- Details
- Category: พาณิชย์
- Published: Saturday, 16 June 2018 16:36
- Hits: 4391
พาณิชย์ แจงผลงานรอบ 6 เดือนแรก พร้อมแนวทางขับเคลื่อนในระยะต่อไปตามนโยบายเชิงยุทธศาสตร์
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ พร้อมน.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ และนางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันแถลงข่าวผลการทำงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการ เกษตรกร และผู้บริโภค ‘กินดี อยู่ดี’ รวมทั้ง ‘เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณภาพชีวิต’ผ่านการดำเนินนโยบายที่สำคัญ 3 ประการ คือ
แนวทางที่ 1. Local Economy หรือการพัฒนา "เศรษฐกิจท้องถิ่น/ในประเทศ" เพื่อให้เข้มแข็งจากภายใน (Strength from Within) ที่มีการเติบโตอย่างทั่วถึงและสมดุล (Inclusiveness & Balanced Growth) ด้วย โดยเฉพาะการเสาะหาและบ่มเพาะคนตัวเล็ก และคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงการทำธุรกิจหรือการทำมาค้าขาย
ผลงานสำคัญ ได้แก่ ดำเนินมาตรการทางการตลาด ภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น อาทิ ราคาข้าวเปลือกทุกชนิด (ยกเว้นข้าวเหนียว) หอมมะลิ 18,700 บาท/ตัน ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการระบายสต็อกข้าวรัฐบาลจนเกือบหมด การหาตลาดต่างประเทศรองรับผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย, ด้านการดูแลค่าครองชีพและปากท้องของพี่น้องประชาชน กระทรวงพาณิชย์มีผลงานที่สำคัญ อาทิ โครงการร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชารัฐสวัสดิการที่รัฐบาลมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 11.4 ล้านคน จนถึงขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้จัดหาร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ จำนวน 28,705 ร้านค้าทั่วประเทศ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยอดขายกว่า 30,000 ล้านบาท เป็นต้น
แนวทางที่ 2. New Economy หรือการพัฒนา "เศรษฐกิจยุคใหม่" เพื่อยกระดับและเชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่น/ในประเทศ ให้เท่าทันและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก (Upgrade Connect Local to Global) เศรษฐกิจยุคใหม่ที่สำคัญ อาทิ ธุรกิจดิจิทัลและการค้าออนไลน์ ธุรกิจนวัตกรรม ธุรกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจบริการยุคใหม่ ธุรกิจสีเขียว และธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีผลงานสำคัญ ดังนี้ เรื่อง e-Commerce โดยการสร้างแพลตฟอร์ม National e-Marketplace ที่เป็นศูนย์กลางการค้าออนไลน์ของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการไทยผ่าน "ไทยเทรดดอทคอม" (Thaitrade.com)
การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรและอื่นๆ เข้าไปจำหน่ายยังเว็บไซต์ Tmall.com และ Platform อื่นๆ เช่น
1) ส่งเสริมการจำหน่ายผลไม้และอาหารไทยใน Tmall.com (เครือ Alibaba ลูกค้ากว่า 650 ล้านคน) โดยสามารถจำหน่ายทุเรียนได้ 80,000 ลูก ภายใน 1 นาที และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้า 130,000 ลูก รวมมูลค่า 70 ล้านบาท โดยมีมูลค่าจำหน่ายสินค้าเกษตรและอื่น ๆ 200 ล้านบาท (สินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว ทุเรียน ที่จำหน่ายไปแล้ว ประมาณ 80 ล้านบาท สินค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร สค. ช่วย business matching ประมาณ 100 ล้านบาท) ส่วนลำไยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าคำสั่งซื้อประมาณ 200 ล้านบาท (ประมาณ 8,000-10,000 ตัน) ซึ่งการเชื่อมโยงกับ Platform ระดับโลกนี้ จะช่วยเปิดตลาดให้กับสินค้าไทย เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ขยาย Demand ส่งผลดีต่อการยกระดับราคาสินค้าไทย เป็นต้น
แนวทางที่ 3. Global Economy หรือการพัฒนา "เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนไปต่างประเทศ" เพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก (Connect to the World) โดยเฉพาะตลาดที่มีความสำคัญ อาทิ อาเซียน CLMV จีน อเมริกา ยุโรป และตลาดใหม่ ขณะนี้ได้พัฒนาผู้ประกอบการแล้วกว่า 77,000 ราย ผ่านการจัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ และหลักสูตรออนไลน์ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงจัดกิจกรรมจับคู่ผู้ประกอบธุรกิจ Start up เพื่อยกระดับและต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และหาตลาดให้ Start up ไปพร้อมกัน
