WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC พมพชนก วอนขอพรพาณิชย์ เผยส่งออก มิ.ย.ขยายตัว 8.19% นำเข้าโต 10.83% เกินดุล 1,578 ล้านเหรียญฯ

     สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน มิ.ย.61 ระบุว่า การส่งออกมีมูลค่า 21,779 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.19% จากตลาดคาดโต 9.5%

      ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 20,201 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.83% ส่งผลให้ดุลการค้า มิ.ย. เกินดุล 1,578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

       สำหรับ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.61) มีมูลค่า 125,811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.95% ส่วนนำเข้า มีมูลค่า 122,356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 15.61% ส่งผลให้ดุลการค้า 6 เดือนแรก ปี 61 เกินดุล 3,455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค. เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิ.ย.61 ถือว่าเป็นการขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ซึ่งการส่งออกยังขยายตัวดีในตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 2,488 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 6.9% ส่วนตลาดสหภาพยุโรป ขยายตัว 6.1% และญี่ปุ่น ขยายตัว 7.3% ขณะที่ตลาดศักยภาพสูง โดยเฉพาะตลาดอินเดีย และตลาดประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) มีการเติบโตและขยายตัวในระดับ 2 หลักอย่างต่อเนื่อง

       ทั้งนี้ การส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม ขยายตัวได้ 8.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 4.5% โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น ข้าว ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย เป็นต้น

     น.ส.พิมพ์ชนก ยังกล่าวถึงแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ดีและมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยผู้ประกอบการส่งออกยังมีมุมมองที่เป็นบวก และเชื่อมั่นว่าการส่งออกยังมีแนวโน้มเติบโต นอกจากนี้เศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างชัดเจนในเกือบทุกภูมิภาคช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

      อย่างไรก็ดี ในระยะสั้นอาจจะต้องเผชิญกับความผันผวนจากมาตรการการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แต่การส่งออกไทยที่มีลักษณะการกระจายตัวในตลาดใหม่มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการค้าลงได้บ้าง นอกจากนี้ สถานการณ์เงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงเป็นโอกาสดีต่อผู้ส่งออกในการเร่งผลักดันการส่งออกสินค้าและทำให้รายได้การส่งออกในรูปของเงินบาทสูงขึ้น

      ผู้อำนวยการ สนค. ยังเชื่อว่า ภาพรวมการส่งออกในปีนี้จะเติบโตได้เกินเป้าหมาย 8% ที่วางไว้ ซึ่งหากจะทำให้ได้ทั้งปีที่โต 9% การส่งออกในช่วงที่เหลืออีก 6 เดือนหลัง (ก.ค.-ธ.ค.61) จะต้องทำให้ได้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 22,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แต่หากจะให้ได้ถึง 10% การส่งออกในช่วงที่เหลือจะต้องได้มูลค่าไม่ต่ำกว่า 22,414 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ในขณะที่แนวโน้มการส่งออกไตรมาส 3 คาดว่าจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่มักจะเข้ามามากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวของทุกปี

        ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะได้เชิญผู้ประกอบการส่งออกจากทุก sector มาประชุมร่วมกันในวันที่ 7 ส.ค.นี้ เพื่อประเมินแนวโน้ม ตลอดจนสถานการณ์ต่างๆ ที่จะมีผลต่อการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ และหลังจากนั้นเชื่อว่าจึงจะได้เป็นเป้าหมายการส่งออกใหม่สำหรับปี 2561 อย่างเป็นทางการ

       "ในภาพรวมๆ แล้วการส่งออกทั้งปีนี้น่าจะผ่านที่ 8% ไปได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่น่าติดตาม โดยเฉพาะการค้าขายในประเทศคู่ค้าหลักที่ชะลอตัวลง แม้เศรษฐกิจในประเทศเหล่านั้นจะดีขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ยังมีความไม่แน่นอนเรื่องสงครามการค้า โดยรอบด้านแล้วแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ก็จะไทยต้องเร่งขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ให้มากขึ้นด้วย" น.ส.พิมพ์ชนก ระบุ

       สำหรับ สถานการณ์สงครามสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนนั้น น.ส.พิมพ์ชนก กล่าวว่า ยังไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในเดือนมิ.ย.นี้ แม้จะทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยย่อตัวลงไปบ้างจากเดือนก่อนหน้าก็ตาม แต่ในทางกลับกันพบว่ามูลการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ กลับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราภาษีกับประเทศอื่นนั้น ได้กลายเป็นโอกาสดีที่ทำให้สินค้าจากไทยสามารถขยายการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เพื่อทดแทนแหล่งนำเข้าจากประเทศจีนรวมทั้งประเทศอื่นได้ เช่น ท่อเหล็ก ขยายตัวได้เกือบ 30% เหล็ก-เหล็กกล้า ขยายตัวถึง 500% ส่วนสินค้าเหล็กประเภทอื่นๆ ขยายตัวได้ 34% รวมทั้งสินค้าประเภทอุปกรณ์ด้านไอที ขยายตัวถึง 21%

