WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCชตมา บณยประภศร

รมช.พาณิชย์ เผยผลเยือนสหรัฐฯ ร่วมหารือแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย

      น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยผลการเดินทางสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 24 – 27 กรกฎาคม 2561 เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯ อาทิ รองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Ambassador Jeffrey D. Gerrish) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (Honorable Gilbert B. Kaplan) เรื่องข้อกังวลต่อการใช้มาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เช่น การที่สหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรา 232 ขึ้นภาษีสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมจากทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้สินค้าเหล็กและอลูมิเนียมของไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ถูกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 25 และร้อยละ 10 ตามลำดับ จึงได้มาติดตามเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยได้เคยหยิบยกขึ้นหารือกับสหรัฐฯ ผ่านทางหนังสือของรัฐมนตรีว่าการฯ และการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบการค้าและการลงทุนไทย-สหรัฐฯ (TIFA JC) เมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา

         โดยไทยได้ย้ำขอให้สหรัฐฯ ยกเว้นการใช้มาตรการดังกล่าวกับไทย เนื่องจากสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมของไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มีสัดส่วนน้อยมาก ไม่ถึงร้อยละ 1 ในตลาดสหรัฐฯ จึงไม่น่าส่งผลเสียหายต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญของการใช้มาตรการ อีกทั้งไทยยังได้ร่วมมือกับอาเซียนหารือกับจีน เพื่อให้ลดการผลิตเหล็กส่วนเกินไม่ให้ล้นตลาดโลก ตลอดจนไทยได้เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลป้องกัน ไม่ให้เกิดการแอบอ้างนำสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมจากแหล่งอื่นมาสวมสิทธิ์ว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากไทย

      นอกจากนี้ ไทยยังได้แสดงความกังวลต่อการเปิดไต่สวนมาตรา 232 ของสหรัฐฯ ในสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วน โดยได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อทั้งสองประเทศ เนื่องจากการสินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นห่วงโซ่ หรือองค์ประกอบที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของสหรัฐฯ โดยไทยพร้อมหารือและร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางออกร่วมกันต่อไป

       "ซึ่งสหรัฐฯ รับที่จะนำข้อห่วงกังวลของไทยไปพิจารณา และเห็นพ้องว่าทั้งสองฝ่ายควรจะหารือต่อเนื่องเพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป"รมช.พาณิชย์ กล่าว

       รมช.พาณิชย์ กล่าวต่อว่า ไทยยังใช้โอกาสนี้หารือกับสหรัฐฯ เรื่องการปฏิรูประบบการค้าพหุภาคีขององค์การการค้าโลก (WTO) และปัญหาที่เกิดขึ้นกับกระบวนการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ที่ปัจจุบัน 3 ใน 7 ตำแหน่งขององค์กรอุทธรณ์ได้ครบวาระและว่างลง จึงต้องเร่งสรรหาเพื่อให้กระบวนการตัดสินคดีอุทธรณ์หรือระงับข้อพิพาทใน WTO เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ชะงักงัน ซึ่งสหรัฐฯ ยินดีหากไทยจะมีข้อเสนอแนะเพื่อร่วมกันหาทางออกในเรื่องนี้

       นอกจากนี้ ไทยยังได้หารือกับสหรัฐฯ เรื่องที่สมาพันธ์สหภาพแรงงานสหรัฐฯ และสมาคมผู้ผลิตสุกรสหรัฐฯ ได้ยื่นขอให้สหรัฐฯ ทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่ไทย โดยอ้างว่าไทยไม่ได้คุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และมีการกีดกันเนื้อสุกรของสหรัฐฯ ซึ่งไทยได้แจ้งสหรัฐฯ ว่าหน่วยงานของไทยทั้งภาครัฐ ตัวแทนนายจ้าง และลูกจ้าง อยู่ระหว่างหารือเพื่อปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ และร่าง พ.ร.บ. รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ด้านแรงงานในปัจจุบัน และสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งคาด พ.ร.บ. ที่ปรับปรุงใหม่น่าจะมีผลใช้บังคับได้ภายในปี 2561 ส่วนกรณีเนื้อสุกร เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่ใช่เรื่องการกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม จึงควรร่วมกันหาออกที่เหมาะสม โดยมีพื้นฐานและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ซึ่งสหรัฐฯ รับฟังและจะหารือกับไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความคืบหน้าเป็นระยะต่อไป

