WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา บณยประภศรรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนประสบความสำเร็จ ลงนามเปิดเสรีธุรกิจบริการเพิ่ม ชี้ไทยได้ประโยชน์เข้าไปลงทุนในหลายสาขา

     รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามเปิดเสรีการประกอบธุรกิจบริการเพิ่มเติม 'ชุติมา' เผยไทยมีโอกาสเข้าไปลงทุนเพิ่ม อาทิ ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร บริการ สุขภาพ ดูแลผู้สูงอายุ และพร้อมผลักดันอาเซียนสรุปการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าบริการอาเซียนฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ด้านไทยย้ำพร้อมเป็นประธานอาเซียนปีหน้าในแนวคิดเสริมสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางทุกภาคส่วนได้ประโยชน์

      นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEM ครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม2561 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อติดตามและเร่งรัดการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานเศรษฐกิจอาเซียน 2568 หรือ AEC Blueprint 2025 โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของการค้าการลงทุนและการลดอุปสรรคทางการค้า

       นางสาวชุติมา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ AEM ประสบความสำเร็จหลายเรื่องที่สำคัญคือ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในเอกสารเพื่อเปิดเสรีการประกอบธุรกิจบริการเพิ่มเติมระหว่างประเทศในอาเซียนซึ่งไทยจะเปิดตลาดเพิ่มเติม 6 สาขาย่อย ได้แก่ บริการโทรคมนาคม เช่น บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และบริการขนส่งเช่น บริการบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติเหลวขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นก็จะเปิดตลาดบริการเช่นกัน ซึ่งรวมถึงสาขาที่ไทยมีศักยภาพเข้าไปลงทุน เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้านการโรงแรมและร้านอาหารบริการ ด้านสุขภาพบริการเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ สถาบันฝึกอบรมการจัดงานแสดงสินค้า การจัดการประชุม และการดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

      สำหรับ ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่สิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ผลักดัน ที่ประชุมรับทราบว่าประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถดำเนินการร่วมกันจนบรรลุผลได้หลายมาตรการอาทิ (1) การจัดทำความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาเซียน ซึ่งถือเป็นความตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของอาเซียน ที่จะสร้างความมั่นใจในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการค้าออนไลน์มากขึ้นโดยจะมีการลงนามความตกลงฯ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 33 ที่สิงคโปร์ (2) การจัดทำกรอบการดำเนินการด้านดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงถึงกันได้มากขึ้นผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า

      รักษาความปลอดภัยของข้อมูลพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัล รวมทั้งจะช่วยปรับปรุงกระบวนการดำเนินธุรกิจให้ง่ายขึ้น (3) การแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนหรือ ATIGA เพื่อรองรับการใช้งานระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียนที่จะทำให้ภาคเอกชน สามารถรับรองสินค้าของตนเองเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในอาเซียนได้โดยไม่ต้องไปติดต่อภาครัฐ ซึ่งไทยพร้อมจะลงนามพิธีสารฯ ภายในปีนี้ (4) การเริ่มใช้งานระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ณจุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจโดย 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียสิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้เริ่มใช้งานระบบ ASW เพื่อแลกเปลี่ยนเอกสารใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-ATIGA Form D แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561

     ในการประชุมครั้งนี้ AEM ได้เห็นชอบและรับรองเอกสารสำคัญที่จะช่วยวางหลักการในการออก กฎระเบียบและให้ข้อมูลสำหรับภาคเอกชนในการทำธุรกิจในอาเซียนอาทิ (1) เอกสารหลักการสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการออกกฎระเบียบเพื่อไม่ให้กฎระเบียบที่จะนำมาใช้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากจนเกินไป โดยจะต้องมีกระบวนการรับฟังและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมในการจัดทำกฎระเบียบอย่างเหมาะสม (2) กรอบสำหรับความร่วมมือด้านการแข่งขันอาเซียนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลคดีของสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการแข่งขันของธุรกิจและการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแข่งขัน

     (3) เอกสารข้อมูลพื้นฐานและประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าในอาเซียนสำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ (4) คู่มือกฎหมายและนโยบายด้านการแข่งขันสำหรับธุรกิจในอาเซียนซึ่งเป็นเอกสารสรุปกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของสมาชิกอาเซียนและจัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบกฎหมายของแต่ละประเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย (5)คู่มือกฎหมายและการกำกับดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคของอาเซียน ซึ่งจะอธิบายให้ผู้บริโภคในประเทศอาเซียนเข้าใจถึงขั้นตอนในการที่ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายของประเทศอาเซียน

      นอกจากนี้ AEM ยังได้หารือเพื่อผลักดันให้อาเซียนสรุปการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าบริการอาเซียนฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จซึ่งเป็นการปรับปรุงกรอบความตกลงฉบับเดิมให้มีความทันสมัยครอบคลุมสาขา บริการใหม่ๆเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนภาคบริการให้มีความโปร่งใสมากขึ้นและดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้