      "ประเทศไทยสามารถพลิกวิกฤติคนอื่น มาเป็นโอกาสของเราได้ แต่ไทยคงต้องเร่งทำตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จะร่วมกับหน่วยงานอื่นในการเร่งติดตาม และดูและไม่ให้มีการสวมสิทธิ์ หรือผิดกฎระเบียบใดๆ จากการส่งออกไปสหรัฐ" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว

     อินโฟเควสท์

ก.พาณิชย์เผย มิ.ย.ส่งออกโต 8.19% นำเข้าโต 10.83% มั่นใจทั้งปีส่งออกโตเกินเป้า 8%

     ก.พาณิชย์เผยส่งออก มิ.ย.โต 8.19% ด้านทั้งปีเชื่อขยายตัวเกินเป้าหมายที่ 8% หวังสงครามการค้าสร้างโอกาสไทยส่งออกเพิ่ม

      นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนังานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีมูลค่า 21,780 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 8.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ขณะที่ครึ่งปีแรก (มกราคม-มิถุนายน) มีมูลค่า 125,812 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.95% ด้านนำเข้าในเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 20,201 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.83% ด้านครึ่งปีแรกมีมูลค่า 122,356 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 15.61% ส่งผลให้เดือนมิถุนายนเกินดุลการค้า 1,578 ล้านดอลลาร์ และครึ่งปีแรกเกินดุลการค้า 3,455.6 ล้านดอลลาร์

        สำหรับการส่งออกสินค้ารายตลาดยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดสำคัญ คือ สหรัฐ ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งการส่งออกไปญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีนที่ยังขยายตัวได้ดี สำหรับการส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัว 8.2% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 โดยสินค้าที่มีการขยายตัวในระดับสูง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่สินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวที่ 4.5%

      ส่วน แนวโน้มการส่งออกในปี 2561 ยังขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตัวเกือบทุกภูมิภาค และความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการส่งออก สะท้อนจากดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกที่ยังคงสูงกว่าระดับ 50 นอกจากนี้ส่งออกไทยมีการกระจายตัวในตลาดใหม่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากความไม่แน่นนอนทางการค้าของประเทศมหาอำนาจ และคาดว่าการส่งออกทั้งปี 2561 จะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ 8%

      “รมว.พาณิชย์ได้มอบหมายให้ไปหารือกับภาคเอกชนการส่งออกหลักๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ เพื่อทบทวนเป้าหมายการส่งออกที่ปัจจุบันคาดการณ์ที่ 8% โดยในเบื้องต้น ประเมินว่า หากจะให้การส่งออกปีนี้เติบโตได้ 9% ช่วงเดือนที่เหลือจะต้องมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยทุกเดือนที่ 22,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่หากเป็นตัวเลขการส่งออกที่ 10% จะต้องเฉลี่ยเดือนละ 22,414 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน”นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

       ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกที่มีการขยายตัวชัดเจนในเกือบทุกภูมิภาค จะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเศรษฐกิจสหรัฐ กลุ่มยูโรโซน ที่มีพื้นฐานการขยายตัวดีโดยเฉพาะด้านการจ้างงาน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจจีน และเศรษฐกิจญี่ปุ่น ที่มีแนวโน้มเติบโตและมองว่าไทยจะได้ประโชน์จากการเป็นห่วงโซ่อุปทานในสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์

       อย่างไรก็ตาม แม้ในระยะสั้น ไทยอาจจะต้องเผชิญความผันผวนจากมาตรการการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ แต่การส่งออกของไทยที่มีลักษณะกระจายตัวในตลาดใหม่มากขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการค้าของประเทศมหาอำนาจได้ นอกจากนี้ สถานการณ์ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นโอกาสดีต่อผู้ส่งออก ในการเร่งผลักดันส่งออกสินค้าและทำให้รายได้การส่งออกในรูปเงินบาทสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกจำเป็นต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ และทำประกันความเสี่ยง เพื่อรองรับความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนและสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