       รวมทั้งยังได้มีโอกาสหารือกับบริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ ที่มีการนำเข้าสินค้าจากไทย ทั้งในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและโอกาสทางการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ รวมทั้งการผลักดันให้สหรัฐฯ ยกเลิกการใช้มาตรการ 232 กับไทย และคงสิทธิ GSP แก่ไทยต่อไป

       ทั้งนี้ ในปี 2560 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย รองจากจีน และญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 41,400.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 13.30 โดยไทยส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 26,536.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องนุ่งห่ม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 14,864.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ อุปกรณ์ยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

      ไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิพิเศษทางภาษี หรือ GSP จากสหรัฐฯ เป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย โดยในปี 2560 ไทยใช้สิทธิ GSP จากสหรัฐฯ เป็นมูลค่าประมาณ 4,150.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสินค้า เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องยนต์รถยนต์ เครื่องดื่มอื่นๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (น้ำมะพร้าว) เครื่องซักผ้า เครื่องสูบเชื้อเพลิง หม้อแปลงไฟฟ้า ถุงมือทำจากยาง และอาหารปรุงแต่ง เป็นต้น

                              อินโฟเควสท์

 

พาณิชย์ หวั่นสหรัฐชิงตลาดข้าวหอมมะลิ

      ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ *'พาณิชย์'พร้อมรับมือข้าวหอมพันธุ์ใหม่ของสหรัฐ หลังพบเตรียมนำออกมาทดลองตลาด เดินหน้าโปรโมตและขยายตลาดเจาะกลุ่มผู้บริโภคใหม่ในสหรัฐ พร้อมดันข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าว กข 43 เป็นอีกทางเลือก

       น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงได้มีการติดตามและแลก เปลี่ยนข้อมูลกับผู้นำเข้าและผู้จัด จำหน่ายข้าวในสหรัฐ หลังจากที่สหรัฐพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ 3 สายพันธุ์ และอาจจะเป็นคู่แข่งของไทยในตลาดสหรัฐ โดยจากการนำมาทดลองพบเป็นข้าว พื้นนุ่ม มีกลิ่นหอม แต่ข้าวดังกล่าวยังไม่เป็นที่รู้จักและวางจำหน่าย ในตลาดทั่วไป ต้องจับตาดูว่าจะมีผลยังไง ตลาดยอมรับหรือไม่ ซึ่งในระยะสั้นไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย แต่ก็นิ่งนอนใจไม่ได้

     "ปัจจุบันข้าวหอมมะลิไทยยังคงเป็นที่ต้องการและนิยมในตลาดสหรัฐ แต่มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ข้าวหอมจากประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งมีราคาถูกกว่าเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับราคาเป็นหลัก แต่ก็ยังมั่นใจว่า ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านคุณภาพมาตรฐานและความโดดเด่นของข้าวหอมมะลิไทย จะยังคงเลือกซื้อข้าวจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง" น.ส.ชุติมากล่าว

     ขณะเดียวกัน จะเดินหน้าประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในตลาดสหรัฐ เพื่อรักษาตลาด และจะเร่งขยายตลาดเข้าสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ เช่น กลุ่มฮิสแปนิก กลุ่มโฮเรกา ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารและจัด เลี้ยง โดยจะประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดอเมริกาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งเข้าร่วมงานแสดงสินค้า นานาชาติสำคัญ เช่น งาน Natural Expo West การหาพันธมิตรทาง การค้า และการจัดกิจกรรม Instore Promotion ร่วมกับห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร และโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเร่งขยายตลาดข้าวชนิดใหม่ๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าว กข 43 ในตลาดสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย จีน สิงคโปร์ และฮ่องกง