สำหรับ ทิศทางการทำงานในช่วงต่อไปของกระทรวงฯ จะเป็นการขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ด้วยแนวคิด'ตลาดนำผลิต' (Demand Driven) และ "เน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ" (Value Creation) โดยปรับบทบาทให้ "คล่องตัว ทันสมัย ปราดเปรียว รองรับการเปลี่ยนแปลง" สอดรับการเศรษฐกิจยุคใหม่มากขึ้น ขณะที่กระทรวงฯ ยังคงดูแลเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม (Traditional Business) ให้มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง โดยเน้นการเป็น "ผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวก" (Facilitator & Promoter) ใน "เชิงรุก" มากยิ่งขึ้น
รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า แผนงานสำคัญในอนาคต แบ่งตามนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. Local Economy หรือการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการเติบโตอย่างสมดุล (Balanced Growth) อาทิ ตลาดชุมชน ร้านธงฟ้าประชารัฐ (ปัจจุบัน 28,705 ร้านค้า จะ "ขยายเป็น 100,000 ร้านค้า" ภายใน 3 ปี) รวมทั้งดูแลค่าครองชีพและยกระดับราคาสินค้าเกษตรด้วยแนวคิด "ตลาดนำผลิตและสร้างสรรค์คุณค่า"รวมทั้งส่งเสริม "บ่มเพาะคนตัวเล็กคนตัวเล็กและคนด้อยโอกาส" ให้เข้าถึงการทำธุรกิจหรือการทำมาค้าขายให้มากขึ้น เช่น การสนับสนุนให้สามารถใช้ QR Code ในร้านค้าที่หลากหลาย และภายในปี 2562 ตั้งเป้าให้ "MOC Biz Club ช่วยยกระดับ Micro SMEs จังหวัดละ 100 ราย" ซึ่งจะส่งผลให้มี Micro SMEs ที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น 7,700 ราย ทั่วประเทศ สำหรับ Franchise สร้างอาชีพ ด้วยการจับคู่ Franchise กับผู้มีรายได้น้อย ตั้งเป้าสร้างอาชีพได้ 20,000 รายภายในปีนี้
2. New Economy หรือการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ อาทิ การค้าออนไลน์ ด้วยการยกระดับ Thaitrade.com ซึ่งเป็น National E-Marketplace Platform ของไทยให้ก้าวสู่การเป็น Platform ชั้นนำระดับสากล โดยมี "เป้าหมายการค้าออนไลน์ผ่าน Thaitrade.com ขยายตัวเป็น 1 หมื่นล้านบาท" ภายใน 3 ปี จากปัจจุบัน 5 พันล้านบาท รวมทั้ง การผลักดัน Logistic Hub ใน EEC การพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่หรือนักรบเศรษฐกิจใหม่ การพัฒนาสินค้าและบริการยุคใหม่ เช่น สินค้าเกษตรนวัตกรรม ธุรกิจบริการนวัตกรรม เป็นต้น การพัฒนา Big Data & Big Data Analysis เศรษฐกิจการค้า และการเชื่อมโยง Local to Global ผ่าน E-Commerce
3.Global Economy หรือการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ การเปิดตลาดใหม่ๆ ทั้งการเจรจาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยเน้น Strategic Partnership และ City Focus มากขึ้น รวมทั้ง ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ และ ส่งเสริม Local to Global, Connect to the Worldโดยมี "เป้าส่งออกปี 61 เติบโต 8% เป็นอย่างน้อย" สำหรับครัวไทยสู่ครัวโลก อาทิ ร้านอาหาร Thai Select จะทบทวนคุณภาพร้าน Thai Select ในต่างประเทศ ขยายร้าน Thai Select ในประเทศไทยต่อยอดสู่ต่างประเทศ รวมทั้งขยายสินค้าที่ได้ตรา Thai Select Product ให้เพิ่มขึ้น
4. การปฏิรูปกระทรวงฯ เพื่อรองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ ส่งเสริมอำนวยความสะดวกทางการค้า (EoDB) และ Smart MOC ให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายอนาคตให้เป็น "E-Service ทั้งระบบ" ภายในปี 62 และสนับสนุนให้ "EoDB ติด TOP 20" ภายใน 3 ปี (จากอันดับที่ 26 ในปัจจุบัน) รวมทั้ง ยกระดับและปรับภารกิจกรม โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่าง เน้น e-Commerce กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เน้น Service (ธุรกิจบริการ)
