WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCกลณ อศดศยพาณิชย์ เตรียมลงพื้นที่ในหลายจังหวัดตรวจสอบนอมินีธุรกิจท่องเที่ยว

      นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวถึงการตรวจสอบขบวนการใช้คนไทยเป็นตัวแทนอำพราง (นอมินี) เพื่อให้คนต่างด้าวทำธุรกิจต้องห้าม หรือธุรกิจที่ต้องขออนุญาตในไทยโดยเลี่ยงกฎหมายว่า ในเดือน ส.ค.61 กรมฯ จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบนอมินีในหลายจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ประจวบคีรีขันธ์ โดยจะตรวจสอบในธุรกิจที่มีความเสี่ยงจะใช้นอนิมี อย่างธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร บริษัททัวร์ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพราะธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว หรือเป็นธุรกิจที่คนต่างด้าวหากจะทำธุรกิจในไทยต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542

       สำหรับ การตรวจสอบนอมินีของกรมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 58 จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย.61 ได้ตรวจสอบไปแล้ว 2,136 ราย ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของไทย ทั้งภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ โดยในจำนวนดังกล่าวพบมีพฤติกรรมเข้าข่ายนอมินี 34 ราย ซึ่งได้ส่งฟ้องดำเนินคดี และส่งให้กรมสรรพากร และ ป.ป.ง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน และการเสียภาษีแล้ว

      ส่วนอีก 1,783 ยุติเรื่องเพราะไม่พบเป็นนอมินี อีก 298 รายส่งดำเนินคดี เพราะในระหว่างการตรวจสอบ กรมฯได้ขอข้อมูลทางบัญชี แต่บริษัทไม่ให้ความร่วมมือจึงถือว่ามีความผิด และดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนสารวัตรบัญชี แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบความเป็นนอมินี และอีก 21 ราย พบไม่มีที่ตั้งตามที่จดทะเบียนไว้ โดยความผิดกรณีใช้ตัวแทนอำพราง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-1 ล้านบาท หรือทั้งจำและปรับ และยังมีโทษปรับรายวันอีกวันละ 10,000-50,000 บาท จนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน

      "กรมฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อตรวจสอบนอมินีในธุรกิจที่มีความเสี่ยงมาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว โดยตรวจสอบแทบจะทุกเดือน ซึ่งหากพบว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายนอมินีก็จะดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมทั้งส่งให้กรมสรรพากร และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงิน และการเสียภาษีด้วย" นางกุลณี กล่าว

      นอกจากนี้ จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบผู้ประกอบการรวบรวม คัดแยก บรรจุ และส่งออกผลไม้ (ล้ง) ที่ จ.ชุมพร เพราะขณะนี้ผลไม้ภาคใต้ได้ทยอยออกสู่ตลาดแล้ว โดยจะตรวจสอบว่าล้งในพื้นที่ทำธุรกิจผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ เพราะตามกฎหมายห้ามคนต่างด้าวขายผลผลิตสินค้าเกษตรในไทย ทำได้แค่เพียงซื้อจากชาวสวนแล้วส่งออกเท่านั้น รวมถึงจะตรวจสอบด้วยว่า มีคนไทยเป็นนอมินีหรือไม่ เพื่อให้สามารถขายสินค้าเกษตรในไทยได้

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!