- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 16 June 2018 16:47
- Hits: 4365
พาณิชย์ เข้าร่วมวงถกเศรษฐกิจอาเซียน ติดตามผลคืบหน้า AEC-เตรียมความพร้อมรับมือเข้าสู่ยุค 4IR
น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration: HLTF-EI) ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
โดยการประชุมครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินมาตรการสำคัญที่อาเซียนจะต้องดำเนินการให้สำเร็จในปีนี้เท่านั้น แต่ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่จะช่วยเสริมความเข้มแข็งภายในอาเซียน เช่น หลักการสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบของอาเซียน (ASEAN Good Regulatory Practice Core Principles) ซึ่งจะช่วยให้การออกกฎหมาย/กฎระเบียบของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทต่างๆ เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน โดยที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนรับรองและคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรอง
ส่วนการจัดทำแนวทางการดำเนินการกับมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) จะช่วยเพิ่มความโปร่งใส และทำให้ผู้ประกอบการในอาเซียนมีความเชื่อมั่นว่า การออกมาตรการที่มิใช่ภาษีดังกล่าวจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสินค้าระหว่างกันในภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ การประชุม HLTF-EI ของประเทศสมาชิกอาเซียนจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการหารือในระดับนโยบายและให้แนวทางการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับประเด็นใหม่ๆ หรือประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในการรับมือกับการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution: 4IR) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องร่วมมือกันดำเนินการทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมทุกภาคส่วน ซึ่งสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือการเข้าสู่ยุค 4IR โดยมีคะแนนขีดความสามารถทางการแข่งขันของ World Economic Forum (WEF) ปี 2017-2018 อยู่ในลำดับที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ
น.ส.บรรจงจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาว่า อาเซียนได้รับข้อเสนอประเด็นใหม่ๆ จากประเทศที่แสดงความสนใจจัดทำความตกลงทางการค้า (FTA) กับอาเซียนในอนาคต เช่น สหภาพยุโรป และแคนาดา รวมทั้งข้อเสนอในการยกระดับความร่วมมือทางการค้าจากประเทศคู่เจรจาในปัจจุบัน เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อาทิ ประเด็นด้านพลังงานและวัตถุดิบ ทรัพย์สินทางปัญญา การค้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นแรงงานและสิ่งแวดล้อม การค้าดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดจุดยืนของอาเซียนในการเจรจาร่วมกัน เพื่อประกอบการจัดทำกลยุทธ์การเจรจาของอาเซียนกับประเทศต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิกโดยรวม และคงไว้ซึ่งบทบาทความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของอาเซียน
อินโฟเควสท์
คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนติดตามผลคืบหน้า AEC
นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEANE conomic Integration: HLTF-EI) ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 4-5 มิถุนายน 2561 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยการประชุมครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินมาตรการสำคัญที่อาเซียนจะต้องดำเนินการให้สำเร็จในปีนี้เท่านั้น แต่ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่จะช่วยเสริมความเข้มแข็งภายในอาเซียน เช่น หลักการสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบของอาเซียน (ASEAN Good Regulatory PracticeCorePrinciples) ซึ่งจะช่วยให้การออกกฎหมาย/กฎระเบียบ ของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทต่างๆ เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน โดยที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนรับรองและคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรอง ส่วนการจัดทำแนวทางการดำเนินการกับมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) จะช่วยเพิ่มความโปร่งใส และทำให้ผู้ประกอบการในอาเซียนมีความเชื่อมั่นว่า การออกมาตรการที่มิใช่ภาษีดังกล่าวจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสินค้าระหว่างกันในภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน และประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การประชุม HLTF-EI ของประเทศสมาชิกอาเซียนจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการหารือในระดับนโยบายและให้แนวทางการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับประเด็นใหม่ๆ หรือประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
ที่ประชุมยังได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในการรับมือกับการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution: 4IR) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องร่วมมือกันดำเนินการทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมทุกภาคส่วน ซึ่งสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือการเข้าสู่ยุค 4IRโดยมีคะแนนขีดความสามารถทางการแข่งขันของ World Economic Forum(WEF) ปี 2017-2018 อยู่ในลำดับที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ
นางสาวบรรจงจิตต์ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาว่า อาเซียนได้รับข้อเสนอประเด็นใหม่ๆ จากประเทศที่แสดงความสนใจจัดทำความตกลงทางการค้า (FTA) กับอาเซียนในอนาคต เช่น สหภาพยุโรป และแคนาดา รวมทั้งข้อเสนอในการยกระดับความร่วมมือทางการค้าจากประเทศคู่เจรจาในปัจจุบัน เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ อาทิ ประเด็นด้านพลังงานและวัตถุดิบ ทรัพย์สินทางปัญญา การค้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นแรงงานและสิ่งแวดล้อม การค้าดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดจุดยืนของอาเซียนในการเจรจาร่วมกัน เพื่อประกอบการจัดทำกลยุทธ์การเจรจาของอาเซียนกับประเทศต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิกโดยรวม และคงไว้ซึ่งบทบาทความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของอาเซียน
พาณิชย์ ร่วมประชุมความมั่นคงทางอาหารอาเซียน มุ่งสร้างความร่วมมือลด NTMs จากประเทศคู่ค้า
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้แทนกรมการค้าต่างประเทศได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียนครั้งที่ 38 (The 38th ASEAN Food Security Reserve Board: AFSRB) ในฐานะผู้แทนไทยและฝ่ายเลขานุการถาวร AFRSB ร่วมกับผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 8 ประเทศ คือ กัมพูชา, สปป.ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจาก ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) และ ASEAN Food Security Information System (AFSIS) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญสถานการณ์และแนวโน้มการผลิต การบริโภค การค้า และปริมาณสต็อกสินค้าอาหารหลักของอาเซียน 4 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด น้ำตาลและถั่วเหลือง
รวมทั้งได้หารือแนวทางความร่วมมือในการลดมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศคู่ค้า ซึ่งขณะนี้สหภาพยุโรป ( EU) ได้ปรับกฎระเบียบใหม่ในการกำหนดค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRL) ของสารเคมีตกค้างในสินค้าข้าวที่เข้มงวดกว่ามาตรฐาน CODEX ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวจากประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญในอาเซียน อาทิ กัมพูชา เวียดนาม และไทย โดยที่ประชุมจะนำประเด็นข้อกังวลดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (SOM AMAF) เพื่อพิจารณาหารือในระดับสูงต่อไป
นายอดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2562 ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุม AFSRB ครั้งที่ 39 ทั้งนี้ การประชุม AFSRB เป็นเวทีสำคัญของอาเซียน เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายด้านการตลาดสินค้าสินค้าเกษตรของไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เวทีดังกล่าวยังเป็นใช้เป็นกลไกสำคัญของประเทศอาเซียนในการรับมือและติดตามสถานการณ์การผลิตและความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรของประเทศอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าข้าว ซึ่งเป็นสินค้าพื้นฐานสำคัญในด้านความมั่นคงทางอาหารภายในภูมิภาคอาเซียน ที่ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ไทย และเวียดนาม ขณะเดียวกันก็มีประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของโลก อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
"สิ่งเหล่านี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายของประเทศอาเซียน ที่ต้องสร้างความมั่นคงทางอาหารในทุกมิติ และเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืนตลอดต่อไป" อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศระบุ
อินโฟเควสท์