      ส่วนไทยยังได้แสดงความพร้อมในการเป็นประธานอาเซียนปี 2562 โดยมีแนวคิดในการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความเข้มแข็งมีประชาชนเป็นศูนย์กลางทุกภาคส่วนได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน รวมทั้งประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ จะต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน โดยได้ให้ความสาคัญกับ 3 องค์ประกอบหลักคือ(1) ความเชื่อมโยง (Connectivity) (2) ความยั่งยืนในทุกมิติ (Sustainability) และ (3) การเตรียมความพร้อมและวางแผนสำหรับอนาคต (Future-Oriented Actions) ซึ่งในส่วนของเสาเศรษฐกิจในเบื้องต้นประเด็นสาคัญที่ไทยอาจพิจารณาผลักดันอาทิการอำนวยความสะดวกทางการค้าการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดเล็กขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) ให้สามารถขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศได้การส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวการดำเนินการเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลการพัฒนาเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัล

     ในช่วงการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนยังได้หารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) โดยรับทราบข้อริเริ่มและการดำเนินการของ ASEAN-BAC ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยนำเสนองานสำคัญที่ผลักดันในปีนี้ เช่นข้อริเริ่ม ภายใต้แนวคิด’Singapore (SG) Connect’ ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาคและการรองรับสังคมดิจิทัลภายใต้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 รวมทั้งประเด็นสาคัญที่มีผลต่อการเติบโตด้านเศรษฐกิจของอาเซียนอาทิการอำนวยความสะดวกทางการค้าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs)

         กระทรวงพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

อาเซียนเดินหน้าเร่งเครื่องอำนวยความสะดวกทางการค้ามุ่งลด NTBs

       รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนติดตามผลดำเนินการเปิดเสรีการค้าสินค้าภายใต้แผน AEC 2025 เน้นการลดและยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากมาตรการที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs และการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในอาเซียน เพื่อเสริมให้ผู้ประกอบการอาเซียนสามารถดำเนินธุรกิจระหว่างกันได้สะดวกและรวดเร็ว หวังเพิ่มสัดส่วนการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนเป็น 2 เท่า ภายในปี 2568

       นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงผลสรุปของการประชุมคณะมนตรี เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 32 ซึ่งสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 ว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ติดตามผลการดำเนินการด้านการค้าสินค้าของอาเซียนภายใต้แผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint 2025) และรับทราบผลการดำเนินการที่สำคัญใน 3 ด้านหลัก คือ

       1. การเปิดเสรีการค้าสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ในปี 2560 การค้ารวมของอาเซียนมีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 14 และเป็นสัดส่วนการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนกว่าร้อยละ 23 ปัจจุบัน สินค้ากว่าร้อยละ 98.7 ของรายการทั้งหมดมีอัตราภาษีนำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นศูนย์ และรัฐมนตรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงพิกัดศุลกากรของสินค้าในบัญชีกฎเฉพาะรายสินค้าและบัญชีสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้สอดคล้องกับพิกัดศุลกากรฉบับปี 2017 ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ศกนี้

      รวมทั้งมอบหมายให้ประเทศสมาชิกดำเนินการประเมินผลการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) เพื่อขยายสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยอัตโนมัติในกรณีที่ประเทศนอกกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์ดีกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน โดยให้รายงานผลภายในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2562

       2. การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า (Non-Tariff Barriers: NTBs) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มุ่งเน้นการลดและยกเลิก NTBs ระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้ เวียดนามได้ยกเลิกการจำกัดปริมาณนำเข้าสินค้าไข่ไก่และเกลือแล้ว และอยู่ระหว่างหารือภายในประเทศเพื่อยกเลิกการจำกัดปริมาณนำเข้าของสินค้าน้ำตาล นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกหารือและเร่งรัดการพิจารณาแก้ไข NTBs อย่างจริงจัง

       3. การอำนวยความสะดวกทางการค้า ได้มีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

       1) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรองเอกสาร 2 ฉบับ คือ (1) พิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน เพื่อให้สามารถใช้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียนเป็นระบบเดียวกัน (ASEAN-Wide Self-certification) ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกสินค้าที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ ATIGA สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องไปขอรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจากภาครัฐ และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในขั้นตอนการขอใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า และ (2) เอกสารแนวปฏิบัติสำหรับการดำเนินการตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งกำหนดแนวทางการออกมาตรการที่มิใช่ภาษีในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรมทางการค้าระหว่างกันในประเทศสมาชิก และลดผลกระทบจากการบิดเบือนทางการค้า

       2) รับทราบความคืบหน้าของการเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) และเร่งรัดให้เชื่อมโยงระบบได้ครบ 10 ประเทศภายในปีนี้จากปัจจุบันที่เชื่อมโยงกันแค่ 5 ประเทศ (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม) ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนของภาคธุรกิจในการยื่นเอกสารนำเข้า-ส่งออกสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์เพียงครั้งเดียว

       3) รับทราบรายงานผลการสำรวจผลสัมฤทธิ์ของการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน โดยสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินแนวทางดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมาย ลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าภายในภูมิภาคลงร้อยละ 10 ภายในปี 2563 และเพิ่มการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่าภายในปี 2568 ซึ่งผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า การดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินอยู่ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก และไทยอยู่ในกลุ่มที่มีความก้าวหน้า 3 อันดับแรกของอาเซียน (รวมสิงคโปร์และมาเลเซีย) โดยไทยมีคะแนนสูงในด้านความโปร่งใสและเผยแพร่ข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ และขั้นตอนต่างๆ ต่อสาธารณะ รวมทั้งมีกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ERIA อยู่ระหว่างการศึกษาตัวชี้วัดด้านอื่นๆ และจะรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2561

       กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!