 

พาณิชย์ พร้อมรับมือข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่สหรัฐฯ มั่นใจข้าวหอมมะลิไทยยังครองแชมป์, 7 เดือนส่งออกข้าวแล้ว 6.5 ล้านตัน

      น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยผลการเดินทางไปจัดกิจกรรม Healthy Rice Campaign 2018 ในนครโทรอนโตและนครนิวยอร์กว่า ได้มีโอกาสพบปะหารือกับผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่ายข้าวรายสำคัญในสหรัฐฯ ฝั่งตะวันออก โดยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวไทย-สหรัฐฯ รวมถึงได้สอบถามการพัฒนาข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับทราบว่า ข้าวดังกล่าวยังไม่เป็นที่รู้จักและวางจำหน่ายในตลาดทั่วไป ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการพัฒนาและขยายผลผลิตในเชิงพาณิชย์

       รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า การพัฒนาข้าวกลิ่นหอมสายพันธุ์ใหม่ของสหรัฐฯ ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตสหรัฐฯ ได้เคยพยายามพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมออกมาแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทยในตลาดสหรัฐฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จและไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มบริโภค อย่างไรก็ดี การพัฒนาข้าวหอมของสหรัฐฯ ในครั้งนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวไทยในระยะอันใกล้แต่ก็ไม่ควรมองข้าม โดยนายกรัฐมนตรีได้แสดงความห่วงใยและได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาติดตามการวางตำแหน่งข้าวหอมมะลิไทยในตลาดอเมริกา การสร้างความรับรู้ข้าวหอมมะลิไทยแบบครบวงจร รวมทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเพื่อรับมือข้าวกลิ่นหอมสายพันธุ์ใหม่จากสหรัฐฯ ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและกรมการค้าต่างประเทศได้จัดประชุมหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยกำหนดแนวทางสร้างการรับรู้และความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวหอมชนิดอื่นๆ จากประเทศคู่แข่ง และผลักดันข้าวหอมชนิดรองของไทยที่มีราคาถูกกว่าเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มผู้บริโภค

       นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กรมการข้าวคัดเลือกและพัฒนาข้าวหอมและข้าวพื้นนิ่มสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก สำหรับข้าวหอมมะลิไทยที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในสหรัฐฯ ต้องรักษาตลาดไว้ให้ได้และเร่งขยายเข้าสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ เช่น กลุ่มฮิสแปนิก กลุ่ม HOREGA โดยจะประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดอเมริกาเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ทั้งเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติสำคัญ เช่น งาน Natural Expo West การหาพันธมิตรทางการค้า และการจัดกิจกรรม In-store Promotion ร่วมกับห้างสรรพสินค้า/ภัตตาคาร/โรงแรม เป็นต้น และได้เห็นโอกาสใหม่ๆ ในการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมข้าวไทยเจาะตลาดอเมริกาเหนือซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและสามารถเติบโตได้ในอนาคต

       รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันข้าวหอมมะลิไทยยังคงเป็นที่ต้องการและนิยมในตลาดสหรัฐฯ แต่มีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ข้าวหอมจากประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม และกัมพูชา ซึ่งมีราคาถูกกว่าเข้ามาเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับราคาเป็นหลัก อย่างไรก็ดี มั่นใจว่าผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านคุณภาพมาตรฐานและความโดดเด่นของข้าวหอมมะลิไทยก็ยังคงเลือกซื้อข้าวจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

