อไปนี้ อะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ที่ภาคเอกชนประสบอยู่ ก็ขอให้มาบอก อะไรที่แก้ไขได้ในระดับของกระทรวงพาณิชย์เอง ก็จะแก้ไขให้ จะทำเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็จะนำเสนอเข้า ครม. เพื่อสั่งการให้แก้ไขต่อไป" พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว
สำหรับ กรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทยในปี 2558 นั้น อยากให้เอกชนปรับตัวมากกว่าการยึดติดว่าจะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดไป เพราะสุดท้ายแล้วการได้ GSP ก็ต้องหมดไปอยู่ดี เมื่อเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้น
นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออกแต่ละกลุ่มสินค้าที่ยังคงได้สิทธิ GSP โดยให้เร่งส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งกรมฯ จะเร่งตรวจเอกสารการขอใช้สิทธิ์โดยเร็ว และขอให้ยื่นเอกสารให้ครบถ้วนก่อนวันที่ 24 ธ.ค.57 เพราะอาจติดขัดช่วงวันหยุดยาวคริสมาสต์ต่อเนื่องถึงปีใหม่ และจะต้องให้ศุลกากรตรวจปล่อยสินค้าก่อนวันที่ 31 ธ.ค.57 เพื่อให้สินค้ายังคงได้สิทธิ์ GSP
นางดวงกมล เจียมบุตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า รมว.พาณิชย์ได้มอบนโยบายให้กรมฯ เร่งผลักดันให้ผู้ส่งออกมีการเพิ่มมูลค่าในสินค้าต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ไม่จำเป็นต้องขายเฉพาะสินค้าเกษตร แต่ให้พัฒนาแปรรูปไปเป็นสินค้าใหม่ ไม่ใช่ขายแค่ยางธรรมชาติ ต้องพัฒนาไปเป็นยางรถยนต์ ถุงมือยาง หรือแปรงสีฟัน เป็นต้น หรือสินค้าข้าว ก็ต้องมีการพัฒนาแปรรูปไปเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยผ่านรายการ ไอ.เอ็น.เอ็น.โฟกัสเศรษฐกิจ ว่าเศรฐกิจในไตรมาส 4 ของปีนี้ยังไม่มีอะไรโดดเด่น ซึ่งงานเทศกาลต่างๆ อาจช่วยกระตุ้นได้บ้างเล็กน้อย โดยคาดว่า GDP ปีนี้จะขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ส่งออกไม่เกินร้อยละ 1 ทั้งนี้ มองว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากกว่าปีนี้ คือ อยู่ที่ร้อยละ 3 ส่วนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปีหน้านั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวและมีความเข้าใจ รวมทั้งประชาชน เนื่องจากหลังจากเปิด AEC แล้วจะมีผลกระทบและความเชื่อมโยงกับทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยินดีให้ความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้าไปอีก 6 เดือน อีกทั้งมองว่าขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับต้นทุนการผลิต
ฉัตรชัย จี้พณ.ทำงานคู่เอกชน
ไทยโพสต์ :'ฉัตรชัย' สั่งพา ณิชย์ทำงานร่วมเอกชน นำร่องดูแลค่าครองชีพ คิวต่อไปผนึกทูต พาณิชย์จัดทำแผนดันส่งออก แนะ เลิกพึ่ง GSP
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ว่า ได้ขอให้ปรับวิธีการทำงานแบบสั่งการ เป็นผู้ให้การสนับสนุนภาคเอกชนและประสานการทำงานกันมากขึ้น โดยจะต้องทำงานประสานตั้งแต่ระดับกระทรวงต่อกระทรวง และราชการกับภาคเอกชน ซึ่งต่อไปจะมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยตั้งใจว่าจะมีการประชุมร่วมกับภาคเอกชนให้ได้เป็นประจำทุกเดือน
ทั้งนี้ แนวทางการร่วมมือ ทำงานกับภาคเอกชน ได้ดำเนิน การแล้วในส่วนของการดูแลภาวะค่าครองชีพ โดยได้หารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และจะหารือเป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรมต่อไป โดยได้ข้อสรุปที่จะช่วยกันดูแลราคาสินค้า แต่หากจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ก็ต้องมีเหตุมีผลชัดเจนและตอบได้ว่ามีต้นทุนเพิ่มจากอะไร และขึ้นเท่าไรถึงจะรับได้ทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ในภาพรวมผู้ประกอบการยังให้ความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้า เพราะต้นทุนยังไม่เพิ่ม
พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวอีกว่า กำลังจะดึงเอกชนมาร่วมทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ โดยได้นัดประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ในเดือน ต.ค.นี้ จะให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมกันประเมินแนวโน้มและทิศทางการค้าโลก แนวโน้มการส่งออกในปี 2558 ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และจะมีมาตรการในการผลักดันการส่งออกอย่างไร
สำหรับ กรณีสหภาพยุโรป (อียู) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทยในปี 2558 อยากให้เอกชนปรับตัวมากกว่าการยึดติดว่าจะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดไป เพราะสุดท้ายแล้วการได้ GSP ก็ต้องหมดไปอยู่ดี เมื่อเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้น
นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมจะอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ส่งออกแต่ละกลุ่มสินค้าที่ยังคงได้สิทธิ GSP โดยให้เร่งส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะถูกตัดสิทธิ ซึ่งกรมจะเร่งตรวจเอกสารการขอใช้สิทธิโดยเร็ว และขอให้ยื่นเอกสารให้ครบถ้วนก่อนวันที่ 24 ธ.ค.2557.