ประการสุดท้าย กระทรวงฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนา Big Data เพื่อใช้พลังข้อมูลในการบริหารนโยบายและขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้าน Big data ในการนำเทคโนโลยี Big Data มาขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ นั้น เริ่มตั้งแต่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทำธุรกิจ ขยายโอกาสการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนการค้าให้แก่ผู้ประกอบการทุกระดับและประชาชนทั่วไป
ด้าน น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ ได้กล่าวเสริมในส่วนของผลงานด้านการค้าระหว่างประเทศว่า การส่งออกเริ่มฟื้นตัว โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2561 ขยายตัว 11.5% (มูลค่ารวม 81,780 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยได้เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก ทั้งในรูปแบบตลาด Physical และ Digital (thaitrade.com) ทั้งตลาดเฉพาะกลุ่ม และตลาดเมืองรอง เน้นการส่งเสริมสินค้ารายคลัสเตอร์ มีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมไปขยายตลาด 2,850 ราย เกิดมูลค่าการสั่งซื้อประมาณ 47,000 ล้านบาท ได้แก่ กลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ และกลุ่มเกษตรและอาหาร และในธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ สิ่งพิมพ์/บรรจุภัณฑ์ สุขภาพ การบริหารการจัดงาน โลจิสติกส์การค้า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ดิจิทัล และครีเอทีฟ ฯลฯ ทั้งนี้ มูลค่าการเจรจาซื้อขายในงาน THAIFEX – World of Food ASIA 2018 รวม 11,000 ล้านบาท
อีกทั้ง ผลักดันให้สหรัฐฯ ปรับสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) ให้ดีขึ้นจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) หลังจากที่ไทยอยู่ในบัญชี PWL มาเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 ส่งผลดีต่อไทยในด้านภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี นอกจากนี้ ผลการจัดอันดับด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยดีขึ้นมาก ในด้านจำนวนสิทธิบัตรที่ถูกยื่นคำขอ และจำนวนสิทธิบัตรที่มีผลบังคับใช้
รวมทั้งเจรจาและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ (Strategic partnership) เพื่อขยายความร่วมมือ และแก้ไขหรือลดอุปสรรคทางการค้าผ่านการเจรจาทั้งระดับทวิภาคีและภูมิภาค ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) จำนวน 12 ฉบับ กับ 17 ประเทศคู่ค้า ครอบคลุมมูลค่าการค้า 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นสัดส่วน 59% ของมูลค่าการค้ารวมของประเทศ ทั้งนี้ FTA ที่มีมูลค่าการค้าและส่งออกปี 2560 สูงสุด 5 อันดับ นับตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ มีผลบังคับใช้ ได้แก่ 1) AFTA ขยายตัว 707 % (59.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) 2) FTA ไทย-อินเดีย ขยายตัว 406% (6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) 3) FTA อาเซียน-จีน ขยายตัว 262% (29.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) 4) FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ขยายตัว 194% (1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) 5) FTA ไทย-ออสเตรเลีย ขยายตัว 132% (10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงไทยกับภูมิภาค CLMV โดยสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (YEN-D Program) ได้ดำเนินโครงการแล้ว 4 รุ่น สามารถสร้างสมาชิกเครือข่ายได้แล้ว 1,100 คน เกิดมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกันแล้วกว่า 2,800 ล้านบาท นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์จะเป็นเจ้าภาพการจัดงาน CLMVT Forum 2018 : Taking-Off Through Technology ในเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งเป็นงานประชุมสำหรับผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ ผู้นำทางธุรกิจ นักวิชาการ แห่งเดียวในภูมิภาค CLMVT เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนร่วมกันในภูมิภาค CLMVT
การเตรียมการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปี 2562 โดยจะมุ่งผลักดันประเด็นการค้าต่างๆ อาทิ การพัฒนาตลาดออนไลน์ (e-Commerce) การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งขยายความร่วมมือกับ HK จะจัดตั้ง Headquarter (HKETO) ในไทยในต้นปีหน้า เป็น Gateway สู่ ASEAN และจีน
อินโฟเควสท์