      “ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนด้านสงครามการค้า เป็นโอกาสดีที่ไทยจะเร่งส่งออก โดยเฉพาะทดแทนสินค้าของกลุ่มกีดกันทางการค้า เห็นได้จากช่วงที่ผ่านมานั้น ไทยสามารถส่งออกท่อเหล็กเข้าไปสหรัฐได้เพิ่มขื้นถึง 30% และกลุ่มสินค้าไอทีที่ส่งออกไปสหรัฐขยายตัว 21% เป็นต้น”นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 

ปลื้มส่งออกมิ.ย.โตทะลุ 8%

      ไทยโพสต์ : สนามบินน้ำ * พาณิชย์ปลื้มส่งออกเดือน มิ.ย.ทะลัก 21,779.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.19% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 มั่นใจทั้งปีโตตามเป้า 8%

       น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทย ในเดือน มิ.ย.2561 มีมูลค่า 21,779.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม ขึ้น 8.19% เป็นการขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,201.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.83% โดยเกินดุลการค้ามูลค่า 1,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

       สำหรับการส่งออกในช่วงครึ่งปี 2561 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 125,811.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.95% ซึ่งเป็นการขยาย ตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 122,356.1 ล้าน เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.61% โดยเกินดุลการค้ามูลค่า 3,455.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

       "ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเดือน มิ.ย.ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สหรัฐได้ใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับทั่วโลก โดยเฉพาะกับจีน ทำ ให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยเข้าไปทดแทน สะท้อนจากการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐเดือน มิ.ย.มีมูลค่า 2,488 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.9% ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์" น.ส.พิมพ์ชนกกล่าว

    อย่างไรก็ตาม การส่งออก สินค้าไทยในกลุ่มนี้ไปสหรัฐเดือน มิ.ย.ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าไอที, เครื่อง คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และเครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงของใช้ในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่ม.

ส่งออก'มิย.'พุ่ง 8.19%ไทยได้อานิสงส์ศึกการค้า'จีน-สหรัฐ'

         แนวหน้า : น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2561 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 8.19 ถือว่าขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 คิดเป็น มูลค่ากว่า 21,779 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเชื่อว่าการส่งออกเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกสินค้าไปสหรัฐสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อาจมาจากการนำเข้าสินค้าจากไทยไปทดแทนประเทศต่างๆ ที่กระทบจากมาตรการทางภาษี หรือสงครามการค้า ระหว่าง 2 ประเทศอย่างจีน และสหรัฐ

      ส่วนการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ขยายตัวร้อยละ 10.95 (สูงสุดในรอบ 7 ปี) คิดเป็นมูลค่ากว่า 125,811 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากตลาดหลักของไทยมีการขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐ รวมทั้งตลาดญี่ปุ่น, สหภาพยุโรป และจีน

       น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า สำหรับการส่งออก ในส่วนของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมพบว่า สินค้าเกษตรมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 4.5 (YoY) โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐ ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ และแองโกลา แต่หดตัวในตลาดเบนิน และมาเลเซีย)

       ขณะที่ ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 8.6 (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวัน หดตัวใน สหรัฐ และญี่ปุ่น) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.9 (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐ เนเธอร์แลนด์ ลาว และสิงคโปร์ หดตัวเล็กน้อยในเกาหลีใต้ และเยอรมนี) น้ำตาลทราย กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 (ขยายตัวสูง ในตลาดเมียนมา อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ หดตัว ในตลาดไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และกัมพูชา) สินค้าเกษตรสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัว ร้อยละ 10.6 โดยเป็นผลทางด้านราคา แต่ปริมาณการส่งออกยังขยายตัว

       น.ส.พิมพ์ชนกกล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ประเมินแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีหลังจะยังขยายตัวได้ดี แม้ปัญหาสงครามทางการค้าจะยังไม่สะท้อนจากตัวเลขการส่งออกเดือนมิถุนายนมากนัก แต่ ผู้ประกอบการส่งออกไทยควรมีการเตรียมความพร้อม และกระจายตลาดส่งออกใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะการหาโอกาสจากสงครามการค้า เข้าไปทำตลาดทั้งในสหรัฐ และจีนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง และผลกระทบจากความไม่แน่นอนได้ โดยคาดว่าปีนี้การ ส่งออกของไทยจะขยายตัวใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ ร้อยละ 8 แต่หากต้องการขยับเป้าหมายการ ส่งออกไปที่ร้อยละ 9 จะต้องมีมูลค่าการส่งออกต่อเดือนหลังจากนี้เฉลี่ย 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยวันที่ 7 สิงหาคมนี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเตรียมเรียกผู้ส่งออกทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมา ทบทวนและประเมินภาพรวมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังนี้อีกครั้ง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!