- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Wednesday, 24 September 2014 23:06
- Hits: 2554
พาณิชย์ เปิดทางเอกชนขอขึ้นราคาสินค้า แต่ต้องแจงเหตุผลชัดเจน พร้อมเชิญทูตพาณิชย์ ประชุม ต.ค.นี้ กำหนดเป้าส่งออกปี 58
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงนี้นั้น มีข้อสรุปร่วมกันที่จะช่วยกันดูแลราคาสินค้า แต่หากจะปรับราคาเพิ่มขึ้นก็ต้องมีเหตุผลชัดเจนและตอบได้ว่ามีต้นทุนเพิ่มจากส่วนใด และขึ้นเท่าใดถึงจะรับได้ ทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ในภาพรวมผู้ประกอบการยังให้ความร่วมมือตรึงราคาสินค้า เพราะต้นทุนยังไม่เพิ่ม หรือหากจะปรับราคาพลังงานก็ยังต้องมีการประเมินต้นทุนในภาพรวมก่อน
"การขอปรับขึ้นราคา ถ้าเอกชนแบกรับต้นทุนไม่ไหวจริง ก็เสนอโครงสร้างต้นทุนเข้ามาได้ โดยการปรับราคาจะต้องมีเหตุผลชัดเจน เช่น น้ำมันขึ้นราคาแล้วมาอ้างขอปรับราคาสินค้า คงไม่ใช่เหตุผลนี้ ต่อไปนี้ภาครัฐและเอกชนจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ถ้าเอกชนมีปัญหาอะไรก็เสนอมาให้รัฐแก้ไข หากแก้ไขในระดับกระทรวงฯไม่ได้ ก็จะเสนอครม.ให้พิจารณาแก้ไข พล.อ.ฉัตรชัย
ส่วนการมอบนโยบายการทำงานให้กับกรมการค้าภายใน ได้ย้ำให้เน้นการสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ดูแลราคาสินค้าให้เป็นไปตามกลไกตลาด และป้องกันการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภค
นอกจากนี้ พล.อ.ฉัตรชัย ยังกล่าวว่า จะดึงภาคเอกชนมาร่วมทำงานกับกระทรวงพาณิชย์ โดยในการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ในเดือนต.ค.57 จะให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมกันประเมินแนวโน้มและทิศทางการค้าโลก แนวโน้มการส่งออกในปี 58 ว่าจะมีมาตรการในการผลักดันการส่งออกอย่างไร
ส่วนกรณีที่สหภาพยุโรป(EU) จะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(GSP) สินค้าไทยในวันที่ 1 ม.ค.58 นั้น อยากให้เอกชนปรับตัวมากกว่าการยึดติดว่าจะต้องได้รับการช่วยเหลือตลอดไป เพราะสุดท้ายแล้วการได้ GSP ก็ต้องหมดไปอยู่ดี เมื่อเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รมว.พาณิชย์เปิดทางเอกชนขอปรับราคาสินค้าได้ แต่ต้องแจงเหตุผลชัดเจน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงนี้นั้น มีข้อสรุปร่วมกันที่จะช่วยกันดูแลราคาสินค้า แต่หากจะปรับราคาเพิ่มขึ้นก็ต้องมีเหตุผลชัดเจนและตอบได้ว่ามีต้นทุนเพิ่มจากส่วนใด และขึ้นเท่าใดถึงจะรับได้ ทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ในภาพรวมผู้ประกอบการยังให้ความร่วมมือตรึงราคาสินค้า เพราะต้นทุนยังไม่เพิ่ม หรือหากจะปรับราคาพลังงานก็ยังต้องมีการประเมินต้นทุนในภาพรวมก่อน
"การขอปรับขึ้นราคา ถ้าเอกชนแบกรับต้นทุนไม่ไหวจริง ก็เสนอโครงสร้างต้นทุนเข้ามาได้ โดยการปรับราคาจะต้องมีเหตุผลชัดเจน เช่น น้ำมันขึ้นราคาแล้วมาอ้างขอปรับราคาสินค้า คงไม่ใช่เหตุผลนี้ ต่อไปนี้ภาครัฐและเอกชนจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ถ้าเอกชนมีปัญหาอะไรก็เสนอมาให้รัฐแก้ไข หากแก้ไขในระดับกระทรวงฯไม่ได้ ก็จะเสนอครม.ให้พิจารณาแก้ไข พล.อ.ฉัตรชัย
ส่วนการมอบนโยบายการทำงานให้กับกรมการค้าภายใน ได้ย้ำให้เน้นการสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ดูแลราคาสินค้าให้เป็นไปตามกลไกตลาด และป้องกันการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภค
อินโฟเควสท์