WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCทศพล ทงสบตรกรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นหลักของไทย มีมูลค่ากว่า 25% ของ GDP สร้างโอกาสทางการค้าและเติบโตสูงต่อไปในอนาคต

      นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างครบวงจร ทั้งการส่งเสริมการสร้างสรรค์การคุ้มครองนวัตกรรมการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ และการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างความเป็นธรรมทางการค้าในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินปัญญา เพื่อให้สังคมไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ สอดคล้องกันนโยบาย Thailand 4.0 ได้จัดทำโครงการวัดมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการจ้างงาน มูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินและบริการ และการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ และนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายของประเทศได้อย่างประสิทธิภาพ

       รศ.ดร.พีระ เจริญพร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าคณะวิจัยเปิดเผยผลการศึกษาวิจัย ซึ่งพบว่า จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สอดคล้องกับการพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลจดทะเบียนพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นฐานหลักในการดำธุรกิจรวม 135,206 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.16 จากจำนวนธุรกิจทั้งหมด มีรายได้รวม 13,928,737 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.65 มีกำไรสุทธิ 682,498 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.61 ของกำไรสุทธิของอุตสาหกรรมทั้งประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 25.29 ของ GDP ของประเทศ มีมูลค่าส่งออกสุทธิประมาณ 14,923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณร้อยละ 8.82 ของการจ้างงานของทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรออกแบบเป็นหลัก ซึ่งยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสทางการค้าและความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม

      อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การพัฒนาประเทศบนพื้นฐานนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาของไทยไปใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์อย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!