      สำหรับ สถิติการส่งออกข้าวไทยไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2558 ไทยส่งออกข้าวไปสหรัฐฯ ปริมาณ 376,118 ตัน เพิ่มขึ้นเป็น 457,234 ตัน ในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้น 21.57% สำหรับปี 2561 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกข้าวไปสหรัฐฯ ปริมาณ 261,319 ตัน เพิ่มขึ้น 8.85% จากช่วงเดียวในของปี 2560 ที่มีปริมาณส่งออก 240,104 ตัน โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยกว่า 90%

       ขณะที่การส่งออกข้าวไทยในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปี 61 (ม.ค.-ก.ค.) มีปริมาณ 6.460 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.78% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีปริมาณส่งออกอยู่ที่ 6.410 ล้านตัน หรือมีมูลค่า 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.23%

           อินโฟเควสท์

 

พาณิชย์ เผยสินค้าไอทีส่งไปสหรัฐรับส้มหล่นจากสงครามการค้า แต่จับตาเครื่องพิมพ์จีนทะลักเข้าไทย

    น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยผลศึกษาผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน จากการที่สหรัฐขึ้นภาษีกลุ่มสินค้าไอทีและทรัพย์สินทางปัญญาที่จากจีนในอัตรา 25% ว่า มาตรการขึ้นภาษีดังกล่าวมีต่อกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยสินค้าในกลุ่มนี้ที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน ประกอบด้วย เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา เครื่องโทรสาร เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและหน่วยต่างๆ ของเครื่อง และส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องต่างๆ เช่น ส่วนประกอบของเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบของวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  อัตโนมัติ โดยในปี 60 สหรัฐฯนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยนำเข้าจากจีน สัดส่วน 60% เม็กซิโก สัดส่วน 24% และไทย สัดส่วน 5% โดยสินค้าที่ไทยมีศักยภาพส่งออกสูงคือ หน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งปี 60 สหรัฐฯนำเข้าจากโลก เกือบ 10,000 ล้านเหรียญฯ และนำเข้าจากไทยกว่า 4,000 ล้านเหรียญฯ หรือสัดส่วน 41% รองลงมา คือ จีน 2,000 ล้านเหรียญฯ สัดส่วน 22%

      สำหรับ สินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องจักร ในปี 60 สหรัฐฯนำเข้า 23,000 ล้านเหรียญฯ โดยนำเข้าจากจีนมากสุด 15,000 ล้านเหรียญฯ แต่นำเข้าจากไทย 250 ล้านเหรียญฯ โดยสินค้าในกลุ่มนี้ที่ไทยมีศักยภาพส่งออก คือ ส่วนประกอบของเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ ซึ่งปี 60 สหรัฐฯนำเข้า 22,000 ล้านเหรียญฯ แต่นำเข้าจากไทยเพียง 500 ล้านเหรียญฯเท่านั้น จึงยังมีช่องว่างอีกมากสำหรับสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ

      นอกจากนี้ ยังมีสินค้ากลุ่มเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา เครื่องโทรสาร ซึ่งปี 60 สหรัฐนำเข้า 17,000 ล้านเหรียญฯ โดยนำเข้าจากจีนมากสุด สัดส่วน 37% แต่ไทยเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นไทยสามารถส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปสหรัฐฯ ได้มากขึ้นเพื่อทดแทนสินค้าจีน

        อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ต้องเฝ้าระวังเพราะอาจมีการนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องพิมพ์ ซึ่งไทยขาดดุลการค้ากับจีนอยู่แล้ว ในปีที่ผ่านมา ไทยนำเข้าจากจีน 450 ล้านเหรียญฯ ขาดดุลจีน 300 ล้านเหรียญฯ โดยไทยไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของจีน เพราะจีนส่งมาไทยคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีนไปตลาดโลก ที่มีมูลค่า 18,000 ล้านเหรียญฯ ดังนั้น คาดว่าจีนน่าจะกระจายสินค้าไปยังตลาดต่างๆ ในหลายประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เบลเยียม ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ อินเดีย เม็กซิโก เป็นต